การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก
เราควรตั้งค่ากล้องแบบใดเพื่อถ่ายภาพม่านหมอกหนาทึบและกระแสน้ำของลำธารในฉากที่ชวนลึกลับเหมือนภาพฝัน ช่างภาพมืออาชีพจะมากล่าวถึงเทคนิคที่นิยมใช้กัน (เรื่องโดย Yoshio Shinkai)
EOS 5D Mark II/ EF24-70มม. f/2.8L USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 4 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
สำหรับฉากนี้ ผมต้องการสร้างบรรยากาศที่ชวนลึกลับของลำธารที่ปกคลุมไปด้วยหมอกน้ำค้าง ผมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในการสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอบนกระแสน้ำ ทำให้แลดูอ่อนละมุนเหมือนแพรไหม จากนั้น ผมได้เพิ่มเฉดสีน้ำเงินขึ้นอีกเล็กน้อยโดยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น "แสงแดด"
ฉากและวิธีการที่ใช้
ขณะที่ผมถ่ายฉากนี้ ท้องฟ้ามีเมฆครึ้มและม่านหมอกแผ่ปกคลุมที่บริเวณต้นน้ำ หมอกล่องลอยไปในอากาศเหนือผืนน้ำและไม่ได้จับตัวกันเหนือระดับความสูงนั้น ผมจึงเลือกสถานที่ที่มีหมอกจางกว่าและตั้งขาตั้งกล้องจากบริเวณที่ผมสามารถมองเห็นกระแสน้ำของลำธารได้
จุดที่ 1: การตั้งค่ารูรับแสงที่สร้างความลึก – f/13
สำหรับฉากเช่นในภาพนี้ การสร้างความลึกให้กับภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการลดค่ารูรับแสงเพื่อเพิ่มระยะชัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยลดค่ารูรับแสงในเฟรมทั้งในส่วนต้นน้ำและปลายน้ำของลำธาร ดังนั้น ภาพกระแสน้ำที่ได้จึงดูเด่นชัดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ผมลดขนาดรูรับแสงลงโดยลดความเร็วชัตเตอร์ จากนั้นตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/13 เพื่อขับเน้นมอสให้ดูโดดเด่นสะดุดตา
จุดที่ 2: ความเร็วชัตเตอร์ที่สื่อถึงพลัง – 4 วินาที
ผมคิดถึงวิธีที่จะถ่ายทอดการเคลื่อนไหวท่ามกลางความเงียบสงัด ดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จะเป็นตัวกำหนดว่าภาพกระแสน้ำจะออกมาเป็นอย่างไร ขณะที่ผมถ่ายภาพในโหมด Aperture-priority AE ผมได้ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 4 วินาที แต่ผมสามารถสื่อถึงการเคลื่อนไหวของสายน้ำได้มากพอ
จุดที่ 3: ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดส่วนที่สว่าง – เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง
หมอกและกระแสน้ำที่ไหลอยู่นั้นเป็นรายละเอียดที่สำคัญของภาพที่ผมต้องการทำให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดส่วนที่สว่างเกินไป ผมใช้ฟังก์ชั่นเน้นโทนภาพบริเวณสว่างภายในกล้อง เพื่อสร้างภาพหมอกและสายน้ำที่ขาวใสบริสุทธิ์ แม้ว่าฟังก์ชั่นนี้จะเพิ่มความไวแสง ISO เป็น 200 แต่การไล่โทนสีในบริเวณรายละเอียดที่สำคัญยังคงทำได้อย่างราบรื่น
เคล็ดลับ: หมอกเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกัน
คุณได้เห็นวิธีการถ่ายฉากที่ปกคลุมด้วยม่่านหมอกซึ่งให้ความรู้สึกลึกลับกันไปแล้ว และเพื่อให้คุณเห็นภาพว่าจะสามารถพบหมอกได้ที่ใดบ้าง เรามาดูกันว่าหมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร
หนึ่งในปัจจัยหลักคือความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตก เมื่อความกดอากาศต่ำพาดผ่านกระแสน้ำและแหล่งน้ำอื่นๆ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างสูง ในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูหนาว หมอกน้ำค้างหรือหมอกเกิดขึ้นจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างบรรยากาศเย็นกับแหล่งน้ำที่ค่อนข้างอุ่นกว่า ส่วนในช่วงฤดูร้อน กระแสน้ำที่ไหลในทะเลสาบและลำธารจะเย็นกว่าอากาศโดยรอบ แต่เมื่อฝนตกลงมา อากาศนี้จะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและเกิดหมอกขึ้น
ผมถ่ายภาพนี้ในช่วงบ่ายหลังกลางเดือนกรกฎาคม ดังนั้น จึงอาจมีหมอกเกิดขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำในลำธารและอุณภูมิของบรรยากาศโดยรอบมีความแตกต่างกัน
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!
EF24-70mm f/2.8L II USM
Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation