เลนส์มาตรฐานสามารถถ่ายภาพให้มีมุมมองเปอร์สเปคทีฟและเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงวิธีการสร้างสรรค์และถ่ายทอดองค์ประกอบภาพที่ทำโดยใช้เพียงเลนส์มาตรฐานเท่านั้น (เรื่องโดย: Mutsumi Ishibashi)
การทำงานของเลนส์
ความสามารถในการจัดองค์ประกอบภาพของเลนส์มาตรฐานเป็นสิ่งที่สำคัญ
นี่เป็นหนึ่งในภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF24-70mm f/4L IS USM เลนส์ชนิดนี้เหมาะสำหรับการสร้างภาพถ่ายที่เรียบง่าย และมีจุดเด่นในเรื่องความสามารถในการถ่ายภาพทิวทัศน์จากมุมมองปกติ หรืออาจบอกว่า เลนส์นี้ไม่เหมาะกับการสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่แตกต่างน่าสะดุดตา การจัดองค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์แบบจึงมาจากการใช้เลนส์ซูมที่มีมุมรับภาพมาตรฐาน หากองค์ประกอบภาพมั่นคง จะสามารถถ่ายภาพที่นอกจากจะให้ภาพสมจริงแล้ว ยังให้คุณได้จินตนาการต่อถึงบรรยากาศแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็นในภาพอีกด้วย
ภาพถ่ายพื้นที่ในป่าด้านล่างนี้ปกคลุมด้วยหิมะบางส่วนที่ยังไม่ละลายด้านหลังหมู่ต้นบีชที่กระจายตำแหน่งเสมอกัน ด้วยองค์ประกอบภาพแบบนี้ จึงเกิดการถ่ายทอดบรรยากาศของฤดูใบไม้ผลิพร้อมความสดชื่น
EOS 5D Mark III/EF24-70mm f/4L IS USM/FL: 50 มม./ Manual exposure(1/15 วินาที, f/13)/ISO 200/WB:แสงแดด
ป่าบีชในจังหวัดฟูกูชิมะ ผืนป่าที่เก็บภาพในฤดูใบไม้ผลิพร้อมร่องรอยหิมะที่ยังหลงเหลือให้เห็นได้ระหว่างต้นไม้และท่ามกลางใบต้นบีชสีเขียวที่ดูอ่อนโยน
EF24-70mm f/4L IS USM
เลนส์ 24-70mm ตัวนี้สามารถครอบคลุมตั้งแต่ระยะมุมกว้างไปจนถึงระยะเทเลโฟโต้เล็กน้อย ด้วยระยะการถ่ายต่ำสุด 0.2 เมตร ความสามารถในการถ่ายภาพระยะโคลสอัพของเลนส์นี้จึงถือว่าล้ำหน้ามาก มีขนาดค่อนข้างเล็กและง่ายต่อการจับถือ ด้วยความยาวรวม 93 มม. และน้ำหนัก 600 กรัม เป็นเลนส์ที่คุณวางใจให้ถ่ายภาพสวยคุณภาพดีเยี่ยมของคุณได้
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF24-70mm f/4L IS USM
กระจายตำแหน่งต้นไม้ให้เสมอกัน
สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักเมื่อถ่ายภาพป่าไม้ คือ การถ่ายทอดองค์ประกอบภาพโดยให้กลุ่มต้นไม้กระจายตำแหน่งเสมอกันตลอดภาพ ซึ่งการจะทำเช่นนั้น จะต้องมีต้นไม้บางต้นที่เด่นขึ้นในระยะโฟร์กราวด์ ระยะกลาง และระยะแบ็คกราวด์ มองหามุมที่ต้นไม้จะไม่ซ้อนตัวกัน หากสามารถถ่ายภาพร่องรอยหิมะไว้ด้วยได้ บรรยากาศแห่งฤดูกาลนี้ก็จะปรากฏชัดเจน
การทำให้ตัวแบบหลักเด่นชัดโดยไม่ต้องเน้นย้ำวัตถุอื่นๆ มากเกินไป
คุณจะพัฒนาทักษะการมองหาเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอดเมื่อเข้าไปในป่าได้อย่างไร? คุณทำได้โดยการเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับป่าที่คุณจะไปเยือน เมื่อรู้จักสภาพแวดล้อมของป่าที่คุณต้องการถ่ายภาพ คุณก็จะถ่ายทอดตัวแบบที่ต้องการถ่ายออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วย เมื่อไปถึงสถานที่ถ่ายภาพ คุณควรรู้ก่อนว่า จุดที่สร้างความโดดเด่นให้กับภูมิทัศน์บริเวณนั้นคืออะไร หากรู้จักสิ่งเหล่านี้แล้ว คุณจะมองหาตัวแบบที่จะถ่ายได้ง่ายขึ้น ธีมของภาพถ่ายด้านบน คือ การนำเสนอป่าเขียวชอุ่มในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ลองมองหาสถานที่ที่เผยเอกลักษณ์ของป่าได้อย่างสมบูรณ์และตั้งกล้องของคุณในจุดที่ต้นไม้จะไม่ซ้อนทับกัน
ภาพนี้ถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 17 มม. สื่อความงามของต้นโอ๊ก Mizunara ที่สูงสง่ากับไผ่แคระบนพื้นป่า สิ่งที่นำเสนอจะแตกต่างออกมาเมื่อถ่ายภาพป่าไม้เช่นนี้ ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่คุณเลือก ในภาพตัวอย่างภาพแรกถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 17 มม. โดยใช้เลนส์ซูมมุมกว้าง ความอุดมสมบูรณ์ของป่าถูกถ่ายทอดผ่านการขับเน้นที่ต้นไผ่แคระบนผืนป่า อีกภาพหนึ่งถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 45 มม. โดยใช้เลนส์ซูมมาตรฐาน โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดลักษณะของป่า ถ่ายทอดความกว้างขวางด้วยการสร้างสรรค์องค์ประกอบภาพที่จัดวางต้นไม้ซึ่งสูงตระหง่านให้มีระยะช่องไฟเสมอกันทั่วทั้งหน้าจอในระยะโฟร์กราวด์ ระยะกลาง และแบ็คกราวด์
ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 17 มม.
สร้างองค์ประกอบภาพที่ขับเน้นพื้นที่โฟร์กราวด์เมื่อถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง ในภาพนี้ ใบของต้นไผ่แคระอยู่ในพื้นที่โฟร์กราวด์ ทำให้บ่งบอกขนาดของต้นได้ด้วยการรวมเอาผืนป่าในระยะที่ไกลออกไปเข้ามาในภาพ
ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 47 มม.
การถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐานดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยมุมการถ่ายภาพแบบตรง กุญแจสำคัญอยู่ที่การถ่ายทอดองค์ประกอบที่จัดเรียงกลุ่มต้นไม้โดยไม่ทำให้เกิดพื้นที่ว่างที่ไม่จำเป็นขึ้นภายในมุมรับภาพ
เกิดที่จังหวัดชิบาเมื่อปี 1947 ตั้งแต่วัยรุ่น Ishibashi เดินทางทั่วญี่ปุ่นด้วยความมุ่งมั่นอยากรู้จักทิวทัศน์ทางธรรมชาติของประเทศ ราวปี 1975 ความสนใจของเขาเริ่มจำกัดวงแคบลงมา โดยให้ความสำคัญกับทิวทัศน์ทางธรรมชาติในพื้นที่ Tohoku นับแต่นั้น สิ่งนี้กลายมาเป็นพันธกิจในชีวิตของเขา นั่นคือ การถ่ายทอดความงดงามของธรรมชาติที่เติบโตในสภาพอากาศชื้น อันเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น