ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้

2020-03-23
1
1.11 k
ในบทความนี้:

ในบทความต่างๆ ก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้ว่าเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เป็นเลนส์ที่เหมาะมากสำหรับการสร้างเส้นนำสายตาเนื่องจากสามารถสร้างมุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงและทำให้เส้นดูยาวขึ้น ส่วนเลนส์เทเลโฟโต้นั้น เมื่อเทียบกันแล้วจะบีบมุมมองภาพ แต่เอฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นกับเส้นนำสายตาอาจได้ผลดีกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับไอเดียทางศิลปะของคุณ! ต่อไปนี้คือวิธีที่ช่างภาพคนหนึ่งใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อทำให้แนวคิดของเขาเป็นจริง (เรื่องโดย Masato Mukoyama, Digital Camera Magazine)

ต้นซากุระตามทางรถไฟยามค่ำคืน

EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/2.8, 30 วินาที, EV +0.3)/ ISO 100/ WB: 5,750K

 

แนวคิดเบื้องหลังการถ่ายภาพ: “ความฝันแห่งคืนฤดูใบไม้ผลิ”

ภาพถ่ายจะสะท้อนลักษณะที่แท้จริงของตัวแบบ แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่คุณจินตนาการจะสะท้อนมุมมองส่วนตัวของคุณเองด้วย นอกเหนือจากความรู้ที่คุณมีเกี่ยวกับตัวแบบ

หลังจากเล็งกล้องไปที่ตัวแบบ ก่อนที่ผมจะปล่อยชัตเตอร์ ผมจะจินตนาการว่าภาพสุดท้ายที่ผมต้องการจะดูเป็นอย่างไร สำหรับภาพถ่ายนี้ ผมได้รับแรงบันดาลใจจากเสน่ห์อันน่าหลงใหลของซากุระยามค่ำคืนและบรรยากาศชวนฝันของฉาก จึงทำให้ผมได้แนวคิด “ความฝันแห่งคืนฤดูใบไม้ผลิ”

สองสิ่งที่ผมต้องทำเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่จินตนาการไว้:
i) ลดองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นความเป็นจริง
ii) ดึงดูดความสนใจผู้ชมเข้าไปในฉากเพื่อให้พวกเขา “ดื่มด่ำ” ไปกับฉากนั้น

ซึ่งทำได้โดย:
- ใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวโทนสีเย็น
- ใช้ประโยชน์จากระยะชัดตื้นและเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์เทเลโฟโต้

 

เทคนิคที่ 1: ใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่ระยะเทเลโฟโต้เพื่อให้ผู้ชมดื่มด่ำไปกับฉาก

ภาพนี้ถูกถ่ายบนทางลาดชันขึ้นที่ช่วยให้มองเห็นเส้นทางได้อย่างชัดเจน ซึ่งหมายความว่า พื้นที่ว่างเปล่าและองค์ประกอบ เช่น ท้องฟ้าสีครามที่คุณเห็นในภาพด้านล่างที่ถ่ายด้วยระยะ 70 มม. อาจดึงความสนใจของผู้ชมไปได้โดยง่าย

ต้นซากุระตามทางรถไฟ และท้องฟ้าสีครามกับพื้นที่ว่าง

ต้นไม้ซากุระตามทางรถไฟและดอกไม้ที่ดูหนาแน่น ไม่มีท้องฟ้า

การใช้ระยะเทเลโฟโต้ 200 มม. ไม่เพียงแต่ทำให้ท้องฟ้าอยู่นอกเฟรมภาพเท่านั้น แต่ยังทำให้ต้นซากุระดูใกล้กันมากขึ้นและดูมีจำนวนมากขึ้นเช่นกันเนื่องจากเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพ ผมพบว่านี่เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากในการตัดองค์ประกอบที่ดึงความสนใจของผู้ชมออกไปและทำให้ภาพถ่ายดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น

“มุมมองเปอร์สเป็คทีฟ” หมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #5: เปอร์สเป็คทีฟ

เคล็ดลับ: เพิ่มเอฟเฟ็กต์ให้เด่นชัดขึ้นโดยใช้รูรับแสงกว้างขึ้นเพื่อสร้างโบเก้ สำหรับภาพถ่ายนี้ ผมสร้างโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์ ซึ่งช่วยดึงสายตาของผู้ชมไปยังพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสตรงกลางและพื้นหลังของภาพ

 

เทคนิคที่ 2: ถ่ายจากระดับต่ำ

เส้นที่เกิดจากทางรถไฟเป็นเส้นนำสายตาที่นำสายตาของผู้ชมไปตามต้นซากุระ วิธีนี้จะสร้างมิติความตื้นลึก อีกทั้งในภาพนี้ยังให้ความรู้สึกที่ตระการตาและน่าประทับใจด้วย

การถ่ายภาพจากระดับต่ำจะทำให้เอฟเฟ็กต์เส้นนำสายตาชัดขึ้นเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพในระดับสายตาหรือระดับสูง

ผมลองถ่ายภาพจากระดับต่ำในความสูงที่แตกต่างกัน เพื่อให้มองเห็นรางได้อย่างชัดเจน คุณจะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้อง “ยิ่งต่ำยิ่งดี” เสมอไป


เหนือพื้นดิน 75 ซม.: สูงเกินไป

ภาพทางรถไฟที่ถ่ายสูงเหนือพื้นดินเกินไป

เนื่องจากกล้องอยู่เหนือพื้นดินมากกว่าเมื่อเทียบกับภาพด้านล่างที่มีโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์น้อยกว่า ทางรถไฟดูยาวขึ้น แต่สายตาของเราถูกดึงดูดไปที่จุดรวมสายตาที่อยู่ห่างออกไปมากกว่า แม้จะเพิ่มความลึกให้กับฉาก แต่ก็เพิ่มระยะห่างด้วย ซึ่งทำให้เรารู้สึกดื่มด่ำกับภาพน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเวลาที่ปลายรางรถไฟไม่ได้ดูไกลออกไปมาก จึงเป็นสาเหตุด้วยว่าทำไมระดับสูงๆ ไม่ได้ช่วยให้ผมได้ภาพที่ผมต้องการ


เหนือพื้นดิน 25 ซม.: ต่ำเกินไป

ภาพทางรถไฟที่ถ่ายในระยะใกล้กับพื้นดินมาก

ติดพื้นดินเกินไป ความสนใจของเราถูกดึงไปที่ทางรถไฟมากกว่าต้นซากุระ


เหนือพื้นดิน 50 ซม.: เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุดสำหรับผม

ภาพทางรถไฟที่ถ่ายจากระดับที่เหมาะสม

พลังทางอารมณ์ของภาพทางรถไฟและต้นซากุระดูมีสมดุลที่ดี

จากด้านบน เราจึงสรุปได้ว่าสำหรับฉากนี้ เส้นนำสายตาจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต่อเมื่อกล้องอยู่เหนือพื้นดิน 50 ซม.

หมายเหตุ: อย่าใช้ระดับความสูงนี้เป็นแนวทางเสมอไป เนื่องจากตำแหน่งของกล้องที่ได้ผลสำหรับคุณจะขึ้นอยู่กับฉากที่คุณถ่ายภาพและภาพที่คุณจินตนาการไว้เสมอ ควรลองถ่ายภาพจากตำแหน่งและมุมต่างๆ จนกว่าคุณจะได้ภาพที่ต้องการ!


เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของเลนส์เทเลโฟโต้ได้ใน:
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
2 เทคนิคทันใจที่ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งของคุณ
วิธีถ่ายภาพไฟประดับตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศชวนฝัน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Masato Mukoyama

หลังจบการศึกษาจาก Tokyo Institute of Technology เมื่อปี 2011 Mukoyama ได้ทำงานให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน ในช่วงเวลานั้น เขาไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในภาคตะวันตกและตะวันตกตอนกลางของสหรัฐอเมริกาเพื่อถ่ายภาพสัตว์และดวงดาว เมื่อกลับมาญี่ปุ่น เขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพธรรมชาติ ออกเดินทางจากบ้านในจังหวัดไอชิไปยังพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ เช่น นากาโน่ คุมาโมะโตะ และฮอกไกโดเพื่อถ่ายภาพ ตั้งแต่ปี 2019 Mukoyama ได้ถ่ายภาพในบริเวณที่เป็นภูเขาโดยเน้นไปที่ทิวทัศน์ ต้นไม้ และสัตว์ต่างๆ

Website: https://mmukoyama.com/
Instagram: @mt.moco
 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา