การถ่ายภาพทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่: ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?
เมื่อถ่ายภาพในตอนเช้าตรู่ คำถามปกติที่เรามักได้ยินคือ เราจะถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดีกว่ากัน การใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของแสงแดดและอุณหภูมิ รวมถึงการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆช่วยให้คุณสามารถแสดงความรู้สึกผ่านทางภาพถ่ายได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าคุณจะเลือกถ่ายภาพในช่วงเวลาใด ในบทความนี้ ช่างภาพสองท่านจะมาแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพฉากต่างๆ ในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นให้ได้ทราบกัน (เรื่องโดย: Toshiki Nakanishi, Makoto Hashimuki)
หลังพระอาทิตย์ขึ้น: ถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น
EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 278 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/80 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Toshiki Nakanishi
Toshiki Nakanishi กล่าวว่า:
"Blue hour เป็นช่วงเวลาพิเศษก่อนพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับผมทุกครั้งที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในยามพระอาทิตย์ขึ้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพระอาทิตย์เริ่มลอยสูงขึ้นทำให้ปริมาณอากาศที่ไหลผ่านเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ฉากที่งดงามเปลี่ยนแปลงไปในทุกช่วงเวลา เมื่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณจึงจำเป็นต้องลงมือถ่ายภาพอย่างฉับไว เพราะฉากที่เร้าอารมณ์นี้อาจเกิดขึ้นและหายไปในทันที"
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสีสันที่สดใสในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นได้ที่:
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น: ใช้การถ่ายภาพโหมด Bulb เพื่อถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆที่งดงาม
7 นาที
EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 40 มม./ Manual exposure (f/10, 7 นาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Makoto Hashimuki
Makoto Hashimuki กล่าวว่า:
"ช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเป็นช่วงเวลาที่ตาของมนุษย์ไม่สามารถเก็บภาพสิ่งที่เห็นได้อย่างเต็มที่ แต่บนหน้าจอ LCD ของกล้องกลับเผยให้เห็นโลกแห่งสีสันอันน่าทึ่ง เมื่อใช้การเปิดรับแสงนาน คุณสามารถบันทึกภาพการเคลื่อนไหวของเมฆที่ลอยสูงบนท้องฟ้าและการเคลื่อนตัวของทะเลหมอก จนเกิดเป็นภาพถ่ายที่สวยงามและสามารถเปลี่ยนเป็นภาพที่มีบรรยากาศชวนฝันได้อย่างง่ายดาย และแม้ว่าคุณจะเลือกถ่ายภาพนิ่งก็สามารถทำให้ก้อนเมฆดูเหมือนกับกำลังเคลื่อนที่ได้"
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพก้อนเมฆที่กำลังเคลื่อนที่ได้ที่นี่:
การถ่ายภาพเมฆหมอกด้วยการเปิดรับแสง 60 วินาที
เคล็ดลับ: ลองใช้การถ่ายภาพโหมด Bulb เพื่อดูว่าคุณสามารถถ่ายทอดการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆได้อย่างไร
10 วินาที
EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 40 มม./ Manual exposure (f/14, 10 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Makoto Hashimuki
เคล็ดลับในการใช้การถ่ายภาพโหมด Bulb ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นคือ การจัดองค์ประกอบภาพโดยให้ก้อนเมฆที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณกึ่งกลางภาพ สิ่งสำคัญคือ ควรเข้าใจว่าระยะเวลาของความเร็วชัตเตอร์จะส่งผลต่อการถ่ายทอดก้อนเมฆ เพราะหากระยะเวลาการถ่ายภาพเกิดขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซึ่งเป็นช่วงที่มีปริมาณแสงน้อย การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นช่วงละหลายนาทีอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอารมณ์ที่แตกต่างกันกับการตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็นช่วงละ 10 วินาที
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดเมื่อปี 1977 ที่จังหวัดชิซุโอกะ Hashimuki เริ่มถ่ายภาพหลังจากซื้อกล้องมิเรอร์เลสในปี 2012 ความงดงามของภูเขาไฟฟูจิสะกดใจเขา หลังจากนั้นเขาจึงซื้อกล้อง EOS 6D และเลนส์อื่นๆ ของ Canon เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพอย่างจริงจังยิ่งขึ้น ภาพภูเขาไฟฟูจิที่เขาถ่ายได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์มากมายในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งนิตยสารการถ่ายภาพและปฏิทิน
Instagram: @hashimuki
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek