ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 วิธีในการถ่ายภาพฉากฤดูหนาวสีเดียวให้ดูน่าสนใจ

2019-11-20
2
2.41 k
ในบทความนี้:

ฤดูหนาวทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงาม แต่เมื่อทุกสิ่งรอบตัวคุณเป็นสีขาวและปกคลุมไปด้วยหิมะ คุณจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพฉากนั้นด้วยวิธีที่แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร ลองใช้ไอเดียทั้งสามต่อไปนี้ (เรื่องโดย: Yuki Imaura, Rika Takemoto, Digital Camera Magazine)

ต้นไม้ในหิมะที่มีเงา

EOS 5D Mark II/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (f/10, 1/1,000 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: 4,600K
ภาพโดย: Yuki Imaura 

 

1. สร้างภาพถ่ายให้เป็นสามมิติยิ่งขึ้น: เล่นกับแสงและเงา 

เมื่อผมถ่ายภาพด้านบน ผมรู้สึกทึ่งกับหิมะสีขาวละเอียดนุ่มนิ่มบนทางลาดที่อยู่ไกลออกไปนี้ ซึ่งชวนให้ผมนึกถึงผิวพรรณขาวเนียนผุดผ่องของผู้หญิงบางคน ผมต้องการเก็บบันทึกพื้นผิวนี้ไว้ จึงใส่ใจกับการเปิดรับแสงเป็นพิเศษ เพื่อรักษาความสว่างให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผมเห็นด้วยตาของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งปัจจัยที่ช่วยทำให้ถ่ายภาพนี้ได้สำเร็จมีอยู่สองประการดังนี้

 

i)  จัดวางเงาในที่ๆ เหมาะสมเพื่อทำให้ฉากสื่ออารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพพื้นผิวหิมะ สิ่งสำคัญก็คือ เงา ลองนึกดูว่า หากไม่มีบริเวณที่ที่มีเงา เฟรมภาพทั้งเฟรมจะไม่มีอะไรเลยนอกจากสีขาว 

ปัจจัยนี้ใช้กับภาพหลัก ซึ่งเงาของต้นไม้ที่ทอดบนผิวหิมะเป็นจุดสนใจหลัก ต้นไม้ห้าต้นตรงกึ่งกลางด้านขวาเป็นตัวแบบหลัก แต่เส้นที่เกิดจากเงาของต้นไม้ทางด้านซ้ายช่วยทำให้องค์ประกอบภาพมีความสมดุล

 

ii) ใช้การชดเชยแสงเพื่อไม่ให้หิมะดูมืดเกินไป

เนื่องจากหิมะนั้นสะท้อนแสงมาก จึงอาจ “หลอก” ตัววัดแสงของกล้องให้เปิดรับแสงน้อยเกินไป หากคุณกำลังใช้โหมดการเปิดรับแสงแบบอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติโดยไม่มีการชดเชยแสง

จากประสบการณ์ของผม ค่าการชดเชยแสงประมาณ EV+1.0 ก็เพียงพอแล้วเมื่อถ่ายภาพหิมะในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส 

ข้อควรระวัง: อย่าตั้งค่าการชดเชยแสงตามใจชอบ ก่อนที่จะกดปุ่มชัตเตอร์ ต้องแน่ใจเสมอว่าส่วนที่สว่างไม่ได้สว่างจ้าเกินไป! 

มาเรียนรู้ว่าฮิสโตแกรมจะสามารถช่วยคุณได้อย่างไรได้ในบทความนี้

เมื่อคุณถ่ายภาพหิมะโดยไม่มีการชดเชยแสง การที่หิมะสะท้อนได้สูงจะทำให้ตัววัดแสงของกล้องเข้าใจว่าฉากนั้นสว่างกว่าความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้ ภาพถ่ายจึงได้รับแสงน้อยเกินไปและดูมืด

 

2. ใช้ประโยชน์จากความเปรียบต่างระหว่างการหยุดนิ่งกับการเคลื่อนไหว 

น้ำแข็งย้อยกับสายน้ำที่ไหลอย่างรวดเร็วเบื้องล่าง

EOS 5D Mark II/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (f/18, 1.6 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: 3,200K
ภาพโดย: Yuki Imaura

น้ำแข็งย้อยซึ่งเป็นตัวแบบหลักของภาพนี้ ก่อตัวขึ้นเมื่อน้ำที่กระเซ็นขึ้นมาจากสายน้ำไหลแรงเบื้องล่างแข็งตัวในสภาพอากาศเย็นจัด 

ภาพถ่ายฉากในฤดูหนาวเช่นนี้มักลงเอยด้วยการที่ทั้งตัวแบบหลักและแบ็คกราวด์อยู่ในเฉดสีขาว ซึ่งอาจดูธรรมดามาก ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้ภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น ผมจึงตัดสินใจถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวของสายน้ำที่ไหลเชี่ยวอยู่เบื้องล่าง สายน้ำที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลานั้นตัดกับความสงบนิ่งของน้ำแข็งย้อยได้อย่างน่าสนใจ


เคล็ดลับ: หากต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงเมื่อถ่ายภาพหิมะ/น้ำแข็งในเวลากลางวัน ให้ใช้ฟิลเตอร์ ND ที่มืดขึ้น

เมื่อถ่ายภาพน้ำแข็งหรือหิมะกลางแจ้งในเวลากลางวัน การสะท้อนแสงสูงอาจทำให้การลดความเร็วชัตเตอร์ลงเป็นเรื่องยากพอๆ กับที่คุณต้องการให้ภาพได้รับแสงมากเกินไป คุณอาจจำเป็นต้องใช้ค่ารูรับแสงที่แคบ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้คุณภาพของภาพลดลงเนื่องจากการเลี้ยวเบนของแสง ปัญหาดังกล่าวสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์ ND ที่มืดขึ้น เช่น ฟิลเตอร์ ND64 หรือ ND400 ซึ่งจะลดความเร็วชัตเตอร์ลงประมาณ 6 สต็อปหรือ 8.65 สต็อปตามลำดับ ถ้าคุณใช้กล้องระบบ EOS R เมาท์อะแดปเตอร์ฟิลเตอร์แบบ Drop-in EF-EOS R พร้อมฟิลเตอร์ ND แบบปรับได้จะมีเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์สูงสุดถึง ND500 (ความเร็วชัตเตอร์ 9 สต็อป)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิลเตอร์ ND ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #5: ฟิลเตอร์ ND มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

ฟิลเตอร์ ND400


ข้อควรรู้: การถ่ายภาพในร่มเงาจะช่วยให้คุณลดความเร็วชัตเตอร์ลงได้มากขึ้น แต่จะไม่จับภาพความสว่างไสวเป็นประกายของน้ำแข็งและหิมะ

 

3. เปลี่ยนหิมะตกให้เป็นวงกลมโบเก้

ต้นไม้ในทิวทัศน์ที่ปกคลุมด้วยหิมะพร้อมหิมะตกที่เป็นวงกลมโบเก้

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/200 วินาที, EV-0.7)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย: Rika Takemoto

ภาพด้านบนเป็นภาพสวนสาธารณะที่ผมไปบ่อยๆ ซึ่งกลายเป็นดินแดนมหัศจรรย์ของฤดูหนาวในชั่วข้ามคืน ผมรู้สึกสนใจต้นไม้กลุ่มนี้และความสมมาตรของพวกมัน ผมต้องการถ่ายภาพที่มีความรู้สึกเหนือจริงโดยมีต้นไม้เป็นจุดสนใจหลัก


องค์ประกอบสำคัญของภาพ

i)  การจัดองค์ประกอบภาพ
ผมซูมเข้าไปที่ลำต้นของต้นไม้เพื่อถ่ายภาพครอปที่ดึงความสนใจไปยังตำแหน่งของต้นไม้ที่มีความสมมาตรกัน

ii) สร้างวงกลมโบเก้จากหิมะ
หิมะที่กำลังตกนั้นมักถูกถ่ายภาพเป็นเส้น แต่ผมจับภาพหิมะให้เป็นวงกลมโบเก้โดยใช้รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์และยิงแฟลชเสริมเพื่อหยุดหิมะให้อยู่กับที่ วงกลมโบเก้จากหิมะเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างบรรยากาศเหมือนฝันของภาพนี้  หิมะสีขาวดูโดดเด่นตัดกับลำต้นของต้นไม้ในแบ็คกราวด์ และการซูมเข้าไปใกล้ทำให้วงกลมดูใหญ่ขึ้น

ดูเพิ่มเติมได้ที่: เทคนิคการใช้แฟลชติดกล้อง #6: วงกลมโบเก้ที่น่ามหัศจรรย์ในวันฝนตก

iii) ใช้ WB (แสงแดด)
การเปลี่ยนสมดุลแสงขาวให้เป็น “แสงแดด” จะเพิ่มโทนสีน้ำเงินอย่างแนบเนียน ซึ่งช่วยสื่อถึงความรู้สึกหนาวเย็น

iv) การชดเชยแสงเป็นลบ
พอคาดได้ว่าสีเข้มๆ ที่ลำต้นของต้นไม้อาจทำให้กล้องตั้งค่าการรับแสงที่สว่างเกินไป ผมจึงใช้การชดเชยแสงเป็นลบ


เคล็ดลับ: ปัจจัยที่เปลี่ยนรูปลักษณ์ของวงกลมโบเก้

ยิ่งทางยาวโฟกัสยาว วงกลมโบเก้ยิ่งมีขนาดใหญ่
ยิ่งรูรับแสงกว้าง (ค่า f ต่ำ) วงกลมโบเก้ยิ่งดูนุ่มนวล
การปรับความเข้มของแสงแฟลชยังช่วยเปลี่ยนระดับความชัดเจนของหิมะที่โดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ของภาพ


ภาพมุมกว้างของต้นไม้ท่ามกลางหิมะ

ถ่ายที่ระยะ 24 มม.
ภาพถ่ายด้านบนเป็นภาพฉากเดียวกัน ซึ่งถ่ายที่ระยะ 24 มม. จากจุดที่อยู่ไกลออกไปเล็กน้อย วงกลมโบเก้จากหิมะดูเล็กลงมาก แทนที่จะเป็นวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ลอยอยู่ในอากาศ วงกลมเหล่านั้นกลับดูคล้ายกลีบดอกไม้ที่ปลิวลงมาจากท้องฟ้า จึงทำให้ได้ฉากที่ดูต่างออกไปพอสมควร

 

คุณคิดวิธีอื่นๆ ในการเพิ่มชีวิตชีวาให้กับทิวทัศน์สีขาวในฤดูหนาวออกหรือไม่ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณได้ที่ My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสในการตีพิมพ์กับเรา!


อ่านเคล็ดลับและเทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพฉากที่ปกคลุมไปด้วยหิมะได้ที่:
2 จุดถ่ายภาพฤดูหนาวอันงดงามในฮอกไกโด
วิธีการป้องกันกล้องของคุณสำหรับการถ่ายภาพในสภาพอากาศหนาวเย็น
การผจญภัยในการถ่ายภาพที่ประเทศไอซ์แลนด์กับเอ็ดวิน มาร์ติเนส

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yuki Imaura

Yuki Imaura เป็นช่างภาพทิวทัศน์ เกิดเมื่อปี 1986 ที่จังหวัดไซตามะ  เขาเริ่มต้นทำงานบรรณาธิการให้กับนิตยสารหลายฉบับ ปัจจุบันผันตัวเป็นช่างภาพอิสระ และถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติต่างๆ รวมถึงสัตว์ป่าทั่วประเทศญี่ปุ่นอย่างแข็งขัน  นอกจากนี้ เขายังเขียนบทความให้กับนิตยสารต่างๆ และเป็นวิทยากรด้านการถ่ายภาพอีกด้วย

Rika Takemoto

Rika เป็นช่างภาพทิวทัศน์ที่เริ่มต้นจากการถ่ายภาพเป็นกิจกรรมยามว่างตั้งแต่ปี 2004 และเริ่มดูแลเว็บไซต์แชร์ภาพถ่ายในปี 2007 เธอเรียนรู้การถ่ายภาพจากช่างภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอย่าง Yoshiteru Takahashi ก่อนจะผันตัวเป็นช่างภาพอิสระ นับแต่นั้นมา เธอก็ได้ถ่ายภาพทิวทัศน์หลากหลายรูปแบบทั่วญี่ปุ่น (รวมถึงต่างประเทศด้วย)

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา