ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น >> All Happenings

CPMC 2019: จับเข่าคุยกับ Mohd Safuan ผู้ชนะรางวัลที่ 1

2019-06-26
5
761
ในบทความนี้:

สำหรับ Mohd Safuan bin Salahudin แชมป์การแข่งขัน Canon PhotoMarathon Asia Championship 2019 (CPMC2019) การถ่ายภาพคือสิ่งที่เขารักมากจนตัดสินใจลาออกจากการทำงานในตำแหน่งวิศวกรอย่างง่ายดายเพื่อมาเป็นช่างภาพเต็มตัว เขาเล่าให้เราฟังถึงการเดินทางในสายช่างภาพ กลยุทธ์ที่ช่วยให้เขาชนะการประกวดภาพถ่ายหลายต่อหลายครั้ง และเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังภาพที่เขาถ่ายในงาน CPMC2019

 

สวัสดี Safuan ยินดีด้วยกับการเป็นผู้ชนะการแข่งขัน! ช่วยแนะนำตัวเองและพูดถึงเส้นทางการถ่ายภาพของคุณสักนิดได้ไหม

ทั้งปู่และพ่อของผมต่างก็รักในการถ่ายภาพ ผมเริ่มเอากล้องของปู่ที่เสียไปแล้วมาถ่ายรูปเล่นตั้งแต่อายุประมาณ 5 ขวบ และได้ซื้อกล้องฟิล์มของตัวเองเป็นครั้งแรกในปี 1998 เรามักจะลืมเรื่องราวต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ผมจึงชอบที่การถ่ายภาพช่วยให้คุณเก็บรักษาช่วงเวลาเหล่านั้นเอาไว้และแบ่งปันให้ผู้อื่นได้เห็นด้วย

สมัยที่ผมยังเป็นนักเรียน ผมจะถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆ และถ่ายรูปหมู่ของเพื่อนร่วมชั้น พิมพ์มันออกมา และขายให้กับพวกเขา ผมทำเช่นนี้มาตลอดในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย จนกระทั่งเรียนจบในปี 2008

ผมมีใจรักด้านการถ่ายภาพเสมอมา แต่พ่อแม่อยากให้ผมเริ่มทำงานด้วยอาชีพที่มีความมั่นคง ผมจึงทำงานประจำเป็นวิศวกร แต่ก็ยังคงทำงานเป็นช่างภาพพาร์ทไทม์ด้วยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งผมจะถ่ายภาพในงานแต่งงานหรืองานอีเวนท์ต่างๆ และในที่สุด ผมก็ได้ซื้อกล้อง DSLR ตัวแรกในปี 2010 จากรายได้ของตัวเอง

ในปี 2013 ผมลาออกจากการเป็นวิศวกรและหันมาทำงานถ่ายภาพเต็มเวลา


การลาออกจากงานที่มีความมั่นคงเพื่อมาเป็นช่างภาพอิสระเต็มตัวอาจเป็นการตัดสินใจที่ยากสำหรับคนส่วนใหญ่ อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณตัดสินใจได้

ผมคิดว่าสำหรับผม ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความรัก แม้ในขณะที่ยังเป็นวิศวกรอยู่ ผมก็ยังใช้เวลามากมายไปกับการถ่ายภาพ ทั้งในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และกลางดึก และผมก็มีความสุขที่ได้ทำอย่างนั้น ในที่สุด ผมก็ตระหนักว่าการถ่ายภาพทำให้ผมมีความสุขมากกว่า มีเวลามากกว่า และทำรายได้ให้ผมมากกว่าการใช้ชีวิตเป็นวิศวกรเสียอีก ผมจึงตัดสินใจ “ล้างมือ” จากการเป็นวิศวกรและเริ่มทำงานเป็นช่างภาพแบบเต็มเวลา


คุณได้พบกับความท้าทายอะไรบ้าง และคุณเอาชนะมันได้อย่างไร

ก่อนออกจากงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ผมก็เจออุปสรรคใหญ่  มีโจรงัดรถผมและขโมยอุปกรณ์ไปหมด! ผมต้องใช้อุปกรณ์ของเพื่อนร่วมทีม (กล้อง EOS 40D และ EOS 60D) หลังจากนั้นอยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งได้ซื้อกล้อง EOS 6D ในปี 2015

นอกจากนั้น ผมคิดว่าผมค่อนข้างโชคดีทีเดียว ในตอนแรกผมไม่ค่อยมีลูกค้า แต่โชคดีที่มีคนรู้จักอยู่บ้างเพราะเคยทำงานถ่ายภาพแบบพาร์ทไทม์มาก่อน เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็มีคนรู้ว่าผมเป็นช่างภาพ

การชนะการแข่งขันในรายการอย่าง Canon PhotoMarathon (CPM) Malaysia และการได้เข้าร่วมการแข่งขัน Canon Photo Face-Off (CPO) ช่วยสร้างชื่อเสียงในวงการให้ผมเนื่องจากเป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพและความสามารถที่ผมมี ส่วนงาน CPMC2019 เปิดให้ผมได้มากยิ่งกว่านั้น คือให้โอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างความสัมพันธ์ภายในวงการถ่ายภาพ 

Mohd Safuan กำลังตรวจดูกล้อง EOS R ของตัวเอง

Mohd Safuan ดูภาพที่เขาถ่ายด้วยกล้อง EOS R ระหว่างการแข่งขันในงาน CPMC2019

(หมายเหตุ: Mohd Safuan เป็นผู้ชนะรางวัลที่ 1 ในงาน Canon PhotoMarathon Malaysia ในปี 2016 และ 2017 ผู้ชนะรางวัลใหญ่ในงาน Canon PhotoMarathon Malaysia 2018 และล่าสุดเป็นผู้ชนะรางวัลที่ 1 ในงาน Canon PhotoMarathon Championship Asia 2019)


นอกจากนั้นแล้ว การแข่งขันอย่าง Canon PhotoMarathon และ Canon Photo Face-Off ช่วยให้คุณเติบโตขึ้นอย่างไรในฐานะช่างภาพ

ทั้งงาน CPM, CPMC2019 และ PFO ล้วนแล้วแต่ทดสอบความสร้างสรรค์ของเรา งาน CPM และ CPMC พาเราไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จักเพื่อถ่ายภาพในเวลาจำกัด ผมได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับข้อจำกัดเหล่านั้นและถ่ายภาพที่ไม่เหมือนใครให้ตรงกับธีมที่กำหนด สำหรับงาน PFO เราต้องใช้กล้องที่ผู้จัดงานเตรียมไว้ให้ซึ่งอาจเป็นรุ่นใดก็ได้สำหรับใช้ถ่ายภาพตามโจทย์ที่คาดไม่ถึงในสถานที่ที่ไม่คาดคิด คุณต้องตัดสินใจโดยไม่มีเวลาไตร่ตรองก่อนและใช้ความคิดสร้างสรรค์แม้ต้องถ่ายภาพด้วยกล้องที่เราไม่คุ้นเคย ซึ่งทำให้เห็นว่าทักษะของช่างภาพแท้จริงแล้วมีความสำคัญแค่ไหน

ผมได้พบกับเพื่อนใหม่มากมายจากประเทศต่างๆ ในเอเชียภายในงาน CPMC เราทำงานร่วมกันและแบ่งปันผลงานของเรา รวมทั้งของคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งทำให้เราได้แรงบันดาลใจจากกันและกัน ในงาน PFO ผมมีโอกาสได้พบและเรียนรู้จาก Justin Mott ช่างภาพมืออาัชีพที่ชนะการประกวดในระดับนานาชาติ และเขายังได้ตัดสินภาพที่ผมถ่ายอีกด้วย ซึ่งผมได้รับคำแนะนำที่มีคุณค่ามาก

Mohd Safuan กับ GOTO AKI และ Hirokazu Nagane

Mohd Safuan (กลาง) กับ GOTO AKI วิทยากรงาน CPMC (ขวา) และ Hirokazu Nagane วิทยากรรับเชิญ (ซ้าย)


คุณชนะการแข่งขันถ่ายภาพมาหลายรายการ บอกได้ไหมว่ากลยุทธ์ของคุณคืออะไร

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าผู้จัดงานต้องการอะไร ถ้าคุณทราบว่าใครเป็นผู้ตัดสิน คุณก็จะทราบว่าสไตล์และรสนิยมของพวกเขาเป็นอย่างไร จากนั้นก็วางแผน ซึ่งคุณจะต้องพยายามคิดนอกกรอบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ตรงกับธีม มันก็เหมือนการเอาชนะใจผู้หญิง เราต้องรู้ว่าจะรับมือกับเธอได้อย่างไร


อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณได้เรียนรู้จากการแข่งขันเหล่านี้

ผมได้เรียนรู้ที่จะอดทน ประสบการณ์ในอดีตทำให้ผมตระหนักว่าถึงแม้จะวางแผนการถ่ายภาพมาก่อนล่วงหน้า ผมก็จะไขว้เขวถ้าปล่อยให้ความตื่นเต้นเข้ามาครอบงำ สมองจำเป็นต้องสงบนิ่งและผ่อนคลายหากต้องการความคิดสร้างสรรค์ ผมจึงขอแนะนำผู้เข้าร่วมแข่งขันถ่ายภาพว่า อย่ากังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่ให้สนุกไปกับประสบการณ์ที่ได้รับ และอย่าเครียด อย่ารีบร้อนถ่ายภาพจนเกินไป พยายามมองและทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยถ่ายภาพ

 

ภาพถ่ายบางส่วนของ Mohd Safuan จากงาน CPMC2019 และเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลัง

ดอกซากุระและผึ้ง

โจทย์อิสระ/ สถานที่: ริวงันบูชิ
EOS R/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/10, 1/1000 วินาที, EV+0.7)/ ISO 800/ WB: Manual

นี่เป็นภาพโปรดของผมและเป็นภาพที่น่าจดจำที่สุดด้วย ผมถ่ายภาพนี้ที่ริวงันบูชิ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นจุดที่มีชื่อเสียงสำหรับการถ่ายภาพต้นซากุระโดยมีภูเขาไฟฟูจิเป็นฉากหลัง แต่โชคไม่ดีที่ดอกซากุระยังบานไม่เต็มที่เมื่อเราไปที่นั่น  แต่พอผมเข้าไปใกล้ต้นซากุระต้นหนึ่ง ผมก็เห็นผึ้งบินอยู่รอบๆ ดอกซากุระ เพราะทราบว่าซากุระเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ผมจึงตัดสินใจถ่ายภาพผึ้งกับดอกซากุระแบบมาโคร

ผมใช้เวลาเกือบ 40 นาทีในการเฝ้ามองผึ้งและดอกซากุระและภาวนาต่อพระเจ้าให้ได้ภาพดีๆ ที่จะช่วยให้ผมชนะการแข่งขัน คำอธิษฐานของผมเป็นจริงเมื่อผึ้งตัวหนึ่งบินออกมาจากดอกซากุระ และผมก็ได้ภาพนี้มา ซึ่งมีความคมชัดและมีการจัดวางที่สมบูรณ์แบบ


หากคุณสนใจการถ่ายภาพซากุระ ต่อไปนี้คือจุดถ่ายภาพและเคล็ดลับต่างๆ 
การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ: ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3

 

รถจักรไอน้ำบนสะพานเหนือแม่น้ำ

โจทย์อิสระ/ สถานที่: ระหว่างเดินทางไปยังสถานี Senzu
EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Shutter-priority AE (f/10, 1/80 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: Manual

ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณ Hirokazu Nagane (ฉบับภาษาอังกฤษ) ช่างภาพรถไฟคนดังซึ่งมาร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในงาน CPMC2019 เขาใส่ทิวทัศน์และรถไฟเข้ามาในภาพเดียว และผมพบว่าภาพนี้น่าทึ่งมาก เนื่องจากเรามีโอกาสให้เขาดูภาพที่เราถ่าย ผมจึงพยายามถ่ายภาพที่ผมคิดว่าจะทำให้เขาประทับใจได้ และภาพนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ผมถ่ายภาพนี้บนรถบัสระหว่างเดินทางไปยังสถานี Senzu ผมจินตนาการภาพรถจักรไอน้ำกำลังแล่นเข้าไปในอุโมงค์ที่ไม่มีใครรู้จัก เหมือนฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “เจาะเวลาหาอดีต” (Back to the Future)

 

ผู้เข้าร่วมแข่งขันงาน CPMC2019 ที่หาดโอตาโกะ

โจทย์ข้อที่ 5: ช่วงเวลา/ สถานที่: หาดโอตาโกะ
EOS R/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure(f/5, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ชายทะเลที่หาดโอตาโกะเป็นจุดที่มีชื่อเสียงสำหรับการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก จะเกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ตกอยู่ตรงกลางระหว่างเกาะสองเกาะอย่างพอดิบพอดีสองครั้งต่อปี

และธีมในที่นี้คือ “ช่วงเวลา” ทุกคนจึงตั้งใจจะถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าภาพของผมแตกต่างจากคนอื่น ผมตัดสินใจถ่ายภาพช่วงเวลานั้นในแบบที่แตกต่างออกไปแทน นั่นก็คือช่วงเวลาที่ช่างภาพจากทั่วโลกกำลังถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกนี้ ซึ่งช่วงเวลานี้แหละ ที่เป็นที่น่าจดจำ

ผมเลือกถ่ายภาพในแบบขาวดำ เพื่อถ่ายถอดจิตวิญญาณของภาพนั้นออกมา แม้ว่าผมไม่ได้เก็บภาพแสงสวยๆ ในช่วงเวลาทอง (ฉบับภาษาอังกฤษ) แต่นั่นกลับทำให้ผมใส่ใจกับทิศทาง ปริมาณ และคุณภาพของแสงที่อยู่รอบตัวได้มากขึ้น และผมยังรู้สึกด้วยว่าการใช้ภาพขาวดำช่วยถ่ายทอดอารมณ์ของตัวแบบได้ดีกว่า


ติดตามอ่านคำบอกเล่าประสบการณ์จาก GOTO AKI วิทยากรผู้สอนการถ่ายภาพในงาน CPMC2019 ได้ในบทความต่อไป

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน CPMC ครั้งที่ผ่านมาได้ที่:
มองต่างเลนส์: บทสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขัน CPMC ประจำปี 2018
รายงาน Canon PhotoMarathon Asia Championship: การประลองฝีมือเพื่อชิงความเป็นหนึ่งในการสู้ศึกครั้งสุดท้ายที่ญี่ปุ่น

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
GOTO AKI: เปลี่ยนอาชีพเพื่อเดินตามความฝันในการถ่ายภาพ
คุณอยากเป็นช่างภาพอิสระใช่หรือ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา