ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์

2019-12-04
1
1.24 k
ในบทความนี้:

ฮอกไกโดในฤดูหนาวนั้นเป็นเหมือนขุมทรัพย์ที่เต็มไปด้วยตัวแบบสำหรับการถ่ายภาพ แม้ว่าคุณต้องการเพียงแค่ถ่ายภาพทิวทัศน์ในฤดูหนาว แต่ก็มีฉากปรากฏการณ์เปี่ยมมนต์ขลังอันน่าตื่นตาตื่นใจมากมายให้คุณเลือก ซึ่งเกิดขึ้นในสภาพอากาศหนาวจัดเท่านั้น รวมถึงเสาแสงอาทิตย์ด้วย ช่างภาพทิวทัศน์คนหนึ่งจะมาแบ่งปันเคล็ดลับในการถ่ายภาพเสาแสงเหล่านี้ โดยใช้ภาพตัวอย่างที่ถ่ายจากภูมิภาคบิเอะ-ฟุราโนะในฮอกไกโด (เรื่องโดย Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

เสาแสงอาทิตย์หลังต้นไม้สีขาว

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 188 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ถ่ายเมื่อวันที่ 13 มกราคม เวลา 8:00 น.

ในภาพนี้ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าแสงอาทิตย์ส่องมาถึงต้นไม้ที่อยู่ในโฟร์กราวด์ เพื่อให้น้ำค้างแข็งบนต้นไม้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นสีขาวที่มีประกายระยิบระยับ

สภาพการถ่าย

กล้อง: DSLR (EOS 5D Mark IV)
เลนส์: เลนส์เทเลโฟโต้ (EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM)
ค่ารูรับแสง: f/4 หรือแคบกว่า
ความเร็วชัตเตอร์: ปานกลาง (ระหว่าง 1/30 ถึง 1/250 วินาที)
ช่วงเวลาของวัน: เวลาเช้า
การจัดแสง: แสงย้อนจากด้านหลัง
ขาตั้งกล้อง: ใช้
ฟิลเตอร์เลนส์: ไม่ใช้
อุปกรณ์อื่นๆ: ร่มเพื่อบังแสงอาทิตย์ส่วนเกิน
สภาพอากาศ: ประมาณ -20°C หรือต่ำกว่า ไม่มีลม อากาศชื้น 

---

1. เสาแสงอาทิตย์คืออะไรและมักเกิดขึ้นเมื่อใด
2. อุปกรณ์
3. ตำแหน่งการถ่ายภาพและการจัดองค์ประกอบภาพ
4. การตั้งค่าการเปิดรับแสงและสมดุลแสงขาว
--- 

1. เสาแสงอาทิตย์คืออะไรและมักเกิดขึ้นเมื่อใด

เสาแสงอาทิตย์ (Sun pillar) จะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงแดดสะท้อนจากกลุ่มก้อนของผลึกน้ำแข็งเล็กๆ (เรียกว่า เกล็ดหิมะอัญมณี (Diamond dust)) ที่เกาะตัวกันหนาแน่น ซึ่งคุณจะพบเห็นได้ในเช้าที่อากาศสดใสและลมสงบเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอย่างน้อย 20°C เกล็ดหิมะอัญมณีเหล่านี้จะก่อตัวในขณะพระอาทิตย์ขึ้นและส่องประกายระยิบระยับให้คุณเห็น ก่อนจะกลายเป็นลำแสงขนาดใหญ่ในชั่วพริบตา

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แม้แต่ในเขตบิเอะและฟุราโนะของฮอกไกโด ซึ่งมีชื่อในด้านทิวทัศน์ฤดูหนาวในชนบทอันงดงาม คุณจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์นี้เพียงเดือนละไม่กี่ครั้ง แม้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมไปถึงต้นเดือนมีนาคม 

แต่หากได้เห็นแล้ว คุณจะรู้สึกตื้นตันและอบอุ่นหัวใจจนลืมความหนาวเย็น และมองดูด้วยความทึ่งขณะที่เกล็ดหิมะเหล่านั้นส่องประกายอย่างเงียบงันท่ามกลางแสงรุ่งอรุณ ราวกับเทวดาตัวจิ๋วกำลังเต้นระบำอยู่กลางอากาศ

เสาแสงอาทิตย์ที่มีรูปทรงเป็นต้นเสาหนาและเสาแสงที่มีเกล็ดหิมะอัญมณีสีรุ้งนั้นยิ่งหาดูได้ยากกว่า หากได้เห็นเพียงครั้งหนึ่งหรือสองครั้งตลอดฤดูหนาวก็นับว่าโชคดีแล้ว ซึ่งความจริง คนท้องถิ่นบางคนอาจไม่เคยได้เห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนด้วยซ้ำ!

วงกลมโบเก้สีสันสดใสในเสาแสงอาทิตย์

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/1,000 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ถ่ายเมื่อวันที่ 14 มกราคม เวลา 8:15 น.

เกล็ดหิมะอัญมณีล่องลอยอยู่เต็มพื้นที่รอบตัวคุณ หากคุณใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้นเล็กน้อย เกล็ดหิมะที่อยู่ใกล้เลนส์จะกลายเป็นวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้น หากสภาวะต่างๆ เป็นใจ เกล็ดหิมะเหล่านั้นอาจดูเป็นสีรุ้งด้วย

 

น้ำค้างแข็งบนต้นไม้ = มีโอกาสสูงขึ้นที่จะได้เห็นเสาแสงอาทิตย์

ภาพถ่ายจากมุมสูงของต้นไม้ที่มีน้ำค้างแข็งจับ

อากาศต้องมีความชื้น จึงจะเกิดเกล็ดหิมะอัญมณีเป็นชั้นหนาได้ น้ำค้างแข็งเป็นตัวบ่งชี้ที่ดี นั่นคือ น้ำค้างแข็งที่เกาะเป็นชั้นหนาสีขาวบนต้นไม้ใกล้เคียงบ่งบอกว่ามีโอกาสสูงขึ้นที่จะเห็นเสาแสงอาทิตย์


สำรวจสถานที่ที่เหมาะสมก่อนล่วงหน้า

บิเอะ-ฟุราโนะเป็นภูมิภาคที่กว้างใหญ่ สภาพอากาศและความชื้นในอากาศจึงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในสถานที่เช่นนี้ ควรมองหาจุดต่างๆ ที่สามารถถ่ายภาพได้ (รวมถึงตำแหน่งการถ่ายภาพ) เมื่อใดก็ตามที่ทำได้ เพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพได้ทันทีเมื่อสภาพอากาศเป็นใจ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของคุณในการอ่านสภาพแสงและเลือกตำแหน่งที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ!

 

2. อุปกรณ์

ช่างภาพกำลังถ่ายภาพโดยใช้ร่ม

เสาแสงอาทิตย์มักจะเกิดหลังฟ้าสางเมื่ออุณหภูมิต่ำที่สุด  เนื่องจากคุณต้องถ่ายภาพโดยหันเข้าหาดวงอาทิตย์ การใช้ร่มบังแสงแดดส่วนเกินออกไปจะช่วยให้ภาพของคุณมีความคมชัดมากขึ้น

 

3. ตำแหน่งการถ่ายภาพและการจัดองค์ประกอบภาพ

ช่างภาพกำลังถ่ายภาพโดยเอียงกล้องลง

มุมกล้องตามดวงอาทิตย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณต้องการถ่ายภาพเสาแสงอาทิตย์ให้มีความคมชัด สำหรับภาพหลัก ผมเอียงกล้องและเลนส์ลงเล็กน้อย

นอกจากนี้ยังควรมีแบ็คกราวด์ที่มืด เพื่อให้เห็นเสาแสงอาทิตย์ได้ชัดเจนขึ้น ในการถ่ายภาพหลัก ผมใช้ประโยชน์จากเงาของเนินเขามากมายที่อยู่รายล้อมเมืองบิเอะ

บางคนอาจชอบที่จะถ่ายภาพปรากฏการณ์เสาแสงอาทิตย์และเกล็ดหิมะอัญมณีเท่านั้น แต่สำหรับผม นี่เป็นเรื่องของทิวทัศน์ธรรมชาติด้วย และผมตั้งใจจะถ่ายทอดผลงานชิ้นเอกที่รวมเอาทั้งเสาแสงอาทิตย์และธรรมชาติโดยรอบเข้าไว้ด้วยกัน

 

4. การตั้งค่าการเปิดรับแสงและสมดุลแสงขาว

ค่ารูรับแสงสามารถเปลี่ยนลักษณะของเสาแสงอาทิตย์ได้

ในภาพหลัก ผมปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/11 เพื่อให้เสาแสงอาทิตย์ดูมีลักษณะเป็นแท่งแสง แต่คุณสามารถถ่ายภาพให้น่าสนใจได้โดยการใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้นสองถึงสามสต็อปเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดวงโบเก้ที่มีทรงกลม

วงกลมโบเก้ในเสาแสงอาทิตย์

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV-0.7)/ ISO 800/ WB: แสงแดด

การใช้รูรับแสงกว้างขึ้นจะเปลี่ยนเกล็ดหิมะให้กลายเป็นวงกลมโบเก้นับไม่ถ้วน ซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีบรรยากาศต่างออกไป

 

ภาพโคลสอัพของวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ในเสาแสงอาทิตย์

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/3,200 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม เวลา 9:15 น.

สำหรับภาพนี้ ผมตั้งจุดโฟกัสไว้ที่ต้นไม้ใกล้เคียง เกล็ดหิมะที่อยู่ใกล้กับกล้องกลายเป็นวงกลมโบเก้ขนาดยักษ์ที่ดูคล้ายฟองสบู่


ดูให้แน่ใจว่าแบ็คกราวด์มืด

แบ็คกราวด์ที่มืดอาจจะทำให้กล้องเปิดรับแสงมากเกินไป คุณจึงควรใช้การชดเชยแสงเป็นลบ

เสาแสงอาทิตย์สีทอง

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 124 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/100 วินาที, EV-0.7)/ ISO 800/ WB: แสงแดด
ถ่ายเมื่อวันที่ 17 มกราคม เวลา 7:45 น.

ในภาพนี้ซึ่งถ่ายทันทีหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น เสาแสงอาทิตย์ฉาบสีสันของแสงในช่วงเวลาทองยามตะวันรุ่ง แต่แสงนั้นส่องไปไม่ถึงแบ็คกราวด์ การใช้การชดเชยแสงเป็นลบช่วยป้องกันไม่ให้ภาพมีความสว่างเกินไป


ใช้ WB “แสงแดด” เพื่อให้เงามีโทนสีน้ำเงิน

ผมมักเลือกที่จะตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ “แสงแดด” หากต้องการให้เงาดูเป็นสีน้ำเงินมากขึ้น การใช้ WB “อัตโนมัติ” จะทำให้เกิดสมดุลแสงขาวที่ใกล้เคียงกับที่ตาของคุณมองเห็นมากกว่า

---

สถานที่ถ่ายภาพของผม

ผมถ่ายภาพต่างๆ ในบทความนี้บนเนินเขาใกล้กับเมืองบิเอะและคามิ-ฟุราโนะ ซึ่งใช้เวลาขับรถ 20 นาทีจากสนามบินอาซาฮิกาวะ แต่คุณสามารถเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ทุกที่ตราบใดที่สภาพอากาศเป็นใจ

โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งการถ่ายภาพที่ดีที่สุดคือ จากที่สูงซึ่งคุณสามารถมองลงมาและถ่ายภาพจากมุมสูงได้ อย่างไรก็ตาม เขตบิเอะ-ฟุราโนะมีสถานที่เช่นนี้อยู่มากมาย คุณอาจจะอยากเลือกสถานที่สักแห่งที่เอื้อให้คุณสร้างสรรค์ผลงานที่มีความแตกต่างไม่ซ้ำใคร

---

เรียนรู้เกี่ยวกับฉากอื่นๆ ที่คุณสามารถถ่ายในฮอกไกโดในฤดูหนาวได้ที่:
2 จุดถ่ายภาพฤดูหนาวอันงดงามในฮอกไกโด

หากคุณมาเที่ยวเมืองบิเอะในฤดูร้อน ลองถ่ายภาพบ่อน้ำสีฟ้าดู:
ภาพทิวทัศน์ในฤดูร้อนที่สวยงามน่าทึ่ง: จุดชมวิวในญี่ปุ่นและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (2)

อ่านเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพฤดูหนาวได้ที่:
3 วิธีในการถ่ายภาพฉากฤดูหนาวสีเดียวให้ดูน่าสนใจ
วิธีการป้องกันกล้องของคุณสำหรับการถ่ายภาพในสภาพอากาศหนาวเย็น
การถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิในฤดูหนาว: จุดถ่ายภาพและเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา