f/11: ค่ารูรับแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติให้ดูคมชัดและมีระยะชัดลึก
เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ตระการตา คุณมักจะต้องการความมั่นใจว่าอย่างน้อยที่สุดคุณจะสามารถถ่ายทอดภาพได้อย่างละเอียดประณีตและสามารถสื่อถึงความเปรียบต่างของแสง/เงาได้อย่างเพียงพอ ช่างภาพมืออาชีพมักจะแนะนำให้ใช้การตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 สำหรับฉากดังกล่าว เนื่องจากจะช่วยขับเน้นให้ตัวแบบดูคมชัดและมีพลังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่านี้ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติที่ทอดตัวออกไปไกลสุดสายตา (เรื่องโดย: Teppei Kohno)
f/11/ 1/160 วินาที/ ISO 400
ฉากที่ทอดตัวไกลออกไปในแบ็คกราวด์จำเป็นต้องมีระยะชัดที่กว้างขึ้น
ถ้าฉากดูค่อนข้างแบน แม้ว่าฉากจะอยู่ห่างออกไป คุณก็สามารถถ่ายภาพที่คมชัดได้แม้ว่าจะใช้รูรับแสงกว้าง
อย่างไรก็ตาม ถ้าฉากซ้อนกันมากและแบ็คกราวด์อยู่ห่างออกไป เช่น ทิวทัศน์ที่ตีนเขา หรือลำธารที่กำลังไหลที่มีภูเขาในแบ็คกราวด์ รูรับแสงกว้างจะทำให้ได้ระยะชัดที่ตื้นเกินไป ด้วยเหตุนี้ บางส่วนของฉากจะอยู่นอกโฟกัส ซึ่งจะทำให้ภาพถ่ายของคุณดูคมชัดน้อยลง
หากต้องการให้ทุกอย่างอยู่ในโฟกัส คุณจำเป็นจะต้องปรับรูรับแสงให้แคบลงและใช้เทคนิคที่เรียกว่า “โฟกัสชัดลึก” ช่างภาพมืออาชีพส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้ค่า f/11 เป็นหลักการง่ายๆ เพราะนั่นจะช่วยสร้างความมั่นใจได้อย่างดีว่าองค์ประกอบภาพต่างๆ ตั้งแต่กึ่งกลางภาพจนถึงส่วนที่เป็นแบ็คกราวด์จะยังคงอยู่ในโฟกัส
f/11
f/11/ 1/400 วินาที/ ISO 400
ภาพถ่ายคมชัดและอยู่ในโฟกัสตั้งแต่ก้อนหินในส่วนโฟร์กราวด์ไปจนถึงยอดเขาในส่วนแบ็คกราวด์
f/4
f/4/ 1/4000 วินาที/ ISO 400
ก้อนหินดูเบลอ เมื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น (ดูภาพด้านล่าง) ภาพถ่ายดูเหมือนขาดอะไรบางอย่าง
ภาพโคลสอัพของก้อนหิน
f/4
f/11
เคล็ดลับ
- ในโหมด Aperture-priority AE นั้น การใช้การตั้งค่ารูรับแสงที่แคบเช่นนั้นในสภาวะแสงน้อยอาจทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง
เพื่อป้องกันไม่ให้กล้องสั่นไหว ให้เพิ่มความไวแสง ISO เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ช้าลง ใช้ขาตั้งกล้องถ้าทำได้
- ใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่ช่วยดึงเอามิติความลึกออกมา
หากต้องการไอเดียเพิ่มเติม โปรดอ่าน องค์ประกอบภาพที่ถ่ายทอดมิติและความลึกลงในภาพถ่ายและเคล็ดลับในการจับภาพภูมิทัศน์ที่น่าประทับใจ
เทคนิคพิเศษ: ใช้ WB “แสงแดด” สำหรับฉากยามเย็น
ถ่ายภาพท้องฟ้ายามเย็นให้มีสีสันสวยงามด้วยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น “แสงแดด” ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำโทนสีเหลืองของดวงอาทิตย์พร้อมกับสร้างอารมณ์ภาพที่โดดเด่นยิ่งขึ้น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สมดุลแสงขาว โปรดดูที่บทความนี้
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก
WB “อัตโนมัติ”
ปรับแต่งภาพถ่ายด้วยการลดโทนสีเหลือง จึงทำให้โทนสีฟ้าเข้มขึ้นเล็กน้อย
WB “แสงแดด”
ท้องฟ้าสีแดงดูอบอุ่นขึ้น
คุณยังสามารถปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์รูปแบบภาพเพื่อดึงรายละเอียดออกมามากขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์
หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน
หากต้องการโฟกัสชัดลึกในฉากที่มีแบ็คกราวด์ในระยะไกลและมีตัวแบบใกล้คุณในส่วนโฟร์กราวด์ด้วย ลองอ่านบทความ:
f/16: ถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย