ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ประวัติที่แทบไม่มีใครรู้ของเลนส์ซูม f/2.8L และ f/4L ของ Canon

2018-07-05
2
3.73 k
ในบทความนี้:

เมื่อไม่นานมานี้ คนทั่วไปมักเชื่อกันว่าไม่มีเลนส์ชนิดใดที่มีประสิทธิภาพเหนือเลนส์เดี่ยวในด้านคุณภาพของภาพถ่าย เลนส์ซูม f/2.8L และ f/4L รุ่นแรกของ Canon คือเลนส์ตัวแรกๆ ของโลกที่เปลี่ยนแนวคิดนี้ไปโดยสิ้นเชิงเมื่อออกวางจำหน่ายในปี 1989 นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Canon จะมาเล่าให้เราฟังเพิ่มเติมถึงกระบวนการพัฒนาเลนส์ที่พลิกโฉมวงการเหล่านี้ เนื่องในโอกาสที่ EF70-200mm f/2.8L IS III USM และ EF70-200mm f/4L IS II USM เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในตระกูลเลนส์ชื่อดังนี้

เลนส์ซูม f/2.8L และ f/4L ของ Canon

 

เลนส์ซูม f/2.8 ตัวแรกในซีรีย์ L: พิสูจน์แล้วว่าเลนส์ซูมใช้งานได้ดีเทียบเท่าเลนส์เดี่ยว

- Canon เริ่มต้นพัฒนาเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ครั้งแรกเมื่อใด

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: เลนส์ซูมที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ระดับมืออาชีพสามรุ่นแรกในเลนส์ซีรีย์ EF คือ EF20-35mm f/2.8L, EF28-80mm f/2.8-4L USM และ EF80-200mm f/2.8 เลนส์ทั้งหมดนี้ออกวางจำหน่ายในปี 1989 พร้อมกับกล้อง EOS-1 ซึ่งเป็นกล้อง AF SLR ที่ดีที่สุดของ Canon ในขณะนั้น นับเป็นครั้งแรกที่ Canon มีเลนส์ซูมระดับมืออาชีพ f/2.8 สามรุ่นในกลุ่มผลิตภัณฑ์เลนส์

ในขณะนั้น เนื่องจากเลนส์เดี่ยวคือตัวเลือกสำหรับช่างภาพมืออาชีพที่ต้องการความสว่าง (รูรับแสงกว้าง) และภาพถ่ายคุณภาพสูง นักออกแบบเลนส์ของ Canon จึงใฝ่ฝันที่จะสร้างเลนส์ซูมแบบเมาท์ EF ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเลนส์เดี่ยว เมื่อเราเปิดตัว FD35-70mm f/2.8-3.5 S.S.C. ในปี 1973 เลนส์ได้รับความนิยมอย่างมาก และเราได้รับเสียงเรียกร้องมากมายให้ผลิตเลนส์ซูมคุณภาพระดับมืออาชีพที่มีรูรับแสงกว้างมากขึ้น 

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในที่สุดเราก็สามารถผลิตเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงกว้างและให้คุณภาพของภาพถ่ายเทียบเท่ากับเลนส์เดี่ยวได้ เลนส์เหล่านี้คือเลนส์ซูม EF ซีรีย์ L สามรุ่นแรกดังที่กล่าวข้างต้นนี้เอง เลนส์ดังกล่าวนี้ใช้งานได้ดีมากจนแม้แต่ช่างภาพมืออาชีพที่ชอบใช้เลนส์เดี่ยวยังเริ่มหันมาใช้เลนส์ซูมเหล่านี้เช่นกัน

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: Kengo Ietsuka

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: Kengo Ietsuka

ปัจจุบันเรื่องนี้อาจดูไม่สำคัญนักเพราะผู้ผลิตทุกรายกำลังผลิตเลนส์ซูม f/2.8 แต่หากย้อนไปในช่วงเวลานั้น ถือได้เป็นการปฏิวัติวงการทีเดียว เพราะไม่มีใครเคยคิดที่จะผลิตเลนส์ซูมมุมกว้าง มาตรฐาน และเทเลโฟโต้ ที่มีรูรับแสงกว้างขนาดนั้นออกมาวางจำหน่าย นักออกแบบเลนส์ต้องการเดินหน้าสู่ยุคใหม่โดยทดลองสิ่งใหม่และท้าทายดูบ้าง ซึ่งหากไม่ใช่แนวคิดนี้ล่ะก็ บางทีเลนส์ซูมซีรีย์ L ที่มีรูรับแสงกว้างของ Canon อาจจะไม่ได้แรงสนับสนุนมากมายจากผู้ใช้หรือพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างทุกวันนี้

 

1973
เลนส์ซูมรุ่นแรกที่มีรูรับแสงกว้างและคุณภาพระดับมืออาชีพ: FD35-70mm f/2.8-3.5 S.S.C.

FD35-70mm f/2.8-3.5

เลนส์นี้ยังเป็นเลนส์ซูมรูรับแสงกว้างตัวแรกที่ให้คุณภาพของภาพถ่ายทัดเทียมกับเลนส์เดี่ยว และยังมีเลนส์ซูมที่มีทางยาวโฟกัสที่สั้นอีกมากที่ดำเนินรอยตามแนวคิดนี้

 

1987
เปิดตัวระบบ EOS

EOS 650,EOS 620

กล้อง EOS 650 และ 620 ซึ่งเปิดตัวในปี 1987 เป็นกล้องรุ่นแรกๆ ที่มีระบบเมาท์ EF อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ

คลิกที่นี่เพื่ออ่าน:
กำเนิดเมาท์เลนส์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ
EOS 650 คือกล้อง EOS รุ่นแรก

 

1989
เลนส์ซูม f/2.8L รุ่นแรก

EOS-1,EF 20-35mm f/2.8L,EF 28-80mm f/2.8-4L USM,EF80-200mm f/2.8L

เลนส์รุ่นบุกเบิกสามตัวแรกในซีรีย์เลนส์ f/2.8L ที่เปิดตัวพร้อมกล้อง EOS-1 ตัวแรกให้คุณภาพของภาพถ่ายระดับสูงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเลนส์ซีรีย์ L สำหรับช่างภาพมืออาชีพ
- EF20-35mm f/2.8L
- EF28-80mm f/2.8-4L USM
- EF80-200mm f/2.8L

 

USM: สร้างระบบ AF ในเลนส์ที่เหมาะสำหรับมืออาชีพ

- ช่วยเล่าให้เราฟังเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ซูม f/2.8L รุ่นแรกหน่อยครับ

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: EF17-35mm f/2.8L USM, EF28-70mm f/2.8L USM และ EF70-200mm f/2.8L USM ออกสู่ตลาดในฐานะทายาทของเลนส์ซูมรูรับแสงกว้างสามรุ่นที่เปิดตัวในปี 1989 เลนส์ทั้งหมดเป็นเลนส์ที่มีรูรับแสงคงที่ที่ f/2.8 ในทุกระยะการซูม ช่างภาพจะได้ทางยาวโฟกัสตั้งแต่มุมกว้างไปจนถึงระยะเทเลโฟโต้ เพียงพกแค่เลนส์สามรุ่นนี้ติดตัวไปตามสถานที่ถ่ายภาพต่างๆ ซึ่งสะดวกมากๆ นอกจากนี้ เลนส์ทั้งหมดยังใช้มอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) ที่ทำให้จับ AF ได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้น เลนส์เทเลโฟโต้ทั้งหมดในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ EF70-200mm f/2.8L USM สามารถใช้ร่วมกับท่อต่อเลนส์ 1.4 เท่า และ 2 เท่าได้

ฝ่ายออกแบบอิเล็กทรอนิกส์: ในขณะนั้น วิธีการที่ใช้กันทั่วไปคือ ใช้มอเตอร์ภายในตัวกล้องขับเคลื่อนเลนส์โฟกัส แต่ Canon ได้พัฒนาวิธีของตัวเองโดยใช้ระบบขับเคลื่อนภายในตัวเลนส์ ขณะนี้ เราได้วางระบบขับเคลื่อนให้เหมาะสมที่สุดสำหรับเลนส์แต่ละตัว ทำให้ได้ AF ที่รวดเร็ว แม่นยำ และเงียบเชียบเหนือคู่แข่งของ Canon นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงรูปทรงและกลไกการควบคุมของ USM ชนิดวงแหวนเพื่อให้เหมาะสำหรับเลนส์มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานดียิ่งขึ้นด้วย

ฝ่ายออกแบบอิเล็กทรอนิกส์: Koji Okada

ฝ่ายออกแบบอิเล็กทรอนิกส์: Koji Okada

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: เลนส์รุ่นแรกที่มี USM คือ EF300mm f/2.8L USM ซึ่งเป็นเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่วางจำหน่ายในปี 1987 ปีเดียวกับที่ระบบ EOS เปิดตัวเป็นครั้งแรก เลนส์ตัวนี้ได้รับเสียงชื่นชมอย่างสูง เนื่องจากสามารถโฟกัสอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมาก แม้ว่าจะมีระยะชัดลึกที่ตื้นมากเพียง 300 มม. หลังจากนั้นมีการนำเทคโนโลยี USM มาใช้ในซีรีย์เลนส์ซูม f/2.8L ส่วนเรื่องที่เหลือก็เป็นอย่างที่รู้กันดี

 

1987
การใช้งาน USM ครั้งแรกของโลก

Ring USM

Canon เป็นรายแรกในโลกที่ใช้ USM ขับเคลื่อน AF ในเลนส์ได้เป็นผลสำเร็จ USM ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงสั่นสะเทือนของคลื่นอัลตร้าโซนิค แทบเรียกได้ว่าเป็นมอเตอร์ขับเคลื่อน AF ที่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากทำงานได้เงียบสนิท ใช้พลังงานต่ำ ตอบสนองเมื่อเริ่มและหยุดทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม และควบคุมได้ง่ายมาก

 

เลนส์ L ซูเปอร์เทเลโฟโต้ตัวแรกของโลกที่มาพร้อมกับ USM: EF300mm f/2.8L USM

EF300mm f/2.8L USM

ประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่สูง การใช้ระบบโฟกัสภายใน และ USM ชนิดวงแหวนในเลนส์รุ่นนี้ช่วยให้เลนส์ได้ AF ที่รวดเร็วและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้รูรับแสงกว้างที่ได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดในโลกรุ่นหนึ่ง

 

ยุคดิจิตอล: ตอบสนองความต้องการประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่สูงขึ้น

- ช่วยเล่าให้เราฟังถึงตอนที่ยุคดิจิตอลเกิดขึ้นได้ไหมครับ

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ในยุคดิจิตอล เรามีโอกาสพิมพ์และใช้ภาพถ่ายที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ดังนั้น นักพัฒนาจึงต้องออกแบบเลนส์ที่มีประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่สูงขึ้นกว่าที่เคย

ฝ่ายออกแบบออพติค: สำหรับเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่ ส่วนที่ท้าทายที่สุดของการออกแบบด้านออพติคอลคือ การแก้ไขความคลาดทรงกลมที่สุดฝั่งเทเลโฟโต้ ภาพบิดเป็นเส้นโค้งที่สุดฝั่งมุมกว้าง และความคลาดสีจากสุดฝั่งมุมกว้างจนถึงสุดฝั่งเทเลโฟโต้ การเลือกวัสดุแก้วและเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในขณะนั้น ซอฟต์แวร์จำลองยังไม่ก้าวหน้ามากนัก การพัฒนาเลนส์จึงนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าเลนส์ของเรามีประสิทธิภาพสมดุลสมกับที่เป็นผลิตภัณฑ์รุ่นเรือธง เราจึงต้องสร้างต้นแบบ ทดสอบ และทำกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีกครั้งจนกว่าผลที่ออกมาจะน่าพอใจ

ฝ่ายออกแบบออพติค: Hiroshi Endo

ฝ่ายออกแบบออพติค: Hiroshi Endo

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: ความละเอียดของภาพในกล้องที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่าต้องมีความแม่นยำในการโฟกัสสูงขึ้นด้วย ดังนั้น เราจึงต้องปรับปรุงระบบขับเคลื่อนโฟกัส เพื่อให้มั่นใจว่าประสิทธิภาพจะไม่ลดลง เราต้องศึกษาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นแยกกัน นอกจากนี้ เรายังพัฒนาวิธีการปรับให้มีความแม่นยำ เพื่อให้สามารถปรับค่าความเบี่ยงเบนการเอียงและคู่ขนานสำหรับแต่ละกลุ่มเลนส์ในแบบดิจิตอลได้

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: Shigeki Sato

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: Shigeki Sato

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: เมื่อมีการเปลี่ยนจากกล้องอะนาล็อกเป็นกล้องดิจิตอล SLR เราตัดสินใจว่าเราต้องการให้เลนส์ L มีประสิทธิภาพด้านออพติคอลที่สูงยิ่งขึ้น

 

สุดฝั่งมุมกว้าง 24 มม. ในเลนส์ซูมมาตรฐาน

- อะไรคือความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ช่วยให้คุณได้สุดฝั่งมุมกว้างที่ 24 มม. ในเลนส์ซูมมาตรฐาน

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: เราได้มุมกว้างขึ้นที่สุดฝั่งมุมกว้างด้วยการนำกลไกโฟกัสภายในที่เชื่อมโยงกับการซูมมาใช้ ก่อนหน้านี้ ปริมาณข้อมูลโฟกัสจากระยะอนันต์จนถึงระยะใกล้จะต้องคงที่ตลอดทั้งช่วงทางยาวโฟกัส แต่กลไกการโฟกัสปัจจุบันคือกลไกนวัตกรรมซึ่งทำให้การออกแบบออพติคเป็นอิสระจากข้อจำกัดนี้

ฝ่ายออกแบบออพติค: กลไกก่อนหน้านี้จะเลื่อนชิ้นเลนส์ที่อยู่ด้านหน้าสุด ขณะที่กลไกใหม่สามารถใช้ระบบการโฟกัสด้านหลังหรือการโฟกัสภายใน ซึ่งทำให้เราได้มุมที่กว้างขึ้นในระยะสุดฝั่งมุมกว้าง พร้อมกับยังคงขนาดโดยรวมไว้ได้ กลไกเดียวกันนี้ได้นำมาใช้ใน EF24-105mm f/4L IS USM ซึ่งออกวางจำหน่ายในภายหลัง นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า เพราะเหตุใดเราจึงสามารถผลิตเลนส์ซูมกำลังขยายสูง ("ซูเปอร์ซูม") ที่มีระยะสุดฝั่งมุมกว้างที่กว้างถึง 24 มม.

ฝ่ายออกแบบออพติค: Hiroshi Endo

ฝ่ายออกแบบออพติค: Hiroshi Endo

ฝ่ายออกแบบอิเล็กทรอนิกส์: เลนส์ในซีรีย์ EF70-200mm f/2.8L ใช้กลไกนี้เช่นกัน ซึ่งทำให้เลนส์โฟกัสมีขนาดเล็กลง โดยไม่เพียงทำให้สามารถขับเคลื่อน AF ความเร็วสูงได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสามารถผลิตเลนส์เทเลโฟโต้ที่มีขนาดกะทัดรัดยิ่งขึ้นด้วย 

 

เลนส์ซูเปอร์ซูมตัวแรกที่ใช้กลไกการโฟกัสภายในที่เชื่อมโยงกับการซูม: EF35-135mm f/4-5.6 USM

EF35-135mm f/4-5.6 USM

เลนส์ที่เปิดตัวในปี 1990 นี้เป็นเลนส์ซูเปอร์ซูมตัวแรกของ Canon ที่ใช้ระบบการโฟกัสภายใน ซึ่งกลายเป็นคุณสมบัติสำคัญของเลนส์ซูม เลนส์รุ่นนี้กลายเป็นแบบอย่างสำหรับเลนส์ซูม EF ในอีกหลายกลุ่มตามมา

 

แผนภาพของเลนส์ EF28-70mm f/2.8L USM

เลนส์ EF28-70mm f/2.8L USM
แผนภาพของเลนส์ EF28-70mm f/2.8L USM (ระบบการโฟกัสภายใน)

การโฟกัสภายในด้วยชิ้นเลนส์ด้านหน้าสุด

 

แผนภาพของเลนส์ EF24-70mm f/2.8L USM

เลนส์ EF28-70mm f/2.8L USM
แผนภาพของเลนส์ EF24-70mm f/2.8L USM (ระบบการโฟกัสภายในที่เชื่อมโยงกับการซูม)

กลไกการโฟกัสภายในที่เชื่อมโยงกับการซูม

 

ตัวกล้องที่แข็งแกร่งทนทานกว่าที่เคย เพื่อรองรับความถี่ในการใช้งานที่สูงขึ้น

- ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา มีการปรับปรุงมากมายในด้านความทนทาน คุณช่วยเล่าให้เราฟังหน่อยสิครับ

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ในยุคดิจิตอลนี้ ผู้คนถ่ายภาพกันมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสื่อมวลชน แนวโน้มการใช้งานดังกล่าวต้องการความแข็งแกร่งและทนทานในระดับที่สูงขึ้น ภายใต้สภาพการใช้งานปกติมักมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง อย่างไรก็ดี ในการถ่ายภาพด้านสื่อสารมวลชนและงานข่าวมักใช้กล้องและเลนส์ในสภาพแวดล้อมที่สมบุกสมบันอย่างมาก เราจึงยกเครื่องโครงสร้างทางกลไกทั้งหมดตั้งแต่ต้นเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและทนทาน

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: ตัวอย่างเช่น วงแหวนซูม ซึ่งเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่ใช้งานบ่อยที่สุดจะถูกเชื่อมโยงเชิงกลไกเข้ากับโครงสร้างภายใน ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2000 เราใช้ตลับลูกปืนในส่วนของการเชื่อมต่อ และได้ปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ ยิ่งโครงสร้างภายในซับซ้อนมากขึ้นเท่าใด เลนส์จะยิ่งใช้งานได้ยากขึ้นเท่านั้น ในยุคดิจิตอล เราจึงจำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างความง่ายในการใช้งานกับความเชื่อถือได้ ดังนั้น เราจึงพิจารณาถึงเรื่องนี้จากขั้นตอนการออกแบบออพติคอล และได้ลองผิดลองถูกซ้ำหลายครั้ง

ในส่วนของการทำให้โครงสร้างกันฝุ่นและหยดน้ำได้นั้น แค่เพิ่มการซีลป้องกันละอองน้ำและฝุ่นยังไม่เพียงพอ เพราะเลนส์จะให้ความรู้สึกหนักเมื่อใช้งาน ดังนั้น เราต้องคำนึงถึงเส้นทางไหลของอากาศ และยังต้องหาวิธีทำให้สมดุลกับคุณสมบัติป้องกันหยดน้ำ พร้อมกับต้องมั่นใจว่ารูปลักษณ์ภายนอกของเลนส์จะไม่ได้รับผลกระทบอีกด้วย

ฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต: Kenichi Okushima

ฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต: Kenichi Okushima

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ความทนทานที่ดียิ่งขึ้นทำให้ผู้ใช้ระดับมืออาชีพพึงพอใจมากกว่าเดิม สเปคที่มืออาชีพต้องการจริงๆ คือสิ่งที่คุณอาจมองไม่เห็น แต่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาเมื่อคุณถ่ายภาพในสภาวะที่ไม่สามารถถ่ายใหม่ได้

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: ตัวอย่างเช่น เลนส์เทเลโฟโต้ 70-200 มม. มักใช้ในการถ่ายภาพกีฬา ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่ต้องการให้เกิดการทำงานผิดปกติจนไม่สามารถจับภาพวินาทีสำคัญได้ EF70-200mm f/2.8L IS II USM ซึ่งเปิดตัวในปี 2010 และเลนส์รุ่นทายาทที่เปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ [EF70-200mm f/2.8L IS III USM] มีความแข็งแกร่งทนทานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ฝ่ายออกแบบด้านกลศาสตร์: Shigeki Sato

ฝ่ายออกแบบด้านกลศาสตร์: Shigeki Sato

 

เทคโนโลยีสำหรับการผลิตปริมาณมากและแม่นยำสูง

- ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับว่าเทคโนโลยีความคลาดทรงกลมสำหรับเลนส์มุมกว้างได้พัฒนาไปอย่างไรบ้าง

ฝ่ายออกแบบออพติค: เมื่อการถ่ายภาพกลายเป็นระบบดิจิตอลแล้วในขณะนี้ หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญคือการแก้ไขคุณภาพของภาพถ่ายบริเวณขอบภาพและการแก้ไขความคลาดสีริมขอบวัตถุ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เทคโนโลยีเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เป็นพิเศษ Canon มีเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมมากมาย อาทิ ผิวแก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียร เลนส์จำลอง การขึ้นรูปด้วยแก้ว (GMo) ฯลฯ ซึ่งเราใช้งานตามความเหมาะสม ใน EF16-35mm f/2.8L III USM เราได้นำชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบผิวสองชั้นมาใช้ในเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งทำให้ความคลาดดีขึ้นมาก

ฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต: จุดแข็งของ Canon อยู่ที่ความสามารถในการผลิตเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบขึ้นรูปด้วยแก้วที่มีรูรับแสงกว้างในปริมาณมาก ซึ่งคุณต้องมีความแม่นยำสูงอย่างยิ่ง EF16-35mm f/2.8L III USM ใช้เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมขนาดใหญ่มาก พร้อมเส้นผ่านศูนย์กลาง 62.5 มม. ในการผลิตเลนส์นี้ในปริมาณมาก เราจึงใช้เทคโนโลยีการตรวจวัดและขัดผิวที่ใช้ในอุปกรณ์สร้างลายวงจรด้วยแสง (Photolithographic equipment) สำหรับการผลิตสารกึ่งตัวนำ ซึ่งต้องใช้ความแม่นยำมากกว่าเลนส์สำหรับกล้องสำหรับผู้บริโภค เมื่อนำมาใช้ในพื้นผิวแก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียร เทคโนโลยีเหล่านี้จึงมีความแม่นยำมากกว่าวิธีเดิมถึง 2.5 เท่า นอกจากนี้ เรายังปรับปรุงกระบวนการหล่อให้มีความแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

แม่พิมพ์เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบ GMo ที่แม่นยำสูง

แม่พิมพ์เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบ GMo ที่แม่นยำสูง

 

- ช่วยอธิบายเกี่ยวกับออพติคของเลนส์เทเลโฟโต้หน่อยครับ

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ในเลนส์เทเลโฟโต้ ปัญหาสำคัญคือความคลาดสี เราแก้ไขปัญหานี้โดยใช้แก้วที่มีการกระจายต่ำ เช่น เลนส์ UD เรายังใช้ฟลูออไรต์มาตั้งแต่รุ่น EF70-200mm f/2.8L IS II USM ซึ่งได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกมากมาย ใน EF70-200mm f/2.8L IS III USM เราใช้เทคโนโลยีการเคลือบใหม่ล่าสุดคือ Air Sphere Coating (ASC) เพื่อตอบสนองเสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงแสงแฟลร์ให้ดีขึ้น นั่นทำให้ผลิตภัณฑ์แทบจะสมบูรณ์แบบทีเดียว

ฝ่ายออกแบบออพติค: แค็ตตาล็อกผลิตภัณฑ์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้มากนัก แต่เราใช้วัสดุเลนส์ชนิดใหม่ที่เรียกว่า "แก้ว High-index" ซึ่งมีดัชนีการหักเหแสงสูง เพื่อช่วยลดความคลาดสี ภาพบิดเป็นเส้นโค้ง และความคลาดที่ขอบภาพ แก้วชนิดใหม่มีการนำมาใช้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในเบื้องต้น เราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของออพติคของเลนส์เทเลโฟโต้ แต่สำหรับนักออกแบบออพติค เรื่องนี้สำคัญมาก ตอนนี้เราสามารถใช้แก้วที่เราเคยได้แต่ฝันถึงได้แล้ว และนี่ก็เพิ่มความไปได้ในการออกแบบเลนส์มากขึ้น

ฝ่ายประมวลผลเลนส์: เลนส์ UD บอบบางและใช้งานยากมาก หลังจากทำการวิจัยมาหลายปี เมื่อสิบปีที่แล้ว Canon สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทำให้การผลิตเลนส์ UD ปริมาณมากเป็นแบบอัตโนมัติได้ในที่สุด จึงทำให้เราสามารถผลิตเลนส์ที่มีคุณภาพคงที่ได้ นอกจากนี้ การมีเครื่องจักรที่แม่นยำสูงยังทำให้เราสามารถใช้แก้ว High-index ดังที่กล่าวข้างต้นได้ด้วย

เลนส์ UD

เลนส์ UD

 

เปลี่ยนงานฝีมือเป็นดิจิตอล

- โรงงานผลิตมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเมื่อปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิตอล

ฝ่ายประมวลผลเลนส์: ในยุคดิจิตอล ความต้องการของตลาดมีมากขึ้นและการผลิตปริมาณมากกลายเป็นสิ่งจำเป็น ความต้องการชิ้นเลนส์แก้วแม่นยำสูงจึงเพิ่มขึ้นจากเพียงไม่กี่ชิ้นเป็นหลายร้อยชิ้นต่อวัน ดังนั้น เราจึงเริ่มปรับงานที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือให้เป็นมาตรฐาน (เป็นระบบดิจิตอล) ให้มากที่สุด ในขณะเดียวกัน เรายังสนับสนุนให้ปรับเครื่องมือให้ได้มาตรฐาน และนำเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการและอุปกรณ์ประเมินใหม่ๆ มาใช้อย่างแข็งขัน ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถผลิตผิวเลนส์ในปริมาณมากที่มีคุณภาพคงที่และความแม่นยำสูงมากได้เป็นผลสำเร็จ

ฝ่ายประมวลผลเลนส์: Hisakazu Nakamitsu

ฝ่ายประมวลผลเลนส์: Hisakazu Nakamitsu

ที่โรงงานในอุสึโนะมิยะ เราประสบความสำเร็จในการทำให้ขั้นตอนในกระบวนการผลิตที่จำเป็นสำหรับการจัดหาชิ้นเลนส์คุณภาพสูงและคงที่เป็นอัตโนมัติได้แทบทั้งหมด อย่างไรก็ดี บางกระบวนการ เช่น การขัดและปรับรูปทรงชิ้นส่วนเลนส์บางชิ้นให้มีความแม่นยำจำเป็นต้องใช้ทักษะฝีมือของมนุษย์และยากที่จะทำให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ ดังนั้น เราจึงยังคงใช้ทักษะฝีมือในกระบวนการเหล่านั้น และพยายามทำให้แน่ใจว่าทักษะเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป

Engineer inspecting lens

 

ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทีมออกแบบกับทีมวิศวกรรมการผลิต

- เลนส์ได้รับการออกแบบและเคลื่อนเข้าสู่สายการผลิตได้อย่างไร

ฝ่ายออกแบบออพติค: เราใช้ซอฟต์แวร์จำลองออพติคในบริษัท Canon ซึ่งช่วยให้เราสามารถออกแบบเลนส์ที่มีสเปคใหม่ๆ ได้ ก่อนที่จะผลิตรุ่นต้นแบบ เราได้จำลองวัสดุต่างๆ บนซอฟต์แวร์ และใช้วัสดุนั้นทดสอบความแข็งแรงของเลนส์ในแง่ของความต้านทานแรงกระแทก จากนั้นตรวจสอบว่าวัสดุเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพด้านออพติคอลอย่างไรบ้าง เทคโนโลยีการจำลองจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีกำลังการประมวลผลที่ยอดเยี่ยม

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ซอฟต์แวร์ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งการซูม ตำแหน่งของโฟกัส และค่ารูรับแสงส่งผลต่อแสงแฟลร์และแสงหลอกหรือไม่ เราจึงสามารถออกแบบเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ อีกทั้งโรงงานผลิตยังพยายามตอบสนองด้วยการดำเนินการผลิตที่แม่นยำ

นักพัฒนาในระหว่างการสัมภาษณ์

ฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต: ทีมออกแบบและทีมวิศวกรรมการผลิตประชุมกันบ่อยครั้ง ตั้งแต่ในขั้นแรกๆ ของการวางแผนผลิตภัณฑ์ เราพูดคุยกันถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ ความท้าทายด้านเทคนิคที่เราอาจต้องพบ ความยากง่ายที่จะนำชิ้นส่วนต่างๆ ไปผ่านกระบวนการและประกอบ ตลอดจนความเป็นไปได้ของการใช้ระบบอัตโนมัติ การปรึกษาหารือกันเช่นนี้ทำให้เราสามารถพิจารณาทั้งมุมมองด้านการออกแบบและวิศวกรรมเมื่อเราเตรียมการผลิตปริมาณมาก

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเกิดขึ้นได้เนื่องจากแผนกออกแบบและโรงงานอยู่ในระดับเดียวกันในลำดับชั้นขององค์กร ซึ่งโครงสร้างนี้มีมาตั้งแต่ปี 2000

 

ห้องปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาและโรงงานผลิตทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาก

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีออพติคอล

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีออพติคอล

โรงงานที่อุสึโนะมิยะ

โรงงานที่อุสึโนะมิยะ

 

เกี่ยวกับนักพัฒนา

ทีมพัฒนาเลนส์และวิศวกรการผลิต

(จากซ้ายมือ)

ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์: Kengo Ietsuka
Ietsuka เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวางแผนผลิตภัณฑ์สำหรับเลนส์ซีรีย์ EF เขาดูแลด้านการผลิตออกจำหน่ายและการพัฒนาประสิทธิภาพเลนส์ EF รวมถึงเลนส์ซูม f/2.8L และ f/4L

ฝ่ายออกแบบออพติค: Hiroshi Endo
Endo มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ EOS ในส่วนของการออกแบบออพติคนับตั้งแต่เปิดตัวระบบ เขาดูแลด้านการพัฒนาและการออกแบบเลนส์แก้ความคาดทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญของเลนส์ซูมซีรีย์ L ที่มีรูรับแสงกว้าง นับตั้งแต่เขาเริ่มทำงานที่ Canon

ฝ่ายออกแบบเชิงกลไก: Shigeki Sato
Sato เป็นผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบเชิงกลไกของเลนส์ EF ตั้งแต่เขาเริ่มทำงานที่ Canon เขามีส่วนช่วยรังสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและปรับปรุงความเชื่อถือได้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างรวดเร็วในปี 2000

ฝ่ายออกแบบอิเล็กทรอนิกส์: Koji Okada
Okada รับผิดชอบชุดการทำงานระบบ IS เป็นหลัก เขามีหน้าที่ดูแลให้กล้อง EOS และเลนส์ EF ทำงานสอดรับกันเป็นอย่างดี และปัจจุบันเขายังกำกับดูแลกลไกระบบของส่วนประกอบที่เข้ากันได้ ซึ่งจะส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับเลนส์

ฝ่ายประมวลผลเลนส์: Hisakazu Nakamitsu
Nakamitsu ดูแลตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมของฝ่ายการผลิตทั้งหมด รวมถึงการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถจัดหาเลนส์ระดับมืออาชีพที่มีคุณภาพสูงได้อย่างต่อเนื่อง

ฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต: Kenichi Okushima
Okushima รับผิดชอบด้านการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับการผลิตปริมาณมาก ฝ่ายของเขามีส่วนร่วมในการทำให้แน่ใจว่าเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่เกิดจากการเจียรจะมีความแม่นยำสูง สนับสนุนระบบอัตโนมัติในการประมวลผลเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่แม่นยำสูง และยังทำงานร่วมกับแผนกออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

เราทำการสัมภาษณ์นี้เนื่องในโอกาสเปิดตัวเลนส์ EF70-200mm L รุ่นใหม่ของ Canon คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
Canon เผยโฉม EF70-200mm f/2.8L IS III USM
Canon เปิดตัว EF70-200mm f/4L IS II USM

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา