ภาพทิวทัศน์ซูเปอร์เทเลโฟโต้: “ถ้ำ” ลึกลับในช่องเขาที่ถูกปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำ
คำถาม: ภาพที่อยู่ด้านบนเป็นภาพของ ก) ถ้ำลึก หรือ ข) ช่องเขาที่มีหน้าผาสูงชัน พอจะเข้าใจได้หากคุณคิดว่าคำตอบคือข้อ ก) แต่ความจริงแล้วนี่เป็นภาพของทารุมาเอะ กาโระ ซึ่งเป็นหุบเขาหินภูเขาไฟที่ปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำดูแปลกตาในเมืองโทมะโกไม ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น Katsuhiro Yamanashi ช่างภาพทิวทัศน์จะมาแสดงให้ดูว่าเขาใช้เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้ในการถ่ายภาพบรรยากาศอันแสนลึกลับของสถานที่แห่งนี้ได้อย่างไร (เรื่องโดย: Katsuhiro Yamanashi, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 0.8 วินาที, EV -1.3)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
อุปกรณ์อื่นๆ: ฟิลเตอร์ PL
เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้:
ทารุมาเอะ กาโระเป็นช่องเขาที่มีกำแพงหินปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำสีเขียวอ่อนนุ่มอย่างหนาแน่น ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาทางทิศใต้ของภูเขาทารุมาเอะ เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปในหุบเขา บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความลึกลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมต้องการจะถ่ายภาพและสื่อออกไป เพื่อให้ได้ผลเช่นนั้น ผมจึงตัดสินใจใช้เลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้เพื่อเข้าใกล้ส่วนที่ลึกที่สุดของช่องเขาซึ่งมีหมอกบางๆ จากแม่น้ำล่องลอยอยู่
ผมตั้งใจจะถ่ายภาพหินในสามจุด (ดู “เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ/การใช้เลนส์” ด้านล่าง) จากมุมหนึ่งเพื่อใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ถ่ายก้อนหินทั้งสามได้ด้วยมุมรับภาพที่แคบ ผมจึงต้องตั้งขาตั้งกล้องในแม่น้ำที่มีน้ำไหล ในสถานการณ์เช่นนี้ กระแสน้ำอาจทำให้ขาตั้งกล้องของคุณเคลื่อนตัวได้ ดังนั้น จึงควรมีวิธีป้องกันการสั่นของกล้องด้วยตามความจำเป็น ผมหลีกเลี่ยงการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไป
ทางยาวโฟกัส: 400 มม.
เลนส์ที่ผมใช้
EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM
หมอกจากแม่น้ำปรากฏให้เห็นเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของช่องเขาเท่านั้น เพื่อให้หมอกนั้นโดดเด่นออกมา ผมเลือกถ่ายภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสยาวสุดที่อุปกรณ์ที่ผมใช้ในขณะนั้นสามารถทำได้ นั่นคือ 400 มม. ของเลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM ปรากฏว่าได้มุมรับภาพที่สมบูรณ์แบบซึ่งมองเห็นกระแสน้ำในเฟรมภาพได้มากพอ กำลังขยาย 4 เท่าของเลนส์นี้ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม และผมก็พอใจกับกำลังในการแยกรายละเอียดของเลนส์นี้
เลนส์ในเวอร์ชันเมาท์ RF สำหรับผู้ที่ใช้ระบบ EOS R:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ/การใช้เลนส์: ใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพให้เป็นประโยชน์
แผนภาพด้านบนแสดงให้เห็นว่าฉากเป็นอย่างไรเมื่อซูมออกมา สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงแสดงพื้นที่ที่ผมซูมเข้าไปในการถ่ายภาพแรกของบทความนี้
ผมจัดเฟรมภาพให้หินในสามส่วนต่อไปนี้เป็นจุดสนใจหลัก
(1) กำแพงหินที่เปิดเป็นช่อง
(2) หินส่วนที่เว้าอยู่ด้านหลังทางซ้ายมือ และ
(3) หินที่อยู่ด้านในสุดซึ่งทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยม
ทางยาวโฟกัสแบบซูเปอร์เทเลโฟโต้ (400 มม.) ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่สามารถดึงเอาโขดหินด้านหลังออกมาได้และทำให้ดูเหมือนหินเหล่านั้นซ้อนกันอย่างใกล้ชิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นภาพของช่องเขาที่สื่อถึงความลึกคล้ายถ้ำรวมทั้งความรู้สึกน่าหวั่นกลัวถึงสิ่งที่มองไม่เห็นซึ่งอยู่ไกลออกไป
การรวมเอาข้อ (4) ซึ่งเป็นก้อนหินที่เต็มไปด้วยตะไคร่น้ำในโฟร์กราวด์ด้านซ้ายของภาพเข้าไปด้วยช่วยกระตุ้นให้รู้สึกถึงสิ่งแวดล้อมที่เปียกชื้น
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้
การเปิดรับแสง: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำและค่าการชดเชยแสงเป็นลบ
เบลอแม่น้ำที่กำลังไหลเพื่อเพิ่มมิติให้กับภาพ
ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 0.8 วินาทีเพื่อเปลี่ยนให้แม่น้ำที่กำลังไหลกลายเป็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากผมตั้งขาตั้งกล้องในแม่น้ำ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำจนเกินไปอาจทำให้เกิดการสั่นของกล้องที่เห็นได้ชัดเจน ผมจึงเพิ่มค่าความไวแสง ISO ให้เป็น 800
ค่าการชดเชยแสงเป็นลบช่วยลดการสูญเสียรายละเอียดของกระแสน้ำไหล
EV ±0
EV -1.3
ในองค์ประกอบภาพนี้มีก้อนหินสีเข้มหลายรูปแบบ ในโหมดวัดแสงบางโหมด กล้องจะเปิดรับแสงตามส่วนที่มืดของก้อนหิน ทำให้รายละเอียดที่สว่างกว่าในกระแสน้ำไหลได้รับแสงมากเกินไปและกลายเป็นส่วนสว่างโพลน ในภาพนี้ ผมใช้ค่าชดเชยแสงเป็นลบ (EV -1.3) เพื่อคงรายละเอียดในส่วนที่เป็นไฮไลต์เอาไว้
แสงแดดที่สะท้อนออกมาจากตะไคร่น้ำและก้อนหินที่เปียกชื้นอาจทำให้เกิดเป็นแสงสว่างโพลนได้ด้วย แต่สามารถป้องกันได้โดยการใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ให้ภาพทิวทัศน์ของคุณได้ที่:
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
เทคนิคการถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้: สร้างจุดสนใจให้ใบไม้ธรรมดาๆ
หากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพแม่น้ำลำธารท่ามกลางธรรมชาติเขียวขจี นี่คือเคล็ดลับเพิ่มเติมในการถ่ายภาพความประทับใจให้ได้ดังที่คุณจินตนาการ:
การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก
เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1945 Yamanashi ทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography (ปัจจุบันมีชื่อว่า Tokyo Polytechnic University) และเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อเยี่ยมชมและถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงนานถึงเวลา 4 ปี หลังลาออกจากบริษัท เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ และท้ายที่สุดได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเองที่มีชื่อว่า Yamanashi Photo ในปี 1989 นอกจากงานภาพถ่ายสต็อกแล้ว เขายังถ่ายภาพให้ปฏิทินบริษัท นิตยสารกล้องและการท่องเที่ยว และโปสเตอร์สำหรับการรถไฟญี่ปุ่นอีกด้วย