ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theories) พัฒนาขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ 1920 ภายใต้การนำของ Max Wertheier โดยมีความเชื่อว่าสมองของคนเราจะใช้แนวโน้มต่างๆ ในการจัดระเบียบตนเองเพื่อสร้าง "ภาพรวมทั้งหมด" ขึ้น
ทฤษฎีเหล่านี้พยายามอธิบายวิธีที่เรารับรู้สิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็น และจัดระเบียบสิ่งเหล่านั้นในสมองเพื่อสร้าง "ความเข้าใจต่อภาพ" ดังกล่าว แนวคิดพื้นฐานคือ เมื่อเราพบฉากที่ดูสับสนวุ่นวาย สมองของเราจะทำให้ฉากดังกล่าวดูง่ายขึ้น โดยแปรเปลี่ยนเป็นรูปแบบและรูปทรงที่มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ทฤษฎีเหล่านี้เรียกว่า หลักการเกสตัลท์ (Gestalt Principles)
ที่มาของคำว่า เกสตัลท์ หมายถึง แบบ/รูปร่าง/โครงสร้างที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงมีแนวความคิดหลักคือ "ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย" เนื่องจากสมองของเรารับรู้ภาพเป็นส่วนรวมมากกว่าเป็นส่วนย่อย อันเป็นกลไกของสมองเพื่อช่วยให้เราไม่สับสนเวลามองเห็นภาพ
EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 15mm; f/4; 1/180 sec; ISO 400 (Cold to Work)
เพราะการถ่ายภาพคือการนำเสนอภาพให้แก่ผู้ชม ดังนั้น เราจึงสามารถใช้หลักการเกสตัลท์ขณะถ่ายภาพ เพื่อสร้างผลทางความรู้สึกในใจของผู้ชมได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีนี้ เราสามารถถ่ายทอดแนวคิดของภาพถ่ายด้วยวิธีที่ดีขึ้นได้
(กฎแห่ง) หลักการเกสตัลท์ช่วยให้เราทราบว่าการรับรู้ทางสายตาทำงานอย่างไร และทำไมภาพบางภาพจึงใช้งานได้ดีกว่าภาพอื่นๆ ด้านล่างนี้คือหลักการเกสตัลท์สำหรับการถ่ายภาพสตรีท:
ความเรียบง่าย
สมองของเรารับรู้ภาพในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด กฎแห่งความเรียบง่ายอธิบายว่า สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ภาพดูเรียบง่ายเพื่อช่วยให้ตาและสมองรู้สึกสบาย และกระตุ้นให้แปลความหมายสิ่งที่เราต้องการแสดง
ดังนั้น เมื่อเราถ่ายภาพ ลองค้นหารูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดเพื่อทำให้ภาพดูน่าสนใจ และทำให้สมอง "เข้าใจได้ง่าย" และหลังจากผ่านไปสักพัก สมองจะเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นและตระหนักถึงความหมายที่แท้จริงของภาพถ่าย
EOS 100D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 194mm; f/5.6; 1/2000 sec; ISO 400 (Alien Robot)
ความสมมาตร
เราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบที่สมมาตรในภาพถ่ายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน เพราะความสัมพันธ์ของทั้งสองด้านช่วยให้เรารับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเราถ่ายภาพ เราสามารถใช้กฎข้อนี้เพื่อสร้างการรับรู้ภาพทั้งภาพ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบภาพอย่างน้อยสองอย่างได้
เราสามารถสร้างความสมมาตรได้โดยทำให้องค์ประกอบภาพมีความสมดุลหรือสร้างภาพสะท้อนขององค์ประกอบนั้นขึ้นแทน อย่างไรก็ดี บางครั้งการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรอาจค่อนข้างน่าเบื่อ และขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของเราในการถ่ายภาพให้ดูสนุกและน่าสนใจ
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/8; 1/100 sec; ISO 800 (Balloon Seller)
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/8; 1/1000 sec; ISO 400 (Frozen Path)
Figure to Ground
ในภาพเดียวกัน บางครั้งเราต้องการแสดงวัตถุชิ้นหนึ่ง (ตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมาย) แต่สายตาของผู้ชมกลับไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากวัตถุกลืนไปกับพื้นหลังของภาพ กฎ Figure-to-ground ช่วยอธิบายว่าเราจะรับรู้องค์ประกอบใดเป็นรูปร่างและองค์ประกอบใดเป็นพื้นหลัง
รูปร่างคือ วัตถุหรือตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมาย ส่วนพื้นหลังคือ แบ็คกราวด์ที่อยู่ด้านหลังหรือบริเวณรอบๆ รูปร่างนั้น บางครั้งรูปร่างอาจไม่ใช่วัตถุเสมอไป แต่อาจเป็นพื้นที่ได้ด้วย สมองของเราจะรับรู้พื้นที่ขนาดเล็กที่สุดหรือมีความเปรียบต่างมากที่สุดเป็นรูปร่าง ขณะที่พื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเป็นพื้นหลัง
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/4.5; 1/800 sec; ISO 400 (After the Rain)
EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/11; 1/500 sec; ISO 200 (Working Early)
ทางร่วม
กฎแห่งทางร่วม (Common Fate law) อธิบายว่า องค์ประกอบทางสายตาซึ่งกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันจะถูกรับรู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเราเห็นฉากที่มีองค์ประกอบกลุ่มหนึ่งเคลื่อนที่ไปด้วยกัน สมองของเราจะเข้าใจว่าองค์ประกอบเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และองค์ประกอบอื่นที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ไปในลักษณะที่แตกต่างกันจะถือว่าอยู่นอกกลุ่ม การทำความเข้าใจกฏแห่งทางร่วมนี้ทำให้เราสามารถสร้างภาพกลุ่มที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบภาพที่แตกต่างกัน หรือยังสามารถแยกองค์ประกอบภาพออกจากกลุ่มได้อีกด้วย
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/11; 1/1600 sec; ISO 800 (In a Hurry)
ความใกล้ชิด
กลุ่มขององค์ประกอบที่อยู่ใกล้ชิดกันมีแนวโน้มที่จะทำให้เรารับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นหมวดหมู่เดียวกันมากกว่าแยกจากกัน ดังนั้น หากเราต้องการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ เราจำเป็นต้องนำองค์ประกอบเหล่านั้นมาไว้ใกล้กัน
EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 12mm; f/8; 1/60 sec; ISO 400 (Friends)
EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 116mm; f/11; 1/60 sec; ISO 400 (Who is She)
ความคล้ายคลึง
หากองค์ประกอบมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน สมองของเราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบนั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กฏแห่งความคล้ายคลึงอาศัยสิ่งเร้า ได้แก่ สี รูปทรง ขนาด พื้นผิว หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน
หากองค์ประกอบไม่สัมพันธ์กันแต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อเราเข้าใจกฎแห่งความคล้ายคลึงกันแล้ว เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ไม่สัมพันธ์กันโดยใช้สี รูปร่าง ขนาด หรือพื้นผิวได้ ซึ่งการทำซ้ำก็รวมอยู่ในกฏนี้เช่นกัน
EOS 100D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 65mm; f/4; 1/50 sec; ISO 100 (Friends in Silence)
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/11; 1/200 sec; ISO 100 (No Sweat)
ความต่อเนื่อง
กฎแห่งความต่อเนื่องอธิบายว่าสมองของเรามักมองรูปทรงหรือเส้นไปไกลกว่าจุดสิ้นสุด ดังนั้น วัตถุจะรวมเป็นกลุ่มเดียวกันหากอยู่ในแนวเดียวกันหรือมีทิศทางในแนวเดียวกัน เราจะรับรู้ว่ารูปทรงหรือเส้นเป็นองค์ประกอบเดี่ยวหากรูปทรงหรือเส้นดังกล่าวมีความต่อเนื่อง แม้ว่าจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนก็ตาม
และยิ่งส่วนของรูปทรงหรือเส้นดูราบรื่นขึ้นเท่าใด เรายิ่งมองเห็นความกลมกลืนมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ความต่อเนื่อง เช่น เส้นนำสายตา เพื่อนำสายตาผู้ชมไปยังวัตถุหลักที่เราต้องการนำเสนอได้อีกด้วย
EOS 1000D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 250mm; f/5.6; 1/320 sec; ISO 400 (Out of Reach)
EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 13mm; f/13; 1/8 sec; ISO 400 (The Journey)
การปกปิด
สิ่งหนึ่งที่สมองของเราสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมคือ สามารถเติมเต็มรูปทรงที่ไม่มีอยู่ได้ สมองของเรามีแนวโน้มที่จะเติมเต็มวัตถุที่ขาดหายไป กฎแห่งการปกปิดใช้อธิบายว่าสมองของเราเติมเต็มช่องว่างระหว่างวัตถุหรือเส้นที่ไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร
สมองของเรามีทักษะในการจดจำองค์ประกอบภาพ แม้ว่าองค์ประกอบนั้นจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า ในภาพถ่าย รูปทรงที่สมบูรณ์อาจดูน่าเบื่อ ดังนั้น เราควรให้ข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้สมองสร้างรูปร่าง แต่ยังคงใช้จินตนาการได้ด้วย การทำความเข้าใจทฤษฎีเกสตัลท์ในขณะถ่ายภาพสตรีทช่วยให้เราได้ภาพถ่ายที่มีพลัง เพื่อดึงดูดใจผู้ชมไปในทิศทางที่เราต้องการแสดงให้เห็น โดยการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
EOS 100D; EF50mm f/1.8 STM; 50mm; f/2; 1/50 sec; ISO 200 (Can't Find My Book)
EOS 550D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/3.5; 1/100 sec; ISO 200 (Your Order, Please)
ทฤษฎีเกสตัลท์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้และความเป็นจริง
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพจากบทความด้านล่างนี้
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #14: ตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ: เพิ่มชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายอาคารและโรงงาน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแอ็บสแทร็กต์ โปรดดูบทความด้านล่างนี้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเชิงแนวคิด โปรดดูบทความด้านล่างนี้
การถ่ายภาพแนวคอนเซ็ป: แฝงอารมณ์ความรู้สึก และส่วนประกอบอื่นๆ
การถ่ายภาพแนวคอนเซ็ป: เคล็ดลับและลูกเล่น
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
พนักงานออฟฟิศที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ เขาพกกล้องติดตัวเสมอไม่ว่าจะไปที่ใด การบันทึกทุกด้านของชีวิตมนุษย์ สถานที่ ธรรมชาติ พื้นที่ และรูปทรง ความหวังที่จะกระจายความสุขและความงดงามของการถ่ายภาพ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ผ่านภาพถ่าย