ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด In Focus: EOS R- Part15

6 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพภูเขาและก้อนเมฆ

2019-08-14
4
1.56 k
ในบทความนี้:

เมฆหมอกสามารถเพิ่มลักษณะเฉพาะให้กับภาพภูเขาของคุณได้ แต่การจะได้ภาพที่สวยสมบูรณ์แบบ โฟกัสและองค์ประกอบภาพของคุณจะต้องมีความพอเหมาะพอดีด้วย ช่างภาพภูเขาไฟฟูจิ Makoto Hashimuki จะมาเล่าให้เราฟังถึงคุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่ช่วยให้เขาถ่ายภาพให้สวยงามได้ง่ายดายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (เรื่องโดย: Makoto Hashimuki, Digital Camera Magazine)

ภูเขาไฟฟูจิและเมฆ

EOS R/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Manual exposure (f/15, 3.2 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่ถ่ายภาพ: จุดชมวิวพาโนรามาของทะเลสาบยามานะกะ

 

ฉาก 1: ภูเขาไฟฟูจิในขณะพระอาทิตย์ขึ้น

เมื่อผมตรวจสอบกับเว็บไซต์แสดงภาพถ่ายของภูเขาไฟฟูจิ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในตอนเช้าวันนั้น ก็พบว่าไม่สามารถมองเห็นภูเขาจากทะเลสาบยามานะกะได้เพราะมีหมอกหนา แต่สามารถเห็นภูเขาได้ในภาพที่ถ่ายด้วยกล้องบนที่สูงขึ้นไป นี่มักเป็นสัญญาณว่าจะเกิดทะเลหมอกซึ่งสามารถทำให้ภูเขาดูสวยงามและมีความเหนือจริงเป็นพิเศษ

ผมจึงรีบเดินทางไปที่จุดชมวิวพาโนรามาของทะเลสาบยามานะกะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) และได้ถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจินี้ซึ่งกำลังโผล่พ้นก้อนเมฆในขณะพระอาทิตย์ขึ้นได้ทันพอดี ผมชอบที่ความเปรียบต่างของแสงอันสวยงามสามารถทำให้รายละเอียดบนพื้นผิวของภูเขาดูโดดเด่นออกมา

 

#1: Focus Guide

ทุกครั้งที่ผมใส่ทะเลหมอกเข้ามาในภาพ ผมจะเตรียมการตั้งค่าทุกอย่างให้พร้อมและรอคอยที่จะเก็บภาพรายละเอียดที่สวยงามที่สุดในหมู่เมฆ และเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องไล่หาโฟกัสในขณะที่ผมรอ ผมมักจะเปลี่ยนไปใช้การโฟกัสแบบแมนนวล (MF) แทน

การโฟกัสแบบแมนนวลให้สมบูรณ์แบบในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นอาจทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองเห็นภูเขาที่มีเมฆปกคลุมอยู่ได้ไม่ชัดเจน แต่ Focus Guide ในกล้อง EOS R ทำให้การโฟกัสเป็นเรื่องง่ายดายมาก เมื่อผมได้โฟกัสในจุดที่ต้องการแล้ว สิ่งที่ต้องทำมีเพียงแค่รอให้เมฆหนาขึ้น

ตัวแสดงตำแหน่ง Focus Guide บนภูเขาไฟฟูจิ


เคล็ดลับ:  กำหนดปุ่ม AF ON เพื่อเปิด Focus Guide

ผมไม่ค่อยได้ใช้ปุ่ม AF ON เท่าใดนัก จึงกำหนดปุ่มนี้ทำหน้าที่เปิดและปิด Focus Guide แทน ผมพบว่า Focus Guide มีประโยชน์เป็นพิเศษในการโฟกัสแบบแมนนวลในฉากที่ค่อนข้างสว่าง

ข้อควรรู้: Focus Guide ยังมีประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพมาโคร ซึ่งระยะชัดที่ตื้นมากมักทำให้จำเป็นต้องโฟกัสแบบแมนนวล

 

#2: กระบวนการปรับแต่งภาพ RAW ภายในกล้อง

การที่สามารถปรับแต่งไฟล์ภาพ RAW ได้ภายในกล้องนั้นช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก เพราะคุณสามารถทำได้เลยในทันที! ในภาพนี้ ผมได้เพิ่มค่าพารามิเตอร์ความเปรียบต่างในรูปแบบภาพ ซึ่งให้ผลสองประการคือ

1) รายละเอียดของแสงและเงาบนพื้นผิวของภูเขาโดดเด่นออกมาได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มความมีมิติให้กับภาพ

2) ตัวภูเขาโดดเด่นตัดกับท้องฟ้ามัวๆ ได้ดีขึ้น

เคล็ดลับ: คุณสามารถปรับค่าพารามิเตอร์อย่างละเอียดในรูปแบบภาพขณะถ่ายภาพ และตรวจดูผลได้ทันทีใน EVF หรือ Live View แต่ควรทำเฉพาะเมื่อมีเวลาพอเท่านั้น คุณคงไม่อยากพลาดโอกาสในการถ่ายภาพเพราะมัวแต่ยุ่งอยู่กับการลองปรับการตั้งค่ารูปแบบภาพในแบบต่างๆ

ภูเขาไฟฟูจิในรูปแบบภาพ - มาตรฐาน

รูปแบบภาพ (มาตรฐาน) - การตั้งค่าเริ่มต้น

ยอดภูเขาไฟฟูจิที่มีการเพิ่มความเปรียบต่าง

รูปแบบภาพ (มาตรฐาน) - ความเปรียบต่าง +2


ดูเพิ่มเติมได้ที่: เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์

 

อุปกรณ์เพิ่มเติม: ใช้ฟิลเตอร์ Graduated ND เพื่อปรับสมดุลความเปรียบต่างที่ไม่สม่ำเสมอ

ปรากฏการณ์ทะเลหมอกนั้นมักจะเกิดขึ้นบ่อยในยามฟ้าสาง ในช่วงเวลานี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้ภูเขาและท้องฟ้าสว่าง แต่แสงจะส่องไปไม่ถึงเมฆและแนวป่า จึงเกิดเป็นส่วนที่มืดในโฟร์กราวด์

ฟิลเตอร์ Graduated ND

เพื่อปรับสมดุลความเปรียบต่าง ผมใช้ฟิลเตอร์ Graduated ND (GND) โดยวางส่วนที่มืดมากกว่าไว้เหนือภูเขาไฟฟูจิเพื่อลดความสว่างในส่วนนั้นของฉาก วิธีนี้ยังเป็นการเพิ่มความเข้มของสีสันในฤดูใบไม้ร่วงของต้นไม้ในโฟร์กราวด์ด้วย

 

ใช้ฟิลเตอร์ GND

ใช้ฟิลเตอร์ GND

ไม่ใช้ฟิลเตอร์ GND

ไม่ใช้ฟิลเตอร์ GND


เคล็ดลับ: คุณสามารถดูเอฟเฟ็กต์ของฟิลเตอร์ GND ได้ใน EVF หรือ Live View ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถปรับตำแหน่งของฟิลเตอร์ได้อย่างละเอียดหากจำเป็น

 

ฉาก 2: ภูเขาไฟฟูจิยามค่ำคืน

ภูเขาไฟฟูจิยามค่ำคืนที่มีแสงไฟจากท้องถนน

EOS R/ EF70-200mm f/4L IS II USM/ FL: 200 มม. (เทียบเท่า 360 มม.)/ Bulb exposure (f/7.1, 60 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ภาพภูเขาไฟฟูจิที่โผล่พ้นแสงไฟจากท้องถนน รวมทั้งรายละเอียดของเมฆในภาพนี้ ทำให้ผมนึกถึงภาพเขียนน้ำหมึกแบบโบราณ ผมถ่ายภาพนี้โดยใช้การโฟกัสพีคแบบแมนนวลและฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า

 

#3: โฟกัสพีค

เช่นเดียวกับในฉาก 1 ผมใช้ MF เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กล้องไล่หาจุดโฟกัสในขณะที่ผมรอให้เมฆก่อตัว ที่ระยะเกือบ 100 กม. จากภูเขาไฟฟูจิ การโฟกัสแบบแมนนวลอาจทำได้ยากหากไม่ใช่วันที่มีอากาศสดใส 

สำหรับการถ่ายภาพในเวลากลางคืน คุณก็สามารถใช้โฟกัสพีคได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ต้องการจับโฟกัสที่พื้นที่เล็กๆ จุดใดจุดหนึ่ง ในภาพนี้ ผมใช้โฟกัสพีคเพื่อให้แสงไฟจากท้องถนนอยู่ในโฟกัส หากแสงไฟบนถนนถูกเมฆบดบัง คุณสามารถโฟกัสไปที่ดวงดาวแทนได้

เคล็ดลับ: หากคุณไม่สามารถมองเห็นโฟกัสพีคได้ชัดเจน ให้ลองเปลี่ยนสีโฟกัสพีคดู ในภาพนี้ ผมตั้งค่าเป็นสีน้ำเงินเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้นตัดกับเมฆและแสงไฟที่มีสีโทนอุ่น

โฟกัสพีคสีน้ำเงิน

 

#4: ฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า

ภาพภูเขา ถ่ายด้วยฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า

1. ปกติ
2. ใช้ฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า

เมื่อตรวจดูภาพที่ได้ ผมรู้สึกว่าภาพน่าจะส่งผลต่ออารมณ์ได้มากกว่านี้หากครอปท้องฟ้าและโฟร์กราวด์ที่เกินมาออกไป กล้อง EOS R (และ EOS RP) มีฟังก์ชั่นครอปตัด 1.6 เท่า ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใกล้ฉากได้มากยิ่งขึ้นแม้จะใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวที่สุดอยู่แล้วในเลนส์ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณเข้าใกล้ฉากได้มากขึ้นในทันที แต่ผมยังชอบที่สามารถปรับองค์ประกอบภาพได้ทันทีเพื่อให้เหมาะกับภาพที่ครอปด้วย

ตำแหน่งของฟังก์ชั่นนี้: กดปุ่ม MENU > เมนู SHOOT1 > "อัตราส่วนภาพ/การครอปภาพ"

 

คุณสมบัติอื่นๆ ที่มีประโยชน์ของกล้อง


#5: ม่านป้องกันชัตเตอร์

เมื่อถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิ ผมจะพยายามถ่ายภาพให้หลากหลายและเห็นรายละเอียดในแบบต่างๆ นั่นหมายความว่าผมต้องคอยสลับใช้เลนส์มุมกว้างกับเลนส์เทเลโฟโต้บ่อยๆ ในขณะถ่ายภาพที่จุดเดิม  

สำหรับกล้อง EOS R นั้น ม่านชัตเตอร์จะเคลื่อนตัวลงมาโดยอัตโนมัติเมื่อปิดกล้อง ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปถึงเซนเซอร์เมื่อไม่ได้ติดตั้งเลนส์ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง เพราะผมมั่นใจได้ว่าเซนเซอร์ภาพจะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี


#6: จอสัมผัสแบบปรับหมุนได้

จอภาพแบบปรับหมุนได้ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องตั้งท่าถ่ายภาพในตำแหน่งที่เก้ๆ กังๆ เวลาถ่ายภาพจากมุมต่ำ เช่น ภาพที่มีเงาสะท้อนของภูเขาบนผิวน้ำ 

การที่สามารถใช้งานกล้องด้วยจอสัมผัสนี้ให้ความสะดวกสบายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพกลางแจ้งในเวลากลางคืน 

 

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพภูเขาและทิวทัศน์กว้างใหญ่ โปรดดูที่:
การถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิในฤดูหนาว: จุดถ่ายภาพและเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ
การถ่ายภาพทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่: ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?
วิธีการถ่ายภาพนี้: การเพิ่มความพิเศษให้กับภาพทิวทัศน์ในป่าอันกว้างใหญ่ 

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Makoto Hashimuki

เกิดเมื่อปี 1977 ที่จังหวัดชิซุโอกะ Hashimuki เริ่มถ่ายภาพหลังจากซื้อกล้องมิเรอร์เลสในปี 2012 ความงดงามของภูเขาไฟฟูจิสะกดใจเขา หลังจากนั้นเขาจึงซื้อกล้อง EOS 6D และเลนส์อื่นๆ ของ Canon เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพอย่างจริงจังยิ่งขึ้น ภาพภูเขาไฟฟูจิที่เขาถ่ายได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์มากมายในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งนิตยสารการถ่ายภาพและปฏิทิน

Instagram: @hashimuki

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา