ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS M5: ภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ

2017-03-16
3
3.6 k
ในบทความนี้:

EOS M5 ซึ่งมาพร้อมกับคุณสมบัติต่างๆ ที่ทัดเทียมกับกล้อง EOS DSLR เป็นตัวช่วยที่ดีเมื่อใช้ถ่ายภาพทิวทัศน์ ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีใช้คุณสมบัติที่มีประโยชน์ เช่น ระดับอิเล็กทรอนิกส์ การแสดงตาราง และรูปแบบภาพ รวมถึงเทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติให้ดูสวยสดงดงาม (เรื่องโดย Yoshiki Fujiwara)

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/11, 1/4 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องและใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ 1/4 วินาที เพื่อถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของเกลียวคลื่น

 

ฉาก 1: ถ่ายภาพทะเลหมอกที่งดงามกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา

แสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อถ่ายภาพทะเลหมอกดังเช่นในภาพด้านล่าง หรือวางเส้นขอบฟ้าของแผ่นดินและทะเลในเฟรมภาพเพื่อถ่ายภาพ สิ่งสำคัญคือวิธีถ่ายทอดความงดงามตระการตา หากคุณถ่ายภาพเส้นขอบฟ้าของแผ่นดินและทะเลในแนวเอียง ความรู้สึกถึงความหนักแน่นจะหายไปและภาพจะดูไม่งดงามเท่าที่ควร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้แสดงและใช้ระดับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้แน่ใจว่ากล้องอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นขอบฟ้าขณะถ่ายภาพ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณถ่ายทอดขอบฟ้าได้อย่างชัดเจน

เราสามารถแก้ไขขอบฟ้าหลังจากถ่ายภาพเสร็จแล้วได้ แต่อาจต้องใช้วิธีครอปบริเวณขอบภาพออกไป ซึ่งอาจทำลายภาพที่คุณบรรจงจัดองค์ประกอบไว้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้ตรวจสอบบริเวณเส้นขอบฟ้าให้ดีก่อนที่จะถ่ายภาพ หากแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์แล้วทำให้คุณมองเห็นตัวแบบได้ไม่ถนัดนัก คุณสามารถใช้ปุ่ม INFO เพื่อเปิดและปิดการแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์ได้

EOS M5/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 45 มม. (เทียบเท่า 72 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมคาดไว้ว่าวันที่ถ่ายภาพนั้นเป็นวันที่มีเมฆครึ้ม สองชั่วโมงหลังพระอาทิตย์ขึ้น ตีนเขาปกคลุมด้วยหมอกหนาและการปีนขึ้นเขาเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่เมื่อผมขึ้นไปถึงยอดเขา ภาพของทะเลหมอกที่กระจายตัวอยู่เบื้องหน้าเป็นไปตามที่ผมคาดการณ์ไว้

 

เคล็ดลับ: หากขอบฟ้าดูเอียงจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าภาพขาดการจัดองค์ประกอบที่ดีไป

EOS M5/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 45 มม. (เทียบเท่า 72 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ในตัวอย่างนี้ ผมไม่สามารถถ่ายภาพให้อยู่ในระนาบเดียวกับขอบฟ้าได้ เพราะเนินเขาจะค่อยๆ ลดระดับลงไปทางด้านขวาของภาพจนทำให้แนวสันเขาลวงตา ดังนั้น อย่าลืมแสดงระดับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถกำหนดองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมได้

 

ขั้นตอนการถ่ายภาพ

1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง
2. กดปุ่ม [INFO.] หนึ่งครั้ง

 

3. ระดับอิเล็กทรอนิกส์จะแสดงขึ้นบนหน้าจอ
4. หากกล้องเอียง แนวเส้นบนระดับอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นสีแดง ปรับแต่งกล้องจนกว่าเส้นสีแดงจะกลายเป็นสีเขียว

 

ฉาก 2: ถ่ายภาพน้ำตกให้มีความสมดุล

แสดงตาราง

กฎสามส่วนเป็นหนึ่งในเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับการถ่ายภาพที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เมื่อเราพบฉากที่ยากจะกะเกณฑ์ด้วยตาเปล่า การใช้ฟังก์ชั่นการแสดงตารางในกล้อง EOS M5 ช่วยให้การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนเป็นเรื่องง่าย แม้ว่าภาพด้านล่างนี้คือฉากที่อาจทำให้คนสงสัยว่าควรวางพื้นดิน น้ำตก และเพดานถ้ำไว้ตรงจุดใดในเฟรมภาพ ผมใช้กฏสามส่วน และวางพื้นดินและองค์ประกอบส่วนที่เหลือโดยใช้อัตราส่วน 1:2 เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสมดุล

นอกจากนี้ เส้นยังแบ่งเฟรมภาพออกเป็นสามส่วนทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งหากเรากำหนดตัวแบบหลัก เช่น บุคคล ไว้อย่างชัดเจนแล้ว การวางตัวแบบไว้บนจุดตัดของเส้นแนวตั้งและแนวนอนจะทำให้เราจัดวางองค์ประกอบภาพให้มีความสมดุลได้ง่าย

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 6 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

 

เมื่อเราถ่ายภาพโดยให้ขอบเขตที่แยกระหว่างพื้นดินและน้ำตกที่อยู่ในแนวเดียวกับเส้นล่างของตาราง นั่นก็คือการใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามกฏสามส่วน ในภาพนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าน้ำตกคือตัวแบบหลัก ดังนั้น การสื่อถึงความมุ่งหมายของช่างภาพจึงเป็นเรื่องง่าย

 

เคล็ดลับ: หากใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบใช้คู่สีตรงข้ามจะเห็นไม่ชัดว่าตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมายคืออะไร

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 6 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

เพียงแค่แยกพื้นดินและองค์ประกอบภาพส่วนที่เหลือออกจากกันโดยใช้อัตราส่วน 1:1 จะเห็นไม่ชัดว่าตัวแบบหลักคือน้ำตก

 

ขั้นตอนการถ่ายภาพ

1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง
2. กด [MENU]
3. ในเมนู Shooting 1 เลือก “หน้าจอข้อมูลของการภ่าย” → “แสดงตาราง” → “3x3”

 

4. กดปุ่ม [INFO.] หนึ่งครั้งเพื่อแสดงตาราง

 

ฉาก 3: ถ่ายทอดรายละเอียดของผืนป่าให้มีสีสันสดใส

ใช้รูปแบบภาพ - ภาพวิว

หากคุณไม่สามารถสร้างสีสันของทิวทัศน์ในแบบที่คุณรู้สึกว่ามีความสมจริงตามต้องการ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้การตั้งค่ารูปแบบภาพ รูปแบบภาพคือคุณสมบัติหนึ่งของ Canon ที่ช่วยกำหนดการถ่ายทอดสีสันของกล้องอย่างละเอียด สำหรับรูปแบบภาพแบบตั้งค่าล่วงหน้าแต่ละแบบนั้น กล้องจะกำหนดพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความคมชัด ความเปรียบต่าง ความอิ่มตัวของสี และโทนสีให้อัตโนมัติ โดยตั้งค่าเริ่มต้นไว้ที่ "มาตรฐาน" อย่างไรก็ดี หากคุณต้องการถ่ายทอดความเขียวขจีของผืนป่าหรือสีฟ้าของท้องฟ้าให้ดูสดใส ควรใช้การตั้งค่ารูปแบบภาพ - ภาพวิว เพราะสีสันโดยรวมในภาพจะมีความอิ่มตัวและสมบูรณ์แบบมากขึ้น แม้แต่ในฉากที่ไม่ใช่ภาพทิวทัศน์ คุณยังสามารถลองใช้การตั้งค่านี้เมื่อคุณต้องการได้ภาพที่มีสีสันสวยสดใส

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 10 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

แม่น้ำที่ล้อมรอบด้วยผืนป่าเขียวขจี แม้ว่าฉากนี้จะดูสวยงาม แต่ค่อนข้างมืดเนื่องจากมีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น และเนื่องจากผมต้องการถ่ายภาพสายน้ำไหล ผมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 10 วินาที และตั้งรูปแบบภาพเป็น "ภาพวิว" เพื่อเพิ่มสีสัน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้รูปแบบภาพ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ

 

เคล็ดลับ: สีสันจะดูสดใสน้อยลง หากคุณใช้รูปแบบภาพ - มาตรฐาน

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 10 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อใช้รูปแบบภาพ - มาตรฐาน ฉากจะถูกถ่ายทอดอย่างเหมาะสมก็จริง แต่สีสันจะดูทึมๆ เล็กน้อย ทำให้ภาพดูธรรมดาและไม่มีชีวิตชีวา

 

ขั้นตอนการถ่ายภาพ

1. กดปุ่ม [Quick Set]

 

2. ในเมนูรูปแบบภาพ ให้เลือก "ภาพวิว"

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshiki Fujiwara

แต่เดิม Fujiwara เคยเป็นนักสโนว์บอร์ดมืออาชีพ ต่อมาได้ผันตัวเข้าสู่อาชีพที่สองในฐานะช่างภาพหลังจากเลิกเล่นสโนว์บอร์ดเพราะอาการบาดเจ็บ เขามุ่งหาวิธีใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติเพื่อสร้างความรู้สึกโปร่งแสง และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองทำให้ภาพถ่ายของเขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน “10 ภาพที่แชร์กันอย่างแพร่หลายของ Tokyo Camera Club”

http://www.yoshiki-fujiwara.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา