ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ทางรถไฟ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติเด่นของกล้องเพื่อการถ่ายภาพช่วงเวลาอันน่าประทับใจ

2014-05-16
1
5.27 k
ในบทความนี้:

ด้วยศักยภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องรวดเร็ว ฟังก์ชั่น AF ที่พัฒนาขึ้นใหม่ และคุณภาพภาพถ่ายสูง ช่างภาพมากมายจึงเลือกใช้กล้อง EOS 5D Mark III ถ่ายภาพทางรถไฟ บทความนี้จะบอกถึงเทคนิคพิเศษที่คุณสามารถทำได้ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki)

EF600mm f/4L USM/ Manual exposure (1/320 วินาที, f/18)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ผมถ่ายภาพระยะใกล้ของรถไฟขบวนนี้เพื่อสร้างผลทางความรู้สึกให้กับภาพ ความเบลอที่ระยะโฟร์กราวด์เกิดจากการจัดองค์ประกอบให้พุ่มไม้ด้านหน้าเข้าไปอยู่ในภาพด้วย ในขณะที่ภาพนี้เป็นฉากที่ใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติอาจไม่ให้ผลที่แม่นยำมากนัก แต่กับกล้อง EOS 5D Mark III แล้วกลับเป็นผลงานที่ทำได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

3 วิธีการถ่ายภาพทางรถไฟให้น่าประทับใจ

การจัดองค์ประกอบภาพ: เก็บภาพรูปทรง

ในการถ่ายภาพให้เกิดความรู้สึกประทับใจดังเช่นภาพตัวอย่างในบทความนี้ กุญแจสำคัญอยู่ที่การจัดองค์ประกอบภาพให้รูปทรงของรถไฟมีความสมดุลกัน สำหรับกล้อง DSLR รุ่นก่อนๆ ภาพลักษณะนี้จะต้องจับโฟกัสไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง สิ่งที่สำคัญกลับถูกละเลยไปจากองค์ประกอบภาพ ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III ตอนนี้ผมสามารถถ่ายภาพในขณะหันกล้องตามรถไฟไปได้แล้วโดยใช้การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงที่ประมาณ 6 ภาพต่อวินาทีกับโหมดโฟกัสแบบ AI Servo ในภาพที่ 1 ผมถ่ายด้านหน้าที่โค้งมนของรถไฟซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาพร้อมไฟส่องสว่างที่ด้านล่างของภาพ

แสง: ใช้แสงด้านหลังอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อใช้อย่างเหมาะสม แสงที่ส่องมาจากด้านหลังสามารถทำให้ภาพรถไฟเป็นภาพที่ดีได้ไม่ต่างจากงานโฆษณาเลยทีเดียว แสงย้อนนี้สามารถใช้เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ทาบไล้บนตัวรถไฟเพื่อสร้างเงาสะท้อนหรือส่วนไฮไลต์ต่างๆ นอกจากนี้ รถไฟสมัยใหม่ที่มีหัวท้ายมนก็เหมาะกับการถ่ายภาพมากกว่า เช่นเดียวกับในภาพด้านบนและด้านล่าง ทั้งนี้เพราะภายใต้สภาพย้อนแสง จะยังมีเงาสะท้อนจากส่วนหัวหรือท้ายของรถไฟ ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับภาพถ่าย ข้อดีของกล้อง EOS 5D Mark III ยังมีอีกหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องของการเกลี่ยแสงที่ทำได้ละเอียดมาก ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพแสงที่สาดส่องยามพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก และเรื่องของความไวแสง ISO สูงๆ ที่เอื้อต่อการถ่ายภาพรถไฟและรางรถไฟตอนกลางคืน

การตั้งค่า: ระบบ AF ที่เหนือกว่า

ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III ตัวนี้ คุณสามารถตั้งค่าไปที่โหมดโฟกัสแบบ AI Servo แล้วใช้การเลือก AF 61 จุด อัตโนมัติ, การขยายจุด AF หรือโซน AF เพื่อสร้างความประทับใจที่แตกต่างในฉากเดียวกันได้ นี่คือแนวคิดใหม่ที่พลิกโฉมสำหรับการถ่ายภาพแนวรถไฟเลยทีเดียว ในตัวอย่างเหล่านี้ ผมให้แสดงเส้นตารางภายในช่องมองภาพและกำหนดการโฟกัสอัตโนมัติไว้ที่ปุ่ม AF-ON นอกจากนั้น ในเมนูการตั้งค่าฟังก์ชั่น AF ด้วยตนเอง จะตั้งค่าทั้ง [ระบุค่า AI Servo ของภาพแรก] และ [ระบุค่า AI Servo ของภาพสอง] ไว้ที่ [ระบุค่าโฟกัส]

คุณสมบัติที่แนะนำของกล้อง EOS 5D Mark III

เครื่องมือปรับแต่ง AF

ผมเลือกคุณสมบัติของ AI Servo AF [Case 3] ตั้งค่า “ความไวติดตาม” ไว้ที่ [+2] เพื่อการตอบสนองที่ดีกว่า ในขณะที่ “เพิ่ม/ลดความไวติดตาม” ตั้งค่าไว้ที่ [0] เพราะรถไฟจะไม่เปลี่ยนแปลงความเร็วกะทันหัน ส่วนการตั้งค่า “เปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติ” ผมเลือก [1] หรือ [0] แล้วแต่ความเร็วของรถไฟ

เลนส์ที่แนะนำ

EF70-200mm f/2.8L IS II USM

จุด AF แบบบวกคู่จะสามารถใช้ได้เฉพาะตอนที่ใส่เลนส์อยู่กับกล้องเท่านั้น แม้ในขณะที่ใส่ Extender EF 1.4x III ก็สามารถใช้งานทั้ง AF 61 จุด และจุด AF แบบบวก f/4 และ f/5.6 ได้

EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 142 มม./ Manual exposure (2.5 วินาที, f/5.6)/ ISO 3200/ WB: แสงแดด/ การถ่ายภาพซ้อน: [เติมแต่ง]

ซากุระและดอกไม้นานาพรรณกำลังบานสะพรั่งตามสองข้างทางรถไฟ ผมไม่เคยเจอฉากที่สมบูรณ์แบบอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ผมใช้การถ่ายภาพซ้อนแบบ [เติมแต่ง] เพื่อทำให้พระจันทร์ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าดูเด่นขึ้น

EF70-200mm f/2.8L IS II USM + EXTENDER EF1.4×II/ FL: 280 มม./ Manual exposure (1/30 วินาที, f/4)/ ISO 200/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์ ND

ภาพถ่ายแบบแพนกล้องของรถไฟชินกันเซ็นที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่ในอีกด้านหนึ่งของดอกซากุระ สีชมพูในภาพนี้เกิดจากการทำให้ดอกซากุระเบลอ โดยใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่และสวยงามในระยะโฟร์กราวด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะของกล้อง DSLR ฟูลเฟรม นอกจากนั้นผมยังตั้งค่าให้เปิดรับแสงโอเวอร์เล็กน้อยเพื่อสื่อถึงความรู้สึกอ่อนโยนและอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิเอาไว้

Yuya Yamasaki

เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ “Railman Photo Office” ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา