ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

4 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่จุดครั้งเดียวให้ดูสวยงาม

2017-08-17
1
2.76 k
ในบทความนี้:

ดอกไม้ไฟอาจถูกจุดเป็นลูกหรือเป็นชุดก็ได้ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่จุดครั้งเดียวให้เห็นรูปร่างอันสวยงามได้ชัดเจน (เรื่องโดย Gensaku Izumiya)

ข้อควรจำเกี่ยวกับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟ

 

กดชัตเตอร์เมื่อคุณได้ยินเสียงตูม และลั่นชัตเตอร์เมื่อเอฟเฟ็กต์ของดอกไม้ไฟจางลงเท่านั้น

ข้อควรจำเมื่อถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่จุดครั้งเดียว
- สังเกตดอกไม้ไฟลูกแรกเพื่อดูขนาดและความสูงที่ยิงขึ้นไป
- ติดตั้งกล้องลงบนขาตั้งกล้อง และใช้รีโมทสวิตช์ในการลั่นชัตเตอร์
- เปิดชัตเตอร์ทันทีที่คุณได้ยินเสียงตูม และปิดเมื่อเอฟเฟ็กต์ของดอกไม้ไฟจางลง
- ถ่ายภาพในแนวตั้งเพื่อจับภาพความสวยงามของดอกไม้ไฟให้ได้ทั้งหมด
× หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพหากโดยรอบมีควันมาก
× ฝุ่นละอองที่ออกมาพร้อมกับดอกไม้ไฟอาจฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ ดังนั้น ควรเช็ดเลนส์เป็นระยะ

การถ่ายภาพดอกไม้ไฟ

EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ 14mm/ Manual exposure (f/11, 9 วินาที)/ ISO 100/ WB: 3,064K
สถานที่: เทศกาลดอกไม้ไฟนะงะโนะ เอะบิสึ-โกะ (ปี 2016)

 

ควรลั่นชัตเตอร์เมื่อใด
แนะนำให้ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/11-16 และความเร็วชัตเตอร์ที่ 10 วินาทีล่วงหน้าก่อนลั่นชัตเตอร์

ควรลั่นชัตเตอร์เมื่อใดขณะถ่ายภาพดอกไม้ไฟ

1: กดปุ่มลั่นชัตเตอร์เมื่อคุณได้ยินเสียงยิงดอกไม้ไฟขึ้นไปในอากาศ
2: ลั่นชัตเตอร์เมื่อเอฟเฟ็กต์ของดอกไม้ไฟจางลง

 

สังเกตดอกไม้ไฟลูกแรก
หากดอกไม้ไฟแบบเดียวกันถูกยิงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง อย่าเพิ่งถ่ายภาพดอกไม้ไฟดอกแรก แต่ให้คุณสังเกตก่อน เพื่อให้ทราบว่าดอกไม้ไฟถูกยิงขึ้นไปสูงแค่ไหนบนท้องฟ้า และทราบระยะเวลานับจากวินาทีที่ดอกไม้ไฟระเบิดออกจนจางหายไปจนหมด เมื่อคุณทราบตำแหน่งแล้ว ให้ปรับเฟรมและลองถ่ายภาพดอกไม้ไฟดอกที่สองและดอกต่อๆ ไป

ผมขอแนะนำเทคนิค 4 ข้อในการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่ถูกจุดต่อเนื่องกันให้ดูสวยงาม

 

เคล็ดลับที่ 1: ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อรูปร่างของดอกไม้ไฟ

ในการถ่ายภาพตามมาตรฐาน การรับแสงขึ้นอยู่กับ รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ความไวแสง ISO อย่างไรก็ตาม สำหรับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟนั้น คุณต้องคำนึงถึงความเร็วชัตเตอร์ด้วยเมื่อจับภาพรูปร่างของดอกไม้ไฟ ตั้งค่าโหมดการรับแสงไปที่ "Bulb" และเปิดชัตเตอร์ค้างไว้จนกว่าดอกไม้ไฟระเบิดตัวออกอย่างเต็มที่

ทั้งสองภาพด้านล่างถ่ายโดยใช้ f/11 และ ISO 100 อย่างไรก็ตาม รูปร่างของดอกไม้ไฟนั้นแตกต่างกันเนื่องจากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่างกัน

○ ดอกไม้ไฟที่มีรูปร่างสวยงาม

ดอกไม้ไฟ (รูปร่างสวยงาม)

 

× เอฟเฟ็กต์ดอกไม้ไฟ (รูปร่างไม่สวย)

รูปร่างของดอกไม้ไฟไม่สวย (1 วินาที)



รูปร่างของดอกไม้ไฟไม่สวย (5 วินาที)

 

เคล็ดลับที่ 2: ความสว่างของดอกไม้ไฟขึ้นอยู่กับรูรับแสงและความไวแสง ISO

ใช้รูรับแสงและความไวแสง ISO ในการปรับความสว่างของดอกไม้ไฟ หากต้องการลดจุดรบกวน ให้ลองตั้งค่าความเร็ว ISO ไปที่ ISO 100 และตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11-16 หากภาพสว่างเกินไป ปรับรูรับแสงให้แคบลงที่ประมาณ f/22 เมื่อมองดูที่ใจกลางดอกไม้ไฟในภาพ คุณจะเห็นว่าเมื่อใช้ค่า f/11 ภาพออกมาดูสวยงาม อย่างไรก็ตาม หากใช้ค่า f/8 ภาพจะได้รับแสงมากเกินไปทำให้เกิดส่วนที่สว่างจ้า แต่ภาพจะดูมืดเมื่อใช้ f/22

○ ความสว่างที่เหมาะสม

ภาพดอกไม้ไฟที่มีความสว่างพอดี (f/11)

 

×สว่างเกินไป (สังเกตส่วนที่สว่างจ้าตรงกลาง)

ดอกไม้ไฟที่สว่างเกินไป

×มืดเกินไป

ดอกไม้ไฟที่มืดเกินไป

 

เคล็ดลับที่ 3: ลองถ่ายภาพจากมุมที่กว้างขึ้นเล็กน้อย แล้วครอปภาพ

เมื่อจัดองค์ประกอบภาพของดอกไม้ไฟที่ถูกยิงครั้งเดียว กฎพื้นฐานคือต้องให้เอฟเฟ็กต์ทั้งหมดของดอกไม้ไฟตั้งแต่เริ่มจุดจนกระทั่งจางไปอยู่ในเฟรม ลองถ่ายภาพจากมุมที่กว้างขึ้น เนื่องจากดอกไม้ไฟอาจมีขนาดใหญ่กว่าที่คุณคาดไว้ หรืออาจขยายออกเป็นทางยาว แนะนำให้ถ่ายจากระยะประมาณ 24 มม. จากนั้นจึงครอปภาพ

ใช้มุมรับภาพ 24 มม. แล้วครอปภาพ

 

เคล็ดลับที่ 4: ให้โฟกัสของดอกไม้ไฟอยู่ตรงกับตำแหน่งที่ถูกปล่อยออกมา

หากสามารถทำได้ ให้คุณวางโฟกัสให้ตรงกับ “ฐาน” ณ ตำแหน่งที่ดอกไม้ไฟถูกปล่อยออกมา เมื่อเริ่มมืดคุณจะมองไม่เห็นตำแหน่งนี้ ให้ทำการโฟกัสกล้องในขณะที่ข้างนอกยังสว่างอยู่ หลังจากตั้งค่าโฟกัสแบบแมนนวลไปที่ระยะอนันต์ (∞) ให้ปรับโฟกัสใน Live View เมื่อปรับโฟกัสเรียบร้อยแล้ว ให้ยึดวงแหวนปรับโฟกัสไว้กับที่ด้วยเทปกาว

ให้โฟกัสของดอกไม้ไฟอยู่ตรงกับตำแหน่งที่ถูกปล่อยออกมา

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพดอกไม้ไฟได้ที่บทความด้านล่าง
2 สิ่งในชีวิตประจำวันที่สามารถเปลี่ยนโฉมภาพถ่ายของคุณ
ต้อนรับปีใหม่ด้วยดอกไม้ไฟสีสันงดงามที่ Ancol ประเทศอินโดนีเซีย (ฉบับภาษาอังกฤษ)
การถ่ายภาพพลุดอกไม้ไฟ: วิธีถ่ายภาพ
ถ่ายภาพการแสดงดอกไม้ไฟด้วยมืออย่างไรให้มีศิลปะ!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Gensaku Izumiya

เกิดที่เมืองอะกิตะเมื่อปี 1959 การถ่ายภาพดอกไม้ไฟคือความหลงใหลที่มีมายาวนานในชีวิตของ Izumiya เขาถ่ายภาพทิวทัศน์ งานโฆษณา ผู้คน สินค้า และการทำอาหาร และสร้างสรรค์ภาพถ่ายเกี่ยวกับไฟและน้ำเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา