เคล็ดลับเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์: วิธีเก็บภาพดอกไม้ไฟทั้งชุดไว้ในเฟรมเดียวกัน
เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้ดูสวยงาม จังหวะเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากเราต้องลั่นชัตเตอร์ในเวลาที่พอเหมาะพอดี เราจะมาดูภาพตัวอย่างเพื่อศึกษาวิธีกำหนดความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายฉากประเภทนี้กัน (เรื่องโดย Gensaku Izumiya)
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 15 วินาที)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ
กดปุ่มชัตเตอร์เมื่อดอกไม้ไฟถูกจุดขึ้นบนท้องฟ้า แล้วลั่นชัตเตอร์เมื่อดอกไม้ไฟแตกกระจายออก
เพื่อทราบเวลาที่จะกดชัตเตอร์ คุณจำเป็นต้องเข้าใจว่าดอกไม้ไฟจะยิงขึ้นไปบนท้องฟ้าอย่างไร และดอกไม้ไฟจะแตกตัวออกมาเป็นรูปแบบใด ก่อนอื่น คุณควรจดจำลักษณะที่ดอกไม้ไฟดวงแรกปรากฏขึ้น แล้วลั่นชัตเตอร์ทันทีที่ดอกไม้ไฟถูกยิงขึ้นไปบนท้องฟ้า (บทความนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดอกไม้ไฟ)
แล้วความเร็วชัตเตอร์เท่าใดจึงจะเหมาะสม
สำหรับการถ่ายภาพเอฟเฟ็กต์ดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นฟ้าอย่างต่อเนื่องดังเช่นในตัวอย่างนี้ โดยปกติการเปิดรับแสงที่ 1 วินาทีจะช่วยให้สามารถเก็บภาพเอฟเฟ็กต์ดอกไม้ไฟดวงแรก ((1) ในภาพด้านบน) ได้เท่านั้น แล้วจะทำอย่างไรจึงจะเก็บภาพดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นหลังจากนั้น และรวมชุดดอกไม้ไฟทั้งหมดไว้ในเฟรมเดียวกันได้ ((2) และ (3) ในภาพด้านบน) วิธีการคือ คุณจะต้องพิจารณาว่าจะต้องเปิดชัตเตอร์นานเท่าใด เพื่อเก็บภาพดอกไม้ไฟดวงที่สามขณะแตกกระจายออกเต็มที่ได้อย่างสวยงาม
จากประสบการณ์ของผม ความเร็วชัตเตอร์ 5 และ 10 วินาที มักช่วยให้สามารถเก็บภาพดอกไม้ไฟได้ถึงดวงที่สองเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการเก็บภาพดอกไม้ไฟดวงที่สาม คุณอาจต้องเปิดชัตเตอร์ไว้ให้นานอีกเล็กน้อย ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดจึงควรอยู่ที่ 15 - 20 วินาที ส่วนความเร็วจริงนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของดอกไม้ไฟ สำหรับฉากในภาพด้านบน ความเร็ว 15 วินาทีเหมาะที่สุด เพราะเมื่อผมลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ 20 วินาที ดอกไม้ไฟเริ่มเคลื่อนตัวลงต่ำและดูหนาทึบแล้ว ส่วนหลักการทั่วไปคือ พยายามลั่นชัตเตอร์ทันทีที่ดอกไม้ไฟแตกตัวออกเต็มที่จนเกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการของความเร็วชัตเตอร์ อ่านได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #2: ความเร็วชัตเตอร์
1 วินาที
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 1 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
5 วินาที
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 5 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
10 วินาที
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 10 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
15 วินาที - ภาพที่ดีที่สุด
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 15 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
20 วินาที
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 20 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพเสีย: หากจังหวะลั่นชัตเตอร์ช้าเกินไป ลวดลายของดอกไม้ไฟจะจางลง
EOS 5DS/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/11, 3.9 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพนี้ถ่ายโดยใช้โหมด Bulb ชัตเตอร์จึงยังคงเปิดค้างไว้อยู่ เมื่อดอกไม้ไฟดวงหลักมีลักษณะเหมือนต้นหลิวทรงพุ่มเหมือนในกรณีนี้ หลักการพื้นฐานคือ ลั่นชัตเตอร์เมื่อดอกไม้ไฟแตกตัวออก หากจังหวะการลั่นชัตเตอร์เร็วเกินไป เราจะไม่สามารถเก็บภาพดอกไม้ไฟได้ทั้งหมด แต่หากช้าเกินไป ดอกไม้ไฟก็จะจางหายไป
คลิกที่นี่เพื่ออ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดอกไม้ไฟ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองอะกิตะเมื่อปี 1959 การถ่ายภาพดอกไม้ไฟคือความหลงใหลที่มีมายาวนานในชีวิตของ Izumiya เขาถ่ายภาพทิวทัศน์ งานโฆษณา ผู้คน สินค้า และการทำอาหาร และสร้างสรรค์ภาพถ่ายเกี่ยวกับไฟและน้ำเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society