ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

2 ภาพฤดูหนาวอันงดงามในบิเอะ ฮอกไกโด (พร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ)

2020-01-08
0
729
ในบทความนี้:

บิเอะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นเมืองบนภูเขาใจกลางฮอกไกโด ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามตระการตามากมาย และนี่คือฉากสองแบบที่คุณสามารถถ่ายภาพได้ในฤดูหนาวหากโชคดี ช่างภาพของเราจะมาแบ่งปันคำแนะนำและกระบวนการคิดที่อยู่เบื้องหลังการถ่ายภาพเหล่านี้ (เรื่องโดย Jiro Tateno, Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

บ่อน้ำสีฟ้าและต้นไม้ที่ปกคลุมด้วยหิมะ

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/13 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: 4,800K
ภาพโดย: Jiro Tateno

บ่อน้ำสีฟ้า (ฉบับภาษาอังกฤษ) (“อาโออิเกะ”) ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังจากสีฟ้าครามตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่ชิโรงาเนะนอกเมืองบิเอะในฮอกไกโดและมีความสวยงามตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม สีฟ้าที่ตัดกับสีขาวในขณะที่มีหิมะตกนั้นทำให้เกิดเป็นฉากที่สวยงามน่าประทับใจเป็นพิเศษ

 

1. บ่อน้ำสีฟ้าที่ชิโรงาเนะท่ามกลางหิมะ

การหาเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพบ่อน้ำสีฟ้าท่ามกลางหิมะเป็นเรื่องยาก คุณจะต้องจับตาดูสภาพอากาศด้วยความระมัดระวังเพื่อถ่ายภาพให้ได้ก่อนที่น้ำในบ่อจะกลายเป็นน้ำแข็ง ภาพด้านบนนั้นได้โชคช่วย โดยถ่ายในวันถัดมาหลังจากหิมะตกตลอดคืนและปกคลุมแม้กระทั่งต้นไม้เหี่ยวแห้งที่ยืนต้นอยู่ในบ่อน้ำ


จุดถ่ายภาพ: สถานที่ที่ทำให้ได้สมดุลพอเหมาะระหว่างสีสันของน้ำกับแบ็คกราวด์

ภาพตัวอย่างที่แสดงตำแหน่งในการถ่ายภาพ

มีทางเดินที่คุณสามารถเดินไปรอบๆ บ่อน้ำสีฟ้าได้ ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถถ่ายภาพจากมุมใดก็ได้ตามต้องการ ผมมีสิ่งที่ต้องพิจารณาสองข้อในขณะที่เลือกตำแหน่งในการถ่ายภาพ:

- เลย์เอาต์ของต้นไม้แห้งที่ยืนต้นอยู่ในบ่อน้ำ
- แบ็คกราวด์

ผมพบจุดที่เหมาะสมใกล้กับกลางทางเดิน และตั้งขาตั้งกล้องโดยให้กล้องอยู่ในระดับสายตา


ทางยาวโฟกัส: ทำไมจึงใช้ 70 มม.

ฉากนี้ดูสวยงามไม่ว่ามองจากมุมใด แต่หากถ่ายภาพนี้ในมุมกว้างจะทำให้ขาดอารมณ์ภาพไป ผมจึงตัดสินใจซูมเข้าไปใกล้เพียงส่วนเดียวของฉากนี้เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ผมเห็น 

วันนั้นเป็นวันที่มีเมฆครึ้ม แต่เมฆก็ไม่ได้สวยงามเท่าใดนัก การรวมเมฆไว้ในเฟรมจะทำให้กลมกลืนไปกับต้นไม้ญี่ปุ่นที่ปกคลุมด้วยหิมะในแบ็คกราวด์เนื่องจากมีสีที่คล้ายกัน ผมจึงตัดท้องฟ้าออกไป 

นอกจากนั้น ผมยังตรวจดูให้แน่ใจด้วยว่าบ่อน้ำไม่กินพื้นที่มากเกินไป เนื่องจากจะเห็นเงาสะท้อนของท้องฟ้าในน้ำ ซึ่งทำให้สีฟ้าของบ่อน้ำดูน่าประทับใจน้อยลง

เมื่อพิจารณาดังนี้ มุมรับภาพที่ได้จากระยะ 70 มม. ซึ่งอยู่สุดฝั่งยาวของเลนส์ซูมมาตรฐาน จึงสร้างสมดุลที่ดีที่สุดระหว่างสีสันของบ่อน้ำสีฟ้ากับต้นไม้ในแบ็คกราวด์


เลนส์: เลนส์ซูมมาตรฐานหรือซูเปอร์ซูม

ที่บ่อน้ำสีฟ้า จุดที่สามารถถ่ายภาพได้ล้วนอยู่ห่างจากตัวแบบออกไปไม่ไกล เลนส์ซูมที่ครอบคลุมทั้งทางยาวโฟกัสแบบมาตรฐานไปจนถึงเทเลโฟโต้จะใช้งานได้เป็นอย่างดี ผมใช้เลนส์ EF24-70mm f/2.8L II USM ที่ตัวเองใช้เป็นประจำ ซึ่งมีความคมชัดและสามารถแสดงสีสันออกมาได้อย่างงดงาม


เคล็ดลับ: สภาพอากาศอาจส่งผลต่อองค์ประกอบภาพของคุณ

ในสถานการณ์นี้ การใช้มุมรับภาพที่กว้างขึ้นอาจทำให้สามารถแสดงทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยหิมะได้มากขึ้น แต่ผู้ชมจะไม่รู้ว่าควรให้ความสนใจไปยังจุดใดเนื่องจากต้นไม้จะกลมกลืนไปกับท้องฟ้าที่มีเมฆครึ้ม อย่างไรก็ตาม หากสภาพอากาศดีกว่านี้ หรือมีปริมาณหิมะต่างออกไป อาจสามารถใช้มุมกว้างในการถ่ายภาพได้

บ่อน้ำสีฟ้ากับต้นไม้และท้องฟ้า

ที่ระยะ 40 มม. ต้นไม้ที่ปกคลุมด้วยหิมะดูกลมกลืนไปกับแบ็คกราวด์และต้นไม้แห้งในบ่อน้ำก็ดูไม่น่าสนใจเท่าใดนัก


เทคนิคพิเศษ: ปรับสมดุลแสงขาวเพื่อให้สีฟ้าเด่นชัดขึ้น

ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวที่ 4,800K เพื่อขับเน้นสีฟ้าของน้ำให้โดดเด่น


วิธีเดินทาง:

- โดยรถยนต์/แท็กซี่: ขับรถประมาณ 20 นาทีจากสถานี JR บิเอะ
- โดยรถประจำทาง: ประมาณ 25 นาทีจากสถานี JR บิเอะด้วยรถประจำทางโดโฮคุ (คลิกที่นี่เพื่อดูตารางเดินรถ (ฉบับภาษาอังกฤษ))

 

2. ต้นไม้ที่ล้อมรอบด้วยอาทิตย์ทรงกลดบนเนินเขา

ต้นไม้ในทุ่งหญ้าที่เต็มไปด้วยหิมะพร้อมพระอาทิตย์ทรงกลด

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 20 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/250 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ถ่ายเมื่อ: กลางเดือนมกราคม
ภาพโดย: Toshiki Nakanishi

บิเอะนั้นเต็มไปด้วยภูเขาและเนินเขาสลับซับซ้อน (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในฤดูหนาว ภูเขาและเนินเขาเหล่านี้จะปกคลุมไปด้วยหิมะหนาจนกลายเป็นทุ่งหญ้าสีขาวกว้างใหญ่ที่แม้แต่ต้นไม้เพียงต้นเดียวก็กลายเป็นจุดเด่น ผมจัดองค์ประกอบภาพนี้โดยให้เห็นท้องฟ้าเป็นส่วนใหญ่และรวมดวงอาทิตย์ทรงกลดที่ล้อมรอบต้นไม้เอาไว้


อาทิตย์ทรงกลดจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ปรากฏการณ์ทรงกลดรอบดวงอาทิตย์ที่คุณเห็นในภาพด้านบนนั้นเกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ส่องกระทบผลึกน้ำแข็งในเมฆเซอร์รัสบางๆ ซึ่งอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ปกติแล้วปรากฏการณ์นี้มักเป็นสัญญาณบอกถึงการมาของพายุ และจะไม่ปรากฏให้เห็นในวันที่ไม่มีเมฆ หรือในวันที่มีเมฆมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตท้องฟ้าเข้าไว้


จัดวางต้นไม้ให้อยู่ในแนววิถีของพระอาทิตย์ตก

หัวใจสำคัญของภาพนี้คือ การจัดวางดวงอาทิตย์ให้อยู่ตรงกึ่งกลางต้นไม้พอดีเพื่อให้เกิดความสมมาตร ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยจะทำให้แสงอาทิตย์ดูไม่สม่ำเสมอกัน เช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพโดยไม่มีดวงอาทิตย์ทรงกลด ความไม่เท่ากันนั้นจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อไม่มีเมฆ สำหรับภาพด้านบน ผมประมาณเส้นทางที่คาดว่าพระอาทิตย์จะตก จัดองค์ประกอบภาพตามนั้น แล้วลั่นชัตเตอร์ในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างต้นไม้สูงสองต้นพอดี

เคล็ดลับ: มองผ่านช่องมองภาพและขยับขาตั้งกล้องไปด้วยเพื่อหาตำแหน่งที่ดีที่สุด และจะเป็นการดีที่สุดหากไม่ใช้ฟิลเตอร์ใดเลย

ดวงอาทิตย์ทรงกลดเหนือต้นไม้

ดวงอาทิตย์อยู่สูงเกินไปในภาพนี้และไม่ซ้อนทับกับต้นไม้


ใช้เงาให้เป็นประโยชน์ คอยสังเกตดวงอาทิตย์และสภาพอากาศให้ดี

มีต้นไม้เดี่ยวๆ หรือต้นไม้ที่ยืนต้นเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่นนี้มากมายบนเนินเขาที่บิเอะ วิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ภาพของคุณดูน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้นได้คือ การใส่เงาของต้นไม้เข้ามาในภาพด้วย ในฤดูหนาว พระอาทิตย์จะอยู่ต่ำลงในระดับที่ใกล้เคียงกับความสูงของต้นไม้ หากสังเกตสภาพอากาศให้ดี คุณจะได้องค์ประกอบภาพหลากหลายแบบในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

ดวงอาทิตย์ทรงกลดกลายเป็นแฉกแสง

หากไม่มีปรากฏการณ์ทรงกลด คุณสามารถปรับรูรับแสงให้แคบลงอีกเพื่อสร้างแฉกแสง (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวแสงอาทิตย์)


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์สวยๆ ในฤดูหนาวได้ที่:
ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดถ่ายภาพฤดูหนาวในญี่ปุ่นได้ที่:
2 จุดถ่ายภาพฤดูหนาวอันงดงามในฮอกไกโด (แห่งหนึ่งอยู่ในบิเอะด้วย!)
การถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิในฤดูหนาว: จุดถ่ายภาพและเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ

สร้างแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์หิมะสีเดียวให้สวยงามที่สุดได้จากบทความ:
3 วิธีในการถ่ายภาพฉากฤดูหนาวสีเดียวให้ดูน่าสนใจ


สถานที่ตั้งของจุดถ่ายภาพ:

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

Jiro Tateno

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1975 ตั้งแต่ราวปี 1990 เขาสัมผัสธรรมชาติผ่านทางการตกปลา และเริ่มถ่ายภาพ เขาเดินทางถ่ายภาพไปทั่วประเทศในหัวข้อ "ความงดงามของธรรมชาติ” ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เขาเป็นผู้จัดส่งภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร หนังสือ โปสเตอร์ ปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย เขาจัดงานนิทรรศการภาพถ่าย "Okinawa" ขึ้นในปี 2010 และจัดนิทรรศการภาพถ่าย "Northern Lights - Journey of Light/ Iceland" ในปี 2017

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา