f/5.6: ค่ารูรับแสงที่มีประโยชน์ในการถ่ายภาพแนวสตรีท
ในการถ่ายภาพแนวสตรีท ค่ารูรับแสงที่เหมาะสมคือค่าที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบที่หลากหลายได้อย่างสวยงาม เนื่องจากให้ระยะชัดปานกลาง เราจึงสามารถใช้ค่า f/5.6 ถ่ายภาพได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่ภาพระยะใกล้ไปจนถึงระยะเทเลโฟโต้ เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของค่า f นี้ในบทความนี้กัน (เรื่องโดย Teppei Kohno)
f/5.6, 1/640 วินาที, ISO 200
ค่ารูรับแสงเริ่มต้นแบบใดดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีท
ในการถ่ายภาพแนวสตรีท คุณมักจะไม่มีเวลาเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่พบโดยบังเอิญตามท้องถนนไปจนถึงช่วงเวลาที่สามารถถ่ายภาพได้สวยงามซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน โอกาสในการถ่ายภาพของคุณมักเป็นชั่วขณะสั้นๆ ที่รอไม่ได้ เพียงเสี้ยววินาทีที่คุณใช้ไปกับการปรับการตั้งค่าของกล้องอาจหมายถึงโอกาสในการถ่ายภาพที่หลุดลอยไป
ดังนั้น ค่ารูรับแสงที่สมบูรณ์แบบ (ในโหมด Aperture-priority AE) คือค่าที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ดีที่สุดของตัวแบบและฉากต่างๆ ได้หลากหลายประเภทมากที่สุด
หากไม่ใช้เอฟเฟ็กต์สร้างสรรค์ “ภาพที่ดีที่สุด” โดยทั่วไปหมายถึงภาพที่มีความคมชัด และมีตัวแบบที่อยู่ในโฟกัสอย่างชัดเจน ผมพบว่า f/5.6 เป็นค่ารูรับแสงเริ่มต้นที่ช่วยให้ถ่ายภาพเช่นนี้ได้เพราะ
- ให้ระยะชัดลึกปานกลาง
ตัวแบบที่อยู่ด้านหน้าห่างจากคุณปานกลางมีความคมชัดและเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน แต่ยังมีเอฟเฟ็กต์โบเก้จางๆ ซึ่งช่วยในการดึงความสนใจของผู้ชมไปยังตัวแบบ ซึ่งเป็นเช่นนี้กับทุกทางยาวโฟกัส ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพในระยะใกล้หรือระยะเทเลโฟโต้
- มีความกว้างพอที่จะถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงในระดับหนึ่ง
ซึ่งจะช่วยป้องกันการสั่นไหวของกล้อง ตัวอย่างเช่น ภาพที่ด้านบนสุดของหน้า ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/640 วินาที ซึ่งเพียงพอสำหรับการหยุดการเคลื่อนไหวของยานพาหนะต่างๆ
f/5.6
f/5.6, 1/1600 วินาที, ISO 200
ถ่ายที่ค่า f/5.6 ภาพแนวสตรีทดูเป็นธรรมชาติเนื่องจากในภาพมีเอฟเฟ็กต์โบเก้เพียงเล็กน้อยมากเท่านั้น
f/2.2
f/2.2, 1/8000 วินาที, ISO 200
ถ่ายที่ค่า f/2.2 มีส่วนที่อยู่นอกโฟกัสมากกว่า ซึ่งอาจทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติ
เทคนิคพิเศษ: ใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมเพื่อให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
การรักษาระดับแนวนอนและระดับแนวตั้งเป็นหลักการที่สำคัญของการจัดองค์ประกอบภาพ ภาพแรกที่คุณเห็นด้านล่างใช้หลักการดังกล่าว จะเห็นว่าเส้นในแนวนอนของถนนและเส้นในแนวตั้งที่เกิดจากตัวอาคารอยู่ในแนวตรงสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ภาพดูมั่นคง
อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงเช่นนี้อาจทำให้ภาพดูนิ่งเฉยและน่าเบื่อเกินไป วิธีหนึ่งที่ช่วยได้แม้จะใช้ค่ารูรับแสงเท่าเดิมคือ การเอียงกล้องเล็กน้อยเพื่อให้แนวเส้นต่างๆ อยู่ในองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมแทน
เคล็ดลับ: ลองใช้เคล็ดลับนี้ถ่ายตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน แล้วดูว่าภาพที่ได้เปลี่ยนไปอย่างไร แล้วแบ่งปันภาพของคุณได้ที่ My Canon Story เพื่อร่วมลุ้นโอกาสในการตีพิมพ์กับเรา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม โปรดดูที่บทความนี้
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม
ภาพถ่ายที่มีทางม้าลายอยู่ในแนวนอน องค์ประกอบภาพมีความสมดุลที่ดี แต่ไม่สื่อถึงการเคลื่อนไหว
ภาพถ่ายที่มีทางม้าลายอยู่ในแนวเอียง ซึ่งมีการเน้นเส้นสีขาวบนทางข้ามเพื่อสื่อถืงจังหวะการเคลื่อนไหวในภาพ
---
หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน
---
หากคุณต้องการถ่ายภาพสตรีทที่ไม่เหมือนใคร การรู้จักวิธีใช้กล้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดช่วยคุณได้! ลองดูไอเดียได้จากบทความต่อไปนี้
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D: ภาพแนวสตรีท
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง
3 วิธีในการใช้ EOS M6 เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์เมืองให้สวยมีสไตล์
เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน ความเร็วสูง คมชัด และน้ำหนักเบาเป็นเลนส์ที่ช่างภาพผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพสตรีทต้องมีไว้ใช้ ต่อไปนี้คือเลนส์ที่คุณอาจจะอยากเพิ่มเข้าไปในชุดอุปกรณ์ของคุณ
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท
การทดลองใช้ EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
EF50mm f/1.8 STM: รีวิวพร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประโยชน์
EF-S24mm f/2.8 STM: เลนส์แพนเค้กที่ช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ๆ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย