ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน

2017-01-19
7
11.26 k
ในบทความนี้:

อาคารที่มีแสงไฟสว่างไสวยามค่ำคืนเป็นตัวแบบที่มีเสน่ห์อย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพ ในตอนสุดท้ายของบทความต่อเนื่องชุดนี้ เราจะมาดูวิธีการถ่ายภาพอาคารในช่วงกลางคืนกัน (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)

EOS 6D / EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/40 วินาที)/ ISO 10000/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (ทางออกมารุโนะอุชิ) กรุงโตเกียว

 

พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน

ในบทนี้้เราจะมาดูพื้นฐานที่จำเป็นในการถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน ซึ่งครอบคลุมถึง แนวคิดพื้นฐานในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม, การใช้ทางยาวโฟกัสมุมกว้าง/เทเลโฟโต้ และ เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ ในบทก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน

มีสองสามข้อที่คุณต้องทราบในการถ่ายภาพยามค่ำคืน:

- ความเร็วชัตเตอร์จะต่ำลงเมื่อคุณถ่ายภาพในที่มืด ซึ่งทำให้ภาพได้รับผลกระทบจากปัญหากล้องสั่น
ในที่มืด ความเร็วชัตเตอร์จะลดลงเนื่องจากไม่มีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้น จึงอาจเกิดปัญหากล้องสั่นได้ง่าย ในการจัดการกับปัญหานี้ ให้เพิ่มความไวแสง ISO เพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงได้แม้ในสภาพแสงน้อย และช่วยให้คุณถือกล้องได้นิ่ง มีจุดสำคัญสองประการในการถ่ายภาพตอนกลางคืน

- การเพิ่มความไวแสง ISO มีแนวโน้มทำให้ภาพมีจุดรบกวนเพิ่มขึ้น 
หากคุณต้องการเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายให้สูงขึ้น คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องหรือหาวิธีอื่นในการตั้งกล้องให้มั่นคง หากคุณใช้ขาตั้งกล้อง ปัญหากล้องสั่นยังคงเกิดขึ้นได้เนื่องจากการกดปุ่มชัตเตอร์ ดังนั้น ขณะถ่ายภาพผมขอแนะนำให้คุณตั้งเวลาถ่ายภาพไว้ที่ 2 วินาที

- กล้องของคุณอาจชดเชยแสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างจ้าอย่างเช่น ไฟถนนและไฟประดับตกแต่ง มากจนเกินไป ส่งผลให้ภาพดูมืด
เมื่อถ่ายภาพแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ เช่น ไฟถนนและไฟประดับตกแต่ง แสงสว่างดังกล่าวอาจทำให้ตัววัดปริมาณแสงของกล้องเข้าใจว่าฉากดังกล่าวสว่างจ้ากว่าความเป็นจริงอยู่มาก ดังนั้น กล้องจะชดเชยแสงสว่างมากจนเกินไปจนทำให้ภาพของคุณออกมาดูมืด แม้ว่ากรณีนี้จะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงจากแหล่งกำเนิดแสงและการกระจายแสงในเฟรมภาพก็ตาม แต่หากคุณรู้สึกว่าภาพของคุณดูมืดเกินไป ลองใช้การชดเชยแสงเป็นบวกแล้วถ่ายภาพใหม่อีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้แสงไฟระยิบระยับในภาพถ่ายของคุณดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

ในภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน แสงสว่างจะช่วยดึงดูดสายตาของมนุษย์ จึงควรนำข้อดีนี้มาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายของคุณ
ในภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน วัตถุที่ส่องสว่างอย่างเช่น แสงไฟตามท้องถนน จะดึงดูดสายตาของเราได้ง่าย ดังนั้น การคิดถึงวิธีจัดเรียงวัตถุดังกล่าวในขณะจัดองค์ประกอบภาพจึงเป็นความคิดที่ดี ในภาพตัวอย่าง ผมวางไฟถนนไว้ตามขอบด้านซ้ายและด้านขวาของภาพให้เส้นแสงมาบรรจบกันที่บริเวณกึ่งกลางภาพ เพื่อช่วยให้เกิดมิติความตื้นลึก

 

วิธีตั้งค่าความไวแสง ISO

ปุ่ม "ISO" → ใช้การสั่งการด้วยระบบสัมผัสหรือหมุนวงแหวนเพื่อเปลี่ยนค่า *แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง

 

ได้ภาพที่สวยงามตรึงใจโดยไม่ต้องเพิ่มความไวแสง ISO

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/50 วินาที)/ ISO 12800/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (ทางออกมารุโนะอุชิ) กรุงโตเกียว

 

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 59 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1.3 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว (ทางออกมารุโนะอุชิ) กรุงโตเกียว

ดูภาพถ่าย 2 ภาพด้านบน สังเกตไหมว่าภาพที่ถ่ายด้วยค่า ISO 12800 มีจุดรบกวนมากกว่าเล็กน้อย

ยิ่งความไวแสง ISO สูงขึ้นเท่าไหร่ ภาพก็ยิ่งมีจุดรบกวนมากขึ้นเท่านั้น กล้องรุ่นใหม่ๆ มีความสามารถในการลดจุดรบกวนอันเนื่องมาจากการใช้ความไวแสง ISO สูงที่ดียิ่งขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดจุดรบกวนให้หมดไปโดยสิ้นเชิงได้ ด้วยเหตุนี้ ช่างภาพส่วนใหญ่จึงหาโอกาสถ่ายภาพด้วยความไวแสง ISO ที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่จะเกิดจุดรบกวนด้วยการปรับการตั้งค่ากล้อง เช่น ค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

การตั้งค่าความไวแสง ISO ให้ต่ำลงจะส่งผลให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างคมชัดโดยมีจุดรบกวนน้อยที่สุด หากคุณติดตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องแบบสามขาหรือขาตั้ง ภาพของคุณจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหากล้องสั่นแม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำก็ตาม 

 

ใช้การเปิดรับแสงนานเพื่อถ่ายเส้นแสงให้เกิดเป็นเอฟเฟ็กต์ที่น่ามหัศจรรย์

การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้มีความเร็วที่ต่ำมากๆ ประมาณหลายสิบวินาที เรียกว่า "การเปิดรับแสงเป็นเวลานาน" เมื่อเซนเซอร์เปิดรับแสงเป็นเวลานาน ขณะลั่นชัตเตอร์เราจะสามารถบันทึกภาพรถที่วิ่งผ่านไปเป็นเส้นแสง และเกิดเป็นเอฟเฟ็กต์ที่สวยสดงดงามได้ แต่ในการใช้การเปิดรับแสงนานนั้น สิ่งสำคัญคือต้องอย่าลืมตั้งกล้องไว้บนขาตั้งด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่น

อ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเส้นแสงได้ที่:
[ตอนที่ 1] เทคนิคการใช้เส้นแสงมาตรฐาน

หรือดูบทความต่อไปนี้เพื่ออ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #10: ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่สุดคือเท่าใด? 

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/20, 30 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่: พิพิธภัณฑ์มิตซูบิชิ อิจิโงคัง (Mitsubishi Ichigokan Museum) เขตมารุโนะอุชิ กรุงโตเกียว

 

ใช้สมดุลแสงขาวเพื่อเปลี่ยนโทนสีของภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน

ความสมดุลของโทนสีมีผลต่ออารมณ์ภาพอย่างมาก สีสันที่อบอุ่นจะสื่อถึงความรู้สึกอันอบอุ่น ขณะที่โทนสีเย็นจะให้ความรู้สึกสงบเยือกเย็น แต่เดิมเราใช้ฟังก์ชันสมดุลแสงขาวในกล้องเพื่อแสดงสีสันของตัวแบบได้อย่างสมจริงโดยไม่คำนึงถึงแหล่งกำเนิดแสง อย่างไรก็ดี ฟังก์ชันนี้ยังใช้ถ่ายภาพให้มีโทนสีออกไปทางน้ำเงินได้อีกด้วยหากคุณตั้งอุณหภูมิสีให้มีค่าน้อยๆ (หลอดไฟทังสเตน ฯลฯ) หรือโทนสีแดงหากตั้งค่าสูงๆ (เมฆครึ้ม ในที่ร่ม ฯลฯ) การใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวเพื่อเปลี่ยนโทนสีในภาพจึงสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่น่าสนใจได้ และยังเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้กับฉากทุกประเภท ดังนั้น จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะการถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนเท่านั้น

หากคุณยังเป็นมือใหม่ในการใช้สมดุลแสงขาว สามารถเรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นได้จาก
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก

ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มากขึ้นอาจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

 

การถ่ายภาพด้วยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น "หลอดไฟทังสเตน"

EOS 6D/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/5.6, 3.2 วินาที)/ ISO 1600/ WB: หลอดไฟทังสเตน
สถานที่: ภายในโตเกียวมิดทาวน์ ย่านรปปงงิ กรุงโตเกียว

 

การถ่ายภาพด้วยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น "เมฆครึ้ม"

EOS 6D/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/5.6, 3.2 วินาที)/ ISO 1600/ WB: เมฆครึ้ม
สถานที่: ภายในโตเกียวมิดทาวน์ ย่านรปปงงิ กรุงโตเกียว

 

วิธีตั้งค่าสมดุลแสงขาว

ปุ่ม "WB" → เลือกจากโหมดตั้งค่าล่วงหน้า เช่น "แสงแดด", "เมฆครึ้ม" และ "หลอดไฟทังสเตน" *แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Etica

บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง

https://etica.jp/

Takeshi Akaogi

ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย

http://www.flipphoto.org

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา