ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

#สวัสดีจากกรุงเทพฯ: 3 สถานที่ที่มีเสน่ห์ชวนให้ถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

2022-10-26
3
1.44 k

กำลังวางแผนท่องเที่ยวกรุงเทพฯ และสงสัยว่าควรไปถ่ายภาพที่ใดใช่ไหม เราได้ถามดรณ์ อมาตยกุล ซึ่งเป็นคนกรุงเทพฯ (IG: @donamtykl) เกี่ยวกับจุดถ่ายภาพที่เขาชื่นชอบในการถ่ายทอดแง่มุมต่างๆ ของกรุงเทพฯ และนี่คือคำตอบของเขา! ไม่ว่าจะเป็นผู้คนและวิถีชีวิตบนท้องถนน สถาปัตยกรรมโบราณที่โอ่อ่าสง่างาม หรือบรรยากาศของเมืองสมัยใหม่ที่ชวนให้หลงใหล จะทำให้คุณต้องการใช้เวลาทั้งวันในการถ่ายภาพ พักผ่อน และดื่มด่ำกับบรรยากาศโดยรอบในสถานที่อย่างน้อยหนึ่งแห่งนี้! (ภาพโดยดรณ์ อมาตยกุล และเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้เล่าให้ทีมงาน SNAPSHOT ฟัง)

เกร็ดน่ารู้: แต่ละสีในแบ็คกราวด์เป็นสีประจำวันตามธรรมเนียมไทย!

ในบทความนี้:

 

#1: เยาวราช

EOS RP + RF600mm f/11 IS STM ที่ f/11, 1/160 วินาที, ISO 250
สิ่งแรกที่คุณจะพบเห็นเมื่อเริ่มออกเดินจากมุมถนนเยาวราชคือ ป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนหลากสีสันเรียงซ้อนกันเป็นแถว

EOS R6 + RF100-400mm f/5.6-8 IS USM ที่ 100มม., f/5.6, 20 วินาที, ISO 200
เยาวราชสว่างไสวด้วยแสงไฟนีออนหลากสีสันยามค่ำคืน เลนส์เทเลโฟโต้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ของป้ายในทั้งสองภาพนี้โดยที่ปราศจากความบิดเบี้ยวใดๆ

 

ท้องถนนที่มีชีวิตชีวาเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวมากมายที่รอให้ค้นพบ

หากคุณเป็นช่างภาพที่ชื่นชอบเรื่องราวของผู้คน บรรยากาศชีวิตในเมือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม คุณจะหลงรักถนนเยาวราช ซึ่งเป็นถนนหลักในไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ ศูนย์กลางการค้าขายสำหรับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเชื้อสายจีนมานานกว่า 200 ปี และยังเป็นย่านเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ คุณจะพบเห็นตึกแถวเก่าแก่จำนวนมากที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่ในสภาพเดิม

สิ่งที่ผมชื่นชอบมากที่สุดเกี่ยวกับเยาวราชคือ มีเรื่องราวมากมายที่รอให้ค้นพบไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ในช่วงเช้า บรรยากาศเงียบสงบและอบอุ่นเชิญชวนให้คุณออกเดินสำรวจตรอกซอกซอยที่นั่น ในขณะที่ยามค่ำคืนเต็มไปด้วยชีวิต สีสัน และกลิ่นอาหาสตรีทฟู้ดที่ชวนให้น้ำลายสอ มีหลากหลายสิ่งให้พบเห็นและเก็บภาพ เพราะนี่เป็นหนึ่งในจุดถ่ายภาพที่ถ่ายภาพได้งดงามที่สุดในกรุงเทพฯ!

 

เงียบสงบในช่วงกลางวัน

EOS RP + EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ที่ 200 มม., f/5.6, 1/400 วินาที, ISO 200

ชายคนหนึ่งกำลังเข็นรถเข็นไปตามถนนเยาวราชในช่วงเช้าตรู่ ป้ายในแบ็คกราวด์เป็นฉากหลังที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับการถ่ายภาพผู้คน ในการทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นมากขึ้นในภาพถ่ายแนวสตรีทที่ไม่มีการโพสท่า ผมถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ซึ่งมีความสามารถในเรื่องระยะชัดตื้นในตัว และการบีบภาพของเทเลโฟโต้ยังทำให้ป้ายดูใหญ่ขึ้นอีกด้วย

ดรณ์ยังได้แชร์ภาพถ่ายอื่นๆ ในประเทศไทยซึ่งใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ไว้ใน
[รีวิว] เลนส์ RF600mm f/11 IS STM และ RF800mm f/11 IS STM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์เมือง


ข้อควรรู้: ถนนที่เต็มไปด้วยทอง
ผู้ที่อ่านตัวอักษรจีนได้อาจสังเกตเห็นว่าป้ายส่วนใหญ่ในภาพด้านบนเป็นป้ายของร้านทอง ถนนเยาวราชได้ชื่อว่า “ถนนทองคำ” เนื่องจากเต็มไปด้วยร้านทอง ซึ่งที่จริงแล้วนี่อาจเป็นหนึ่งในย่านที่มีร้านทองมากที่สุดในโลก!

 

มีชีวิตชีวายามค่ำคืน

บรรยากาศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงกลางคืน ถนนเยาวราชได้ชื่อว่าเป็นย่านตลาดอาหารกลางคืนที่เต็มไปด้วยสตรีทฟู้ดรสเด็ดราคาถูก ซึ่งร้านอาหารแผงลอยบางร้านได้รับดาวมิชลินอีกด้วย! ถนนเส้นนี้คึกคักด้วยผู้คนที่มองหาอาหารรสเด็ดและบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอาหารหลากหลายประเภท

EOS R6 + RF24mm f/1.8 Macro IS STM ที่ f/1.8, 1/250 วินาที, ISO 400

พ่อค้ากำลังทอดเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีไฟลุกท่วมกระทะ การเฝ้ามองและถ่ายภาพพ่อค้าที่กำลังจัดเตรียมอาหารก็น่าทึ่งไม่ต่างจากอาหารเลย! เลนส์มุมกว้าง (ในกรณีนี้คือ RF24mm f/1.8 Macro IS STM) ช่วยให้ผมสามารถจัดเฟรมภาพตลาดที่แสนคึกคักนี้ได้สะดวกแม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนมากและทางเดินที่คับแคบก็ตาม


EOS R6 + RF24mm f/1.8 Macro IS STM ที่ f/1.8, 1/250 วินาที, ISO 400

ที่ใดมีผู้คน ที่นั่นย่อมมีรถตุ๊กๆ สีสันสดใสอันเป็นเอกลักษณ์ กล่าวได้ว่านี่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทย คุณจะพบเห็นรถตุ๊กๆ จำนวนมากในเยาวราชยามค่ำคืน

 

เคล็ดลับ:

- ใช้เลนส์ที่แตกต่างกันเพื่อถ่ายทอดความงดงามหลากหลายรูปแบบ
เมื่อใช้เลนส์ที่แตกต่างกัน คุณจะจัดเฟรมและองค์ประกอบภาพของฉากได้หลากหลาย คุณจะรู้สึกประหลาดใจเมื่อได้เห็นว่าสามารถเปลี่ยนภาพถ่ายและทำให้ฉากเดียวกันนี้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้!
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ในบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ บน SNAPSHOT

- อย่ายืนใกล้ถนนมากเกินไป
เนื่องจากมีฝูงผู้คนจำนวนมากและถนนที่คับแคบ หากคุณจดจ่อกับการถ่ายภาพอาจเป็นไปได้สูงที่ท้ายที่สุดแล้วคุณจะไปยืนอยู่บนถนนที่การจราจรคับคั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังยืนถ่ายภาพอยู่ที่ขอบถนน ระมัดระวังการจราจรบนท้องถนนและรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากถนนให้ได้มากที่สุด

 

#2: ย่านพระนคร: รัตนโกสินทร์

EOS RP + EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ที่ 200 มม., f/8, 1/320 วินาที, ISO 400

ผู้ชายคนหนึ่งกำลังเดินผ่านพระปรางค์ 8 องค์ที่เรียงรายเป็นแถวเดียวกันด้านหลังกำแพงวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) เสื้อแจ็คเก็ตสีส้มของเขาขับเน้นรายละเอียดสีทองของพระปรางค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น วัดพระแก้วมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ไทยและเป็นวัดพุทธซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดในประเทศไทย

 

ศูนย์กลางเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมไทยคลาสสิก

ทางทิศตะวันตกของเยาวราช ริมแม่น้ำเจ้าพระยาคือย่านรัตนโกสินทร์ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 เมื่อรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงมาจากธนบุรีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ ทำให้ที่นี่มีพระราชวัง วัดวาอาราม และอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลายแห่งซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยดังกล่าว

EOS RP + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/5.6, 1/500 วินาที, ISO 400

แสงยามเย็นย้อนจากด้านหลังของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเดินในซอยเพื่อมุ่งหน้าไปยังวัดอรุณ (วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร) รายละเอียดอันประณีตงดงามและแสงสีทองที่ส่องประกายระยิบระยับตามแบบฉบับของยุครัตนโกสินทร์ทำให้วัดและอาคารในย่านนี้มีความโดดเด่นอย่างมากแม้ว่าจะมองจากระยะไกลก็ตาม ควรพกพาเลนส์ซูมหรือเลนส์เทเลโฟโต้ติดตัวไปด้วยเพื่อให้สามารถมองเห็นรายละเอียดเหล่านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น!

 

เคล็ดลับ: ควรไปในช่วงเช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน

EOS RP + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/8, 1/200 วินาที, ISO 400

วัดอรุณเปล่งประกายตัดกับท้องฟ้าสีเพลิงในยามพระอาทิตย์ตกดิน สะท้อนภาพบนแม่น้ำเจ้าพระยา คุณเคยรู้สึกว่าอยู่ในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมไหม คุณจะรู้สึกเช่นนี้เมื่อไปย่านพระนครในช่วงเช้าตรู่หรือบ่ายแก่ๆ จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน แสงแดดที่สะท้อนบนพระปรางค์สีทองเป็นภาพที่งดงามตระการตา อาจมีอากาศที่ร้อนอบอ้าวแต่คุณจะมีช่วงเวลาที่น่าประทับใจที่ได้ออกไปเดินสำรวจและเพลิดเพลินกับทิวทัศน์โดยรอบ

 

ลองใช้วิธีนี้ การถ่ายภาพยามค่ำคืนให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมเช่นกัน!

วัดในย่านพระนครเปล่งประกายความงดงามในยามค่ำคืนเช่นกัน ซึ่งให้บรรยากาศที่แตกต่างจากช่วงกลางวันอย่างมาก หากคุณมีเวลา ควรเดินเล่นรอบๆ บริเวณนี้หลังพระอาทิตย์ตกดินและสัมผัสประสบการณ์นี้ด้วยตัวเอง!

EOS R6 + RF16mm f/2.8 STM ที่ f/11, 1/5 วินาที, ISO 100

ผมถ่ายภาพนี้จากฝั่งตรงข้ามวัดพระแก้วโดยเปิดรับแสงเป็นเวลานาน ระบบ IS ในตัวกล้องอย่างเช่นในกล้อง EOS R6 ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในลักษณะนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ขาตั้ง

เส้นแสงเป็นวิธีที่ดีในการขับเน้นภาพถ่ายยามค่ำคืน สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมในการยกระดับภาพของคุณด้วยเทคนิคนี้ โปรดอ่าน
เทคนิคการใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์: เส้นแสงจากมุมมองใหม่
5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการรวมเส้นแสงเข้าด้วยกันใน Digital Photo Professional


หากกำลังคิดจะออกไปวัดสักแห่ง อย่าลืมสวมใส่รองเท้าและเสื้อผ้าที่สุภาพและสังเกตธรรมเนียมปฏิบัติที่เหมาะสม! อ่านได้ที่
สิ่งที่ควรทำและห้ามทำเมื่อไปวัดพุทธในไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

#3. ย่านสยามสแควร์

EOS R6 + RF16mm f/2.8 STM ที่ f/4, 1/100 วินาที, ISO 1600
ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่และแสงไฟที่ดูโดดเด่นด้านหน้าอาคาร ในภาพบน รางรถไฟฟ้า (ซ้าย) และหลังคาของสะพาน (ขวา) สร้างเฟรมภาพที่ดูน่าสนใจ จากมุมนี้ จุดตัดมาบรรจบกันที่มุมตึกซึ่งขับเน้นเส้นสายและรูปทรงเรขาคณิตของภาพ

EOS R6 + RF16mm f/2.8 STM ที่ f/5.6, 1/400 วินาที, ISO 200
ภาพนี้ถ่ายจากชั้น 9 ของตึกสยามสเคปแห่งใหม่ ด้วยพื้นที่โล่งกว้าง บริเวณพื้นดำมืดที่มีแสงสะท้อน และแสงไฟนีออนจะทำให้คุณรู้สึกราวกับว่ากำลังเดินอยู่ในอวกาศ! การตกแต่งภายในอาคารเต็มไปด้วยบรรยากาศของ “ยานอวกาศ” แห่งโลกอนาคต

 

ศูนย์กลางเมืองยอดนิยมของวัยรุ่น

ในย่านเยาวราชและพระนคร เราจะได้พบเห็นความงดงามของบรรยากาศความเก่าแก่ของกรุงเทพฯ แต่อย่าลืมบรรยากาศความทันสมัยของกรุงเทพฯ ซึ่งสัมผัสประสบการณ์นี้ (และถ่ายภาพ) ได้ดีที่สุดที่สยามสแควร์ หลังการปรับปรุงใหม่ บริเวณนี้ก็ได้เปิดตัวอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 และปัจจุบันเต็มไปด้วยอาคารที่ดูเท่และทันสมัยและสถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพอย่างเช่น สยามสเคป ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาใหม่ล่าสุดในย่านนี้

EOS R6 + RF24-105mm f/4-7.1 IS STM ที่ 40 มม., f/5.6, 1/200 วินาที, ISO 1600

บรรยากาศฝนโปรยปรายยามค่ำคืน สายฝน แสงไฟนีออน และแสงสะท้อนผสมผสานเกิดเป็นบรรยากาศที่งดงามและเหนือจริง


EOS R7 + RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM ที่ 18 มม. (28.8 มม. เมื่อเทียบกับฟูลเฟรม 35 มม.), f/5.6, 1/50 วินาที, ISO 200

หนึ่งในจุดถ่ายภาพที่ผมชื่นชอบคือสวนลอยฟ้าที่บริเวณชั้น 10 ของสยามสเคป ผมชอบหันหน้าเข้าหาอาคารเพราะรู้สึกราวกับว่ากำลังหันหน้าเข้าหากำแพงยักษ์ในอีกมิติหนึ่ง! ควรจัดให้มีคนยืนอยู่กลางเฟรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงขนาดความใหญ่โตของอาคาร ปรับแก้สีเล็กน้อยเพื่อให้ความรู้สึกราวกับถ่ายมาจากภาพยนตร์ไซไฟ

 

เคล็ดลับ: ใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เพื่อทำให้ภาพด้านในอาคารดูน่าสนใจ

EOS R6 + RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ที่ 15 มม., f/5.6, 1/50 วินาที, ISO 200

ทางเข้าหลักของสยามสเคปให้ภาพที่มีความสมมาตร แม้ว่าผมจะพยายามถ่ายภาพด้านในอาคารด้วยเลนส์อื่นๆ แต่ท้ายที่สุดแล้วผมชื่นชอบการใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์มากกว่า เพราะจัดเฟรมให้เห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ง่ายกว่า และมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงทำให้ภาพดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น


EOS R6 + RF15-30mm f/4.5-6.3 IS STM ที่ 15 มม., f/5.6, 1/200 วินาที, ISO 1600

ทางเชื่อมระหว่างสยามสแควร์กับสยามสเคป เมื่อเอียงกล้องขึ้นด้านบนมากขึ้นจะช่วยเสริมมุมมองเปอร์สเปคทีฟมุมกว้างอัลตร้าไวด์ 15 มม. ทำให้เพดานดูสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ


ข้อควรรู้: การใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ยังช่วยให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น

สถานที่บางแห่งไม่อนุญาตให้ใช้ขาตั้งกล้อง จึงทำให้การถ่ายภาพที่มีทางยาวโฟกัสสั้นๆ มีประโยชน์อย่างมาก คุณอาจเคยได้ยินหลักการทั่วไปที่กล่าวว่าหากทางยาวโฟกัสคือ X คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำได้ถึง 1/X วินาที และยังคงได้ภาพถ่ายแบบไม่ใช้ขาตั้งที่ไม่มีปัญหาการสั่นไหว เช่น ที่ 15 มม. คุณสามารถถ่ายภาพที่ต่ำได้ถึง 1/15 วินาที ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อคุณต้องการใช้ค่า f-stop ที่แคบลงหรือความไวแสง ISO ที่ต่ำลง หากเลนส์ของคุณมีระบบ IS แบบออพติคอลหรือคุณใช้กล้องที่มีระบบ IS ในตัวกล้อง อย่างเช่น EOS R5, EOS R6 และ EOS R7 คุณยังสามารถลดค่าให้ต่ำลงได้อีก!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Don Amatayakul

ดรณ์ อมาตยกุล เป็นช่างภาพอิสระจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย เขาเริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2016 เพื่อบันทึกช่วงเวลาที่น่าจดจำและถ่ายทอดมุมมองของเขาเมื่อครั้งเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่ออาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ถ่ายภาพได้สวยงามที่สุดในโลก เขาจึงสนใจการถ่ายภาพในเมืองและทิวทัศน์เมืองและความหลงใหลของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนการถ่ายภาพได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเขา เขาหวังว่าผู้คนจะได้สังเกตเห็นความงดงามในเมืองและมองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยมุมมองใหม่ผ่านภาพถ่ายของเขา

อินสตาแกรม: @donamtykl

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา