การถ่ายภาพสตรีทในย่านอาซากุสะ (1): เคล็ดลับในการถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
กล้องคือเพื่อนร่วมทางที่ดี เพราะเป็นตัวช่วยในการเก็บบันทึกประสบการณ์อันแสนวิเศษของคุณ และที่น่าทึ่งกว่านั้น หากคุณได้เรียนรู้วิธีใช้งานกล้องแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะพบว่ากล้องยังสามารถบันทึกความรู้สึกของคุณ ณ สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้อีกด้วย ในบทความนี้ เราจะแนะนำเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการถ่ายภาพสตรีท โดยใช้ย่านอาซากุสะเป็นตัวอย่างสถานที่ซึ่งช่วยให้คุณสัมผัสบรรยากาศญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ
การถ่ายภาพวัดเซ็นโซจิที่มีผู้คนพลุกพล่าน
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: วัดเซ็นโซจิ
ความพลุกพล่านภายในวัดและควันธูปถูกถ่ายทอดไว้ในภาพเดียวกัน เพื่อขับเน้นถึงความหนาแน่นของฝูงชน การใช้ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์จะง่ายกว่าการใช้ระยะมุมกว้าง
วัดเซ็นโซจิ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดโคมแดง) คือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของโลกยุคเก่าที่ง่ายต่อการจินตนาการถึงภาพในอดีตจนถึงช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 เมื่อครั้งกรุงโตเกียวยังมีชื่อว่า "เอโดะ" และญี่ปุ่นยังอยู่ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลโชกุน ซึ่งตัดขาดจากโลกตะวันตก สถานที่ท่องเที่ยวหลักที่ควรแวะเก็บภาพคืออาคารเก่าแก่ของที่นี่ อย่างเช่นประตูคามินาริและวัดเซ็นโซจิ ซึ่งมีควันลอยขึ้นจากกระถางธูป และถนนช้อปปิ้งนากามิเสะที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คน เนื่องจากคุณจะต้องอยู่ท่ามกลางฝูงชนที่เดินผ่านไปมาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางที่ดีควรแน่ใจว่าคุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็ว ผมขอแนะนำให้ถ่ายภาพในโหมดโปรแกรมระดับแสงอัตโนมัติ (P) หรือโหมดระบุค่ารูรับแสง AE (Av) เพราะใช้งานได้สะดวกและสามารถปรับตั้งค่าได้ง่าย
เคล็ดลับ: มองหาและเก็บภาพความสมมาตรในโครงสร้างวัด
เพื่อเก็บความรู้สึกที่งดงามตระการตาเต็มรูปแบบของโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างเช่นประตูวัด ให้ลองถ่ายภาพพร้อมกับนึกถึงบริเวณด้านหน้าและจุดที่เส้นนำสายตาลากผ่านจากประตูทางเข้าไปจนถึงทางออก วัดต่างๆ สร้างขึ้นจากโครงสร้างที่สมมาตร ดังนั้น ให้ยืนหันหน้าไปด้านหน้าวัดโดยตรง และลองสังเกตระดับความเอียงของกล้องเพื่อให้แน่ใจว่าภาพของคุณจะได้ระดับในแนวนอน
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/125 วินาที, EV+2)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: วัดเซ็นโซจิ
หากตัวแบบของคุณมีฝูงชนห้อมล้อม การถ่ายภาพอาจเป็นเรื่องยาก ผมจึงถือกล้องไว้เหนือระดับศีรษะ พร้อมกับตั้งค่ากล้องในโหมด Live View และใช้จอ LCD เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาพ
การถ่ายภาพประตูคามินาริจากตำแหน่งที่สูง
ประตูคามินาริเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของย่านอาซากุสะมาช้านาน ในปี 2012 มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยววัฒนธรรมอาซากุสะที่ด้านตรงข้ามกับประตูคามินาริ เพื่อคอยให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ที่บริเวณชั้น 8 ของตึกนี้มีจุดชมวิวให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะที่เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของกรุงโตเกียว รวมทั้งหอคอยสกายทรี คุณสามารถมองลงมาที่ประตูคามินาริที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งให้มุมมองที่แตกต่างจากสิ่งที่คุณเห็นเมื่อเดินผ่านประตูเข้ามา
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยววัฒนธรรมอาซากุสะ
ประตูคามินาริและถนนช้อปปิ้งนากามิเสะที่อยู่ด้านหลัง การมองดูประตูจากตำแหน่งที่สูงกว่านี้ให้ความรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวา
โปรดดูบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมของเรา เพื่ออ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคาร:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน
การถ่ายภาพสวนสนุกฮานายาชิกิ
หากประตูคามินาริคือสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ที่ชวนให้นึกถึงสมัยเอโดะ ฮานายาชิกิคือสวนสนุกที่พาชมร่องรอยอดีตของกรุงโตเกียวในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และแม้ว่าสวนสนุกแห่งนี้จะมีขนาดเล็ก แต่จะทำให้คุณรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่ไม่มีผู้คนพลุกพล่านมากนักเมื่อเทียบกับประตูคามินาริและถนนช้อปปิ้งนากามิเสะ คุณจึงใช้เวลาเตรียมกล้องได้ตามต้องการ และทำให้สามารถกลับไปใช้พื้นฐานการถ่ายภาพ เพื่อให้ความสำคัญกับการหาองค์ประกอบภาพที่เหมาะสม ลองค้นหาสไตล์การถ่ายภาพของตนเอง เช่น การใช้องค์ประกอบภาพที่สร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวแบบของคุณ และค้นหามุมที่ดีที่สุดเพื่อถ่ายภาพ
บทความเกี่ยวกับพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ:
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 1): กฎสามส่วนและกฎสี่ส่วน
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม
"แพทเทิร์นและจังหวะการจัดวาง" และ "เส้นโค้งรูปตัว S"
เกี่ยวกับทฤษฎีการจัดองค์ประกอบภาพ:
ทฤษฎีเกสตัลท์ในการถ่ายภาพสตรีท (ฉบับภาษาอังกฤษ)
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 38 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/40 วินาที, EV+1.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: สวนสนุกฮานายาชิกิ
บ้านขนาดจิ๋วที่ทำจากขนมหวานแสนอร่อยนี้คือ "บ้านผีสิง (Bikkuri House)" จำลอง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของสวนสนุกฮานายาชิกิมาอย่างยาวนาน ผมจัดวางบ้านไว้ที่ด้านล่างขวาของเฟรม ทำให้ด้านซ้ายบนของภาพมีพื้นที่มากสำหรับสร้างความสมดุล
EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: สวนสนุกฮานายาชิกิ
คุณอาจพบตัวแบบในสถานที่ที่ไม่คาดคิดมากที่สุด ตัวอักษรของคำว่าฮานายาชิกิที่ปรากฏบนสะพานเป็นตัวอักษรแบบย้อนยุคที่คุณแทบไม่เคยพบเห็นในญี่ปุ่นทุกวันนี้ ผมหมอบลงเพื่อให้สามารถอ่านตัวอักษรได้ชัด จากนั้นจึงถ่ายภาพจากมุมต่ำ
เคล็ดลับ: ลองใช้วงกลมโบเก้ในการถ่ายภาพเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ
แม้ว่ารูปถ่ายส่วนใหญ่มักเป็นภาพทิวทัศน์ แต่การพิจารณาใช้รูปเพื่อเป็นภาพวาดหรืองานออกแบบก็น่าสนใจเช่นกัน สำหรับภาพด้านล่าง แทนที่จะสร้างวงกลมโบเก้จากโคมไฟ ผมตัดสินใจที่จะกล้าจัดให้ภาพทั้งภาพอยู่นอกโฟกัส วิธีนี้ทำให้ภาพทั้งดูลึกลับและน่าสนใจ ชวนให้ผู้ชมคาดเดาว่ามีอะไรในภาพ
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการสร้างวงกลมโบเก้:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก
ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม
ก่อน
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/80 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายในระยะโฟกัส แม้ว่าโคมไฟจะดูสวยงาม แต่ภาพถ่ายทอดตัวแบบที่ผมไม่ต้องการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น โครงตึกและสายไฟ
หลัง
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/80 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
การตั้งค่าจุดโฟกัสในระยะใกล้โดยใช้แมนนวลโฟกัส (MF) ทำให้ผมเบลอภาพทั้งหมดได้ เพื่อให้สิ่งที่โดดเด่นในภาพนี้มีเพียง "ดวงไฟกลมๆ"
กล้องและเลนส์ที่แนะนำสำหรับการถ่ายภาพสตรีท
หากคุณตั้งใจออกเดินทางท่องเที่ยว คุณควรนำกล้องฟูลเฟรมประสิทธิภาพสูงติดตัวไปด้วย EOS 6D ที่ผมใช้ถ่ายภาพนี้คือกล้องที่มีขนาดเล็กกว่ากล้องซีรีย์ EOS 5D หนึ่งระดับ เมื่อใช้คู่กับเลนส์ EF24-70mm f/4L IS USM จะให้ทั้งคุณภาพของภาพร่วมกับความสะดวกในการพกพาอย่างลงตัวที่สุดสำหรับช่างภาพมือฉมัง อย่างไรก็ดี หากความกะทัดรัดคล่องตัวคือสิ่งสำคัญสำหรับคุณ ผมขอแนะนำให้ใช้ EOS M5 ร่วมกับเลนส์ EF-M22mm f/2 STM
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย