ทางรถไฟ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติเด่นของกล้องเพื่อการถ่ายภาพช่วงเวลาอันน่าประทับใจ
ด้วยศักยภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องรวดเร็ว ฟังก์ชั่น AF ที่พัฒนาขึ้นใหม่ และคุณภาพภาพถ่ายสูง ช่างภาพมากมายจึงเลือกใช้กล้อง EOS 5D Mark III ถ่ายภาพทางรถไฟ บทความนี้จะบอกถึงเทคนิคพิเศษที่คุณสามารถทำได้ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki)
EF600mm f/4L USM/ Manual exposure (1/320 วินาที, f/18)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ผมถ่ายภาพระยะใกล้ของรถไฟขบวนนี้เพื่อสร้างผลทางความรู้สึกให้กับภาพ ความเบลอที่ระยะโฟร์กราวด์เกิดจากการจัดองค์ประกอบให้พุ่มไม้ด้านหน้าเข้าไปอยู่ในภาพด้วย ในขณะที่ภาพนี้เป็นฉากที่ใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติอาจไม่ให้ผลที่แม่นยำมากนัก แต่กับกล้อง EOS 5D Mark III แล้วกลับเป็นผลงานที่ทำได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว
3 วิธีการถ่ายภาพทางรถไฟให้น่าประทับใจ
การจัดองค์ประกอบภาพ: เก็บภาพรูปทรง
ในการถ่ายภาพให้เกิดความรู้สึกประทับใจดังเช่นภาพตัวอย่างในบทความนี้ กุญแจสำคัญอยู่ที่การจัดองค์ประกอบภาพให้รูปทรงของรถไฟมีความสมดุลกัน สำหรับกล้อง DSLR รุ่นก่อนๆ ภาพลักษณะนี้จะต้องจับโฟกัสไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง สิ่งที่สำคัญกลับถูกละเลยไปจากองค์ประกอบภาพ ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III ตอนนี้ผมสามารถถ่ายภาพในขณะหันกล้องตามรถไฟไปได้แล้วโดยใช้การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงที่ประมาณ 6 ภาพต่อวินาทีกับโหมดโฟกัสแบบ AI Servo ในภาพที่ 1 ผมถ่ายด้านหน้าที่โค้งมนของรถไฟซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาพร้อมไฟส่องสว่างที่ด้านล่างของภาพ
แสง: ใช้แสงด้านหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อใช้อย่างเหมาะสม แสงที่ส่องมาจากด้านหลังสามารถทำให้ภาพรถไฟเป็นภาพที่ดีได้ไม่ต่างจากงานโฆษณาเลยทีเดียว แสงย้อนนี้สามารถใช้เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ทาบไล้บนตัวรถไฟเพื่อสร้างเงาสะท้อนหรือส่วนไฮไลต์ต่างๆ นอกจากนี้ รถไฟสมัยใหม่ที่มีหัวท้ายมนก็เหมาะกับการถ่ายภาพมากกว่า เช่นเดียวกับในภาพด้านบนและด้านล่าง ทั้งนี้เพราะภายใต้สภาพย้อนแสง จะยังมีเงาสะท้อนจากส่วนหัวหรือท้ายของรถไฟ ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับภาพถ่าย ข้อดีของกล้อง EOS 5D Mark III ยังมีอีกหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องของการเกลี่ยแสงที่ทำได้ละเอียดมาก ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพแสงที่สาดส่องยามพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก และเรื่องของความไวแสง ISO สูงๆ ที่เอื้อต่อการถ่ายภาพรถไฟและรางรถไฟตอนกลางคืน
การตั้งค่า: ระบบ AF ที่เหนือกว่า
ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III ตัวนี้ คุณสามารถตั้งค่าไปที่โหมดโฟกัสแบบ AI Servo แล้วใช้การเลือก AF 61 จุด อัตโนมัติ, การขยายจุด AF หรือโซน AF เพื่อสร้างความประทับใจที่แตกต่างในฉากเดียวกันได้ นี่คือแนวคิดใหม่ที่พลิกโฉมสำหรับการถ่ายภาพแนวรถไฟเลยทีเดียว ในตัวอย่างเหล่านี้ ผมให้แสดงเส้นตารางภายในช่องมองภาพและกำหนดการโฟกัสอัตโนมัติไว้ที่ปุ่ม AF-ON นอกจากนั้น ในเมนูการตั้งค่าฟังก์ชั่น AF ด้วยตนเอง จะตั้งค่าทั้ง [ระบุค่า AI Servo ของภาพแรก] และ [ระบุค่า AI Servo ของภาพสอง] ไว้ที่ [ระบุค่าโฟกัส]
คุณสมบัติที่แนะนำของกล้อง EOS 5D Mark III
ผมเลือกคุณสมบัติของ AI Servo AF [Case 3] ตั้งค่า “ความไวติดตาม” ไว้ที่ [+2] เพื่อการตอบสนองที่ดีกว่า ในขณะที่ “เพิ่ม/ลดความไวติดตาม” ตั้งค่าไว้ที่ [0] เพราะรถไฟจะไม่เปลี่ยนแปลงความเร็วกะทันหัน ส่วนการตั้งค่า “เปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติ” ผมเลือก [1] หรือ [0] แล้วแต่ความเร็วของรถไฟ
เลนส์ที่แนะนำ
จุด AF แบบบวกคู่จะสามารถใช้ได้เฉพาะตอนที่ใส่เลนส์อยู่กับกล้องเท่านั้น แม้ในขณะที่ใส่ Extender EF 1.4x III ก็สามารถใช้งานทั้ง AF 61 จุด และจุด AF แบบบวก f/4 และ f/5.6 ได้
EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 142 มม./ Manual exposure (2.5 วินาที, f/5.6)/ ISO 3200/ WB: แสงแดด/ การถ่ายภาพซ้อน: [เติมแต่ง]
ซากุระและดอกไม้นานาพรรณกำลังบานสะพรั่งตามสองข้างทางรถไฟ ผมไม่เคยเจอฉากที่สมบูรณ์แบบอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ผมใช้การถ่ายภาพซ้อนแบบ [เติมแต่ง] เพื่อทำให้พระจันทร์ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าดูเด่นขึ้น
EF70-200mm f/2.8L IS II USM + EXTENDER EF1.4×II/ FL: 280 มม./ Manual exposure (1/30 วินาที, f/4)/ ISO 200/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์ ND
ภาพถ่ายแบบแพนกล้องของรถไฟชินกันเซ็นที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่ในอีกด้านหนึ่งของดอกซากุระ สีชมพูในภาพนี้เกิดจากการทำให้ดอกซากุระเบลอ โดยใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่และสวยงามในระยะโฟร์กราวด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะของกล้อง DSLR ฟูลเฟรม นอกจากนั้นผมยังตั้งค่าให้เปิดรับแสงโอเวอร์เล็กน้อยเพื่อสื่อถึงความรู้สึกอ่อนโยนและอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิเอาไว้
เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ “Railman Photo Office” ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา