ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพต้นซากุระในญี่ปุ่น: จุดชมวิวและเคล็ดลับของช่างภาพมืออาชีพ (1)

2017-03-02
2
12.1 k
ในบทความนี้:

ซากุระเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น แต่เมื่อแต่ละภูมิภาคมีช่วงเวลาที่เหมาะแก่การชมซากุระที่แตกต่างกัน คุณจะสามารถถ่ายภาพดอกไม้ได้อย่างน่าประทับใจได้อย่างไร ในตอนที่ 1 ของบทความ 2 ตอนต่อเนื่องนี้ เราจะมาดูจุดชมวิวต่างๆ ที่มีดอกซากุระบานสะพรั่งเต็มที่ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน และเรียนรู้เคล็ดลับบางประการในการถ่ายภาพซากุระให้สวยงามมากที่สุด (เรื่องโดย Fumio Tomita, Makoto Hashimuki, Shirou Hagihara)

 

1: ซากุระใหญ่แห่งอิชชินเกียว (จังหวัดคุมาโมะโตะ คิวชู)

เพิ่มอุณหภูมิสีด้วย WB เพื่อถ่ายทอดแสงในยามเช้า

ฉากนี้ผมถ่ายภาพต้นซากุระที่ต้องแสงอรุณแรกในยามเช้า เนื่องจากอุณหภูมิสีของแสงค่อนข้างต่ำในตอนเช้า การถ่ายทอดสีสันต่างๆ เช่น สีแดง ส้ม และเหลือง จึงต้องทำในลักษณะที่เน้นสีสันของซากุระโดยรวมและบรรยากาศในยามเช้าให้ดูโดดเด่นมากขึ้น ผมตัดสินใจเลือกมุมถ่ายภาพ หลังจากพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น รูปทรงของต้นไม้ จำนวนดอกไม้ ตำแหน่งของดอกเรพซีด ซึ่งมักจะบานในฤดูใบไม้ผลิที่ญี่ปุ่น (ส่วนล่างของภาพ) และแบ็คกราวด์

ในช่วงเช้าและช่วงเย็น แสงสว่างจะลดลง เราจึงไม่สามารถถ่ายทอดบรรยากาศยามเช้าได้อย่างสมจริงหากถ่ายภาพโดยใช้ AWB (สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ) อย่างไรก็ดี การเพิ่มอุณหภูมิสีในการตั้งค่า WB ภายในกล้อง จะเพิ่มโทนสีแดงในภาพถ่ายโดยรวม ซึ่งช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดบรรยากาศของต้นไม้ที่อาบไล้ไปด้วยแสงในยามเช้าหรือยามเย็นได้ ควรระมัดระวังอย่าตั้งอุณหภูมิสีสูงจนเกินไป มิฉะนั้นภาพที่ได้จะดูไม่เป็นธรรมชาติ

EOS-1Ds Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 95 มม./ Manual exposure (f/18, 1/3 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: 7,000K
ภาพโดย: Fumio Tomita/ สถานที่: Minamiaso-mura, Aso-gun จังหวัดคุมาโมะโตะ
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ปลายเดือนมีนาคม/ เวลาถ่ายภาพ: 7:00 น.

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี: เมื่อถ่ายภาพโดยใช้ AWB แสงยามเช้าจะส่งผลกระทบทางอารมณ์น้อยลง

EOS-1Ds Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 95 มม./ Manual exposure (f/16, 1/3 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัติโนมัติ
ภาพโดย: Fumio Tomita

เมื่อถ่ายภาพโดยใช้ AWB โทนสีแดงในแสงยามเช้าจะลดลง ดังนั้น แม้ว่าเราจะถ่ายทอดสีสันของต้นซากุระเดิมได้อย่างสมจริง แต่กล้องก็ไม่อาจสื่อพลังทางอารมณ์ของภาพต้นซากุระขนาดใหญ่ที่ห้อมล้อมด้วยแสงยามเช้า

 

2: Ryuganbuchi, Uruigawa River (จังหวัดชิซุโอกะ ตอนกลางเกาะฮอนชู)

ลดการเปิดรับแสงเพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณที่มีหิมะสว่างจ้าจนเกินไป

ภาพนี้ถ่ายในสถานที่ซึ่งมีต้นซากุระอยู่ในส่วนโฟร์กราวด์ และมีภูเขาไฟฟูจิสูงตระหง่านในส่วนแบ็คกราวด์ เนื่องจากม่านหมอกจะหนาตัวขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้น ผมขอแนะนำให้ถ่ายภาพในตอนเช้าซึ่งมีอากาศแจ่มใสกว่า และเพื่อให้ภาพส่งผลทางอารมณ์มากที่สุด ควรถ่ายภาพในขณะที่ดอกซากุระบานสะพรั่ง และควรระมัดระวังเกี่ยวกับการเปิดรับแสงด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้น ภาพหิมะที่ปกคลุมยอดภูเขาไฟฟูจิอาจจะมีโอกาสที่จะสว่างจ้าเกินไป ดังนั้น เพื่อผลลัพธ์ภาพที่ดียิ่งขึ้น ให้ลองลดการเปิดรับแสงในการถ่ายภาพ

นอกจากนี้ เนื่องจากสถานที่นี้คราคร่ำไปด้วยช่างภาพจำนวนมาก จึงควรใช้ระยะเทเลโฟโต้เพื่อตัดผู้คนออกไปจากภาพ นอกจากนี้ บริเวณดังกล่าวมีสะพานแคบๆ ซึ่งมีผู้คนเดินผ่านไปมามากมาย จึงควรระมัดระวังสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุอีกด้วย

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 93 มม./ Manual exposure (f/8, 1/320 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัติโนมัติ
ภาพโดย: Makoto Hashimuki/ สถานที่: Kuzawa, Fuji-shi, จังหวัดชิซุโอกะ
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ปลายเดือนมีนาคม/ เวลาถ่ายภาพ: 11:00 น.

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี: การรวมผู้คนไว้ในเฟรมจะทำให้ภาพถา่กลายเป็นผลงานบันทึกฉากในช่วงเวลาดังกล่าวเท่านั้น

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 88 มม./ Manual exposure (f/8, 1/400 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัติโนมัติ
ภาพโดย: Makoto Hashimuki

หากเรารวมผู้คนไว้ในเฟรมภาพ ภาพจะดูเหมือนแสดงรายละเอียดของสิ่งที่อยู่ในภาพถ่ายเท่านั้น จึงควรเลือกมุมภาพและสถานที่ที่ผู้คนจะไม่ปรากฏในภาพถ่ายของคุณ

 

3: สวนสาธารณะ Gokanjoshi (จังหวัดกุนมะ ทางตะวันออกของเกาะฮอนชู)

ใส่ต้นซากุระไว้บริเวณด้านบนและด้านล่างของภาพ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกหนาแน่น

ภาพนี้ถ่ายระหว่างที่เดินตามเส้นทางธรรมชาติซึ่งนำขึ้นไปสู่เทือกเขา เทือกเขา Myogi ดูราวกับตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางระหว่างต้นซากุระที่อยู่ด้านบนและด้านล่าง ผมเพิ่มความสูงของขาตั้งกล้องเพื่อทำให้ระยะห่างระหว่างต้นซากุระที่ยื่นออกมากับภูเขาดูใกล้กันมากที่สุด เพื่อเติมเต็มพื้นที่ว่างในภาพและถ่ายทอดความรู้สึกหนาแน่น วิธีนี้ทำให้ได้ภาพถ่ายที่สื่อถึงดอกไม้บานสะพรั่งและส่งกลิ่นหอมรัญจวนในฤดูใบไม้ผลิ

นอกจากนี้ การวางต้นซากุระในแนวตั้งเพื่อให้มองเห็นกิ่งไม้ได้อย่างชัดเจนจะช่วยเน้นความงดงามตระการตาของต้นซากุระยามต้องแสงอาทิตย์ยามเย็นได้อย่างมาก และในขณะเดียวกันยังสื่อถึงความสูง ขนาด และความยิ่งใหญ่ของเทือกเขา Myogi ได้อีกด้วย

เมื่อถ่ายภาพจากสถานที่นี้ คนส่วนใหญ่อาจจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้เฉพาะเทือกเขาและต้นซากุระที่บริเวณด้านล่างของภาพเท่านั้น แม้ว่าการวางภูเขาไว้ด้านหลังต้นซากุระจะสามารถสื่อถึงพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลได้ แต่การเพิ่มต้นซากุระที่ยื่นออกมาเข้าไปด้วยจะช่วยเน้นความน่าสนใจและเพิ่มความโดดเด่นขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

เนื่องจากท้องฟ้าในแบ็คกราวด์มีความสว่าง ดังนั้น หากเราใช้การปรับระดับแสงอัตโนมัติ กล้องจะได้รับผลกระทบจากความสว่างดังกล่าวและทำให้ภาพมืดลงได้ การถ่ายทอดความงามของต้นซากุระในฉากนี้จึงจำเป็นต้องทำให้ภาพดูสมจริงราวกับเห็นด้วยตาตนเอง หรืออย่างน้อยก็ทำให้ภาพสว่างขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น ในภาพนี้ ผมจึงตั้งค่าการชดเชยแสงเป็น EV+1.0

EOS 5D Mark II/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 20 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/15 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย: Shirou Hagihara/ สถานที่: Nakagokan, Annaka-shi, จังหวัดกุนมะ
ช่วงที่เหมาะแก่การชมมากที่สุด: ต้นเดือนเมษายน/ เวลาถ่ายภาพ: 17:30 น.

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี 1: การวางต้นซากุระบริเวณด้านล่างของภาพเพียงอย่างเดียวจะทำให้ภาพดูน่าสนใจน้อยลง

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 85 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/20 วินาที, EV-0.7)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย: Shirou Hagihara

หากเราวางต้นซากุระบริเวณด้านล่างของภาพอย่างเดียวจะเพิ่มความรู้สึกถึงทิวทัศน์อันกว้างใหญ่ไพศาลได้ แต่ต้นซากุระจะดูไม่โดดเด่นเท่าที่ควร

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี 2: หากไม่ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก ต้นซากุระจะดูมืดลง

EOS 5D Mark II/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 20 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/15 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย: Shirou Hagihara

เนื่องจากท้องฟ้ากินพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพ ต้นซากุระจึงดูมืดหากเราไม่ใช้การชดเชยแสง และภาพจะขาดความน่าดึงดูดไป

สถานที่ตั้งของจุดชมวิว 

 

1: ซากุระใหญ่แห่งอิชชินเกียว (จังหวัดคุมาโมะโตะ)
2: Ryuganbuchi, Uruigawa River (จังหวัดชิซุโอกะ)
3: สวนสาธารณะ Gokanjoshi (จังหวัดกุนมะ)

 

ในตอนต่อไป เราจะนำเสนอจุดชมวิวต่อไปนี้ ซึ่งจะมีดอกซากุระบานสะพรั่งในช่วงหลังจากนั้นเล็กน้อย คือตั้งแต่ช่วงกลางจนถึงปลายเดือนเมษายน (บริเวณที่เป็นสีน้ำเงินบนแผนที่):

- บ้านเรือแห่งอิเนะ (“อิเนะ-โนะ-ฟุนะยะ”) และซากุระแห่งวัดไคโซะจิ (จังหวัดเกียวโต ทางตะวันตกของเกาะฮอนชู)
- สวนสาธารณะ Takada (จังหวัดนีงะตะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู)
- สวนสาธารณะ Kitakami Tenshochi (จังหวัดอิวะเตะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู)
- ซากุระ Ageishi Fudo  (จังหวัดฟุกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮอนชู)

 

หากต้องการทราบเคล็ดลับและเทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพต้นซากุระ เข้าไปดูได้ที่:
การถ่ายภาพต้นซากุระ: ควรถ่ายที่ระยะมุมกว้างหรือเทเลโฟโต้ดี
วิธีถ่ายภาพดอกซากุระให้มีความละเอียดแต่ดูชวนฝันด้วยซอฟต์ฟิลเตอร์

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Makoto Hashimuki

เกิดเมื่อปี 1977 ที่จังหวัดชิซุโอกะ Hashimuki เริ่มถ่ายภาพหลังจากซื้อกล้องมิเรอร์เลสในปี 2012 ความงดงามของภูเขาไฟฟูจิสะกดใจเขา หลังจากนั้นเขาจึงซื้อกล้อง EOS 6D และเลนส์อื่นๆ ของ Canon เพื่อพัฒนาการถ่ายภาพอย่างจริงจังยิ่งขึ้น ภาพภูเขาไฟฟูจิที่เขาถ่ายได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์มากมายในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งนิตยสารการถ่ายภาพและปฏิทิน

Instagram: @hashimuki

Fumio Tomita

เกิดที่กรุงโตเกียว หลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography เขาได้เรียนถ่ายภาพจากช่างภาพภูเขา ก่อนจะผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเชี่ยวชาญการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น

Shirou Hagihara

เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University, Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ Fukei Shashin ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา