ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D: ภาพแนวสตรีท

2016-06-16
2
5.47 k
ในบทความนี้:

เมื่อถ่ายภาพแนวสตรีท ในการถ่ายภาพสแนปช็อตฉากทั่วๆ ไป กุญแจสำคัญคือ จัดภาพให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สังเกตตัวแบบจากมุมมองเปอร์สเป็คทีฟต่างๆ และถ่ายทอดความรู้สึกผ่านภาพถ่ายของคุณ EOS 80D คือกล้องที่มีฟังก์ชั่นสมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีทดังกล่าว ในบทความนี้ ผมจะขอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่มีประโยชน์เพื่อทดลองใช้กับกล้องตัวนี้กัน (ภาพและเรื่องโดย: Kazuo Nakahara)

 

เทคนิคที่ 1

ใช้ฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว (WB) เพื่อถ่ายภาพท้องฟ้าสีฟ้าที่ใสกระจ่างสะดุดตา

เมื่อถ่ายภาพแนวสตรีทเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของคุณ ไม่มีหลักเกณฑ์ใดที่ระบุว่าคุณต้องสร้างภาพวิวทิวทัศน์ตามสภาพจริง ดังนั้น หากจะเปลี่ยนโทนสีในภาพให้เหมาะสมกับความต้องการเพื่อให้เข้ากับฉากและตัวแบบก็นับเป็นสิ่งที่น่าสนใจเช่นกัน

ผมขอแนะนำให้เริ่มต้นโดยการถ่ายภาพด้วยฟังก์ชั่นสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB) ที่อยู่ภายในกล้อง EOS 80D ซึ่งให้ความแม่นยำสูง จากนั้น ให้ใช้ฟังก์ชั่นปรับ/คร่อมแสงขาวเพื่อปรับสมดุลแสงขาว และเปลี่ยนโทนสีในภาพให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

 การปรับโทนสีระหว่างสีฟ้า (B) และสีแดง (A) บนแกน B-A และระหว่างสีเขียว (G) และสีม่วงแดง (M) บน G-M ยังทำได้ง่ายเช่นเดียวกัน อันดับแรก ให้กำหนดว่าอุณหภูมิสีใดเป็นโทนสีที่เย็นกว่า (สีฟ้ามากกว่า) หรืออุ่นกว่า (สีเหลืองอำพันมากกว่า) บนแกน B-A จากนั้นจึงปรับโทนสีบนแกน G-M เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างโทนสีที่มีลักษณะเฉพาะ สีเขียวสามารถสร้างบรรยากาศที่ชวนให้ถวิลหาอดีตและให้ความรู้สึกที่สดชื่น ขณะที่สีม่วงแดงสามารถนำเสนอความเงียบสงบไปพร้อมกับอารมณ์เศร้าหมองได้อย่างชัดเจน

สามารถปรับสมดุลแสงขาวได้อย่างละเอียด

เลือก [ปรับ/คร่อมแสงขาว] จากเมนู Shooting 2 เพื่อแสดงหน้าจอการแก้ไขสมดุลแสงขาว ด้วยการแก้ไขสมดุลแสงขาว คุณสามารถปรับสมดุลแสงขาวได้เก้าระดับด้วยแกน B-A และแกน G-M เมื่อเริ่มต้นใช้สมดุลแสงขาว หากผสมผสานแกนทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกันจะมีสีสันให้เลือกใช้งานทั้งหมดถึง 360 สี ในภาพนี้ ผมปรับสมดุลแสงขาวเป็น "B3" และ "G7"

 

EF-S15-85mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 15mm (เทียบเท่า 24 มม.)/Aperture Priority AE (f/10, 1/160 วินาที, EV+0.7)/ISO 100/WB: อัตโนมัติ
เพื่อเน้นสีฟ้าของท้องฟ้า ผมตั้งค่าสเกลไว้ที่ "B3" ด้วยการแก้ไขสมดุลแสงขาว จากนั้นตั้งค่าไว้ที่ "G7" เพื่อสร้างบรรยากาศแนวเรโทร ผลลัพธ์ที่ได้คือ ภาพมีโทนสีที่ชวนให้ระลึกถึงความหลังได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภาพนี้ถ่ายโดยใช้การโฟกัสแบบแพนกล้อง ก่อนอื่นผมจึงเลือกโซน AF ซึ่งทำให้ผมโฟกัสวัตถุในแบ็คกราวด์ไปที่กึ่งกลางภาพได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงใช้ AF ครั้งเดียวเพื่อถ่ายภาพอย่างระมัดระวัง

 

เทคนิคที่ 2

ใช้อัตราส่วนที่แตกต่างกันเพื่อดึงเอาเสน่ห์ที่เป็นจุดเด่นของตัวแบบแต่ละตัวออกมา

กล้อง EOS 80D มีอัตราส่วนภาพเริ่มต้นที่ 3:2 ทำให้ง่ายต่อการโฟกัสที่ตัวแบบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน อย่างไรก็ดี คุณสามารถถ่ายทอดมุมมองต่อโลกของคุณผ่านภาพถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น หากคุณถ่ายภาพด้วยอัตราส่วนภาพที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแบบและฉากด้วย ผมจึงอยากแนะนำให้คุณลองถ่ายภาพแบบต่างๆ โดยใช้อัตราส่วนภาพที่แตกต่างกัน

นอกเหนือจากอัตราส่วน 3:2 แล้ว ยังมีอัตราส่วนภาพแบบอื่นๆ ให้เลือกได้แก่ 4:3, 16:9 และ 1:1 หากคุณใช้ปุ่มเมนูเพื่อตั้งค่าอัตราส่วนภาพ เส้นตารางจะแสดงขึ้นในช่องมองภาพตามอัตราส่วนที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งช่วยให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น แน่นอนว่า คุณจะสามารถเช็คภาพถ่ายตามอัตราส่วนที่ตั้งค่าไว้ได้ด้วยหากคุณกำลังถ่ายภาพในโหมด Live View อีกทั้งยังสามารถปรับอัตราส่วนภาพในกล้องได้หลังจากถ่ายภาพแล้ว

1:1

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 42 มม. (เทียบเท่า 67 มม.)/Aperture Priority AE (f/5.6, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ISO 100/WB: อัตโนมัติ
การใช้อัตราส่วนภาพที่ 1:1 จะช่วยลดทอนพื้นที่ในส่วนเงาทางด้านซ้ายของอาคารได้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ภาพดูแน่นมากขึ้น และเมื่อใช้ความเปรียบต่างระหว่างท้องฟ้าสีฟ้าและอิฐสีน้ำตาลร่วมด้วยก็จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่น่าประทับใจ เนื่องจากตัวแบบคืออาคารที่อยู่นิ่งกับที่ ผมจึงตั้งใจถ่ายภาพเพียงครั้งเดียวด้วย AF ครั้งเดียว สำหรับโหมดการเลือกพื้นที่ AF ผมใช้โซน AF และจับโฟกัสที่กำแพงด้านหน้า

 

เทคนิคที่ 3

ใช้ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ซ้อนทับบนภาพถ่ายเพื่อสร้างโทนสีที่แปลกใหม่

เช่นเดียวกับการแก้ไขสมดุลแสงขาว ฟิลเตอร์สร้างสรรค์สามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างมาก เอฟเฟ็กต์ที่มีทั้งสิ้น 7 แบบซึ่งมีให้ใช้งานในกล้อง EOS 80D ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ให้มีลักษณะที่ต่างกันได้มากมาย หากคุณกำลังบันทึกภาพในรูปแบบ JPEG คุณยังสามารถเช็คผลลัพธ์จริงของเอฟเฟ็กต์ได้ในโหมด Live View ก่อนที่คุณจะกดปุ่มชัตเตอร์ นอกจากนี้ คุณยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้อย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากสามารถใช้เอฟเฟ็กต์ต่างๆ ซ้อนทับบนภาพถ่ายได้ด้วยกล้องหลังจากที่ถ่ายภาพแล้ว การที่คุณค้นพบเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์ทั่วทั้งภาพซึ่งมีความแปลกใหม่ด้วยตัวเองโดยการใช้เอฟเฟ็กต์ต่างๆ ซ้อนทับบนภาพนั้นนับว่าน่าสนใจทีเดียว อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าฟิลเตอร์ HDR เช่น มาตรฐานศิลปะ HDR ฯลฯ ไม่สามารถนำมาซ้อนทับบนภาพถ่ายได้หลังจากที่ถ่ายภาพแล้ว

คุณสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์ในภาพที่ถ่ายได้

หากคุณถ่ายภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถตั้งค่าฟิลเตอร์สร้างสรรค์ได้จากเมนูเล่น โดยสามารถใช้เวลาในการเลือกเอฟเฟ็กต์ที่เหมาะสมกับภาพถ่ายได้จากเอฟเฟ็กต์ทั้ง 7 ประเภทที่มีให้เลือก

EOS 80D/ EF-S15-85mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/Shutter Priority AE (f/22, 1/13 วินาที, EV-1.0)/ISO 100/WB: อัตโนมัติ
เมื่อใช้เอฟเฟ็กต์ศิลปะคมเข้มซ้อนทับบนเอฟเฟ็กต์กล้องของเล่น ผมได้เอฟเฟ็กต์ต้นฉบับที่ช่วยดึงสีสันออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา และทำให้ภาพมีบรรยากาศแนวเรโทร นอกจากนี้ ผมยังใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเพื่อถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของผู้คน ตัวแบบที่เป็นมนุษย์อาจดูเบลอ ผมจึงถ่ายภาพไปพร้อมกับปรับโฟกัสไปที่ร้านค้าในแบ็คกราวด์ด้วย AF ครั้งเดียว + AF จุดเดียว

 

เรามาดูกันว่าฟิลเตอร์สร้างสรรค์สามารถทำอะไรได้บ้าง

ภาพถ่ายแบบธรรมดา

เนื่องจากความจริงส่วนหนึ่งที่ว่าภาพนี้ถ่ายในที่ร่ม ภาพที่ถ่ายโดยไม่ใช้ฟิลเตอร์และเอฟเฟ็กต์ใดๆ นี้จึงดูจืดชืดไม่มีพลัง และเหมือนขาดอะไรบางอย่างไป

 

เอฟเฟ็กต์กล้องของเล่น

เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายแบบธรรมดา ในภาพนี้แสงสว่างที่รอบๆ มุมทั้งสี่ของภาพลดน้อยลงอย่างชัดเจน จึงทำให้ได้บรรยากาศอันน่าประทับใจที่สร้างความรู้สึกถึงอดีตได้เป็นอย่างดี

เมื่อใช้เอฟเฟ็กต์อื่นๆ ซ้อนทับบนภาพถ่ายที่มีการใช้ฟิลเตอร์สร้างสรรค์แล้ว คุณจะสามารถสร้างภาพถ่ายที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร แล้วทำไมไม่เริ่มใช้งานและค้นหาแนวทางของตัวคุณเองล่ะ

 

 

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา