ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 7: การเลือกกระดาษสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์

2017-10-05
0
4.02 k
ในบทความนี้:

นอกจากการแสดงสี (ตอนที่ 3 และ 4) และการปรับเทียบอุปกรณ์ (ตอนที่ 5 และ 6) แล้ว การเลือกกระดาษสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์มีความสำคัญทั้งในระดับศิลปะและเทคนิค การเลือกกระดาษอย่างเหมาะสมเสริมให้ภาพถ่ายสมบูรณ์แบบ ช่วยยกระดับการสื่ออารมณ์ภาพในแนวศิลป์ และเพิ่มมูลค่าของภาพในสายตาของนักสะสม ในทางเทคนิค กระดาษเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในกระบวนการพิมพ์ภาพถ่าย และเป็นสิ่งที่กำหนดว่าภาพพิมพ์นั้นจะมีความคงทนยาวนานไปอีกหลายปีหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นภาพพอร์ตเทรตของสุภาพบุรุษสูงวัยหรือทิวทัศน์เนินเขาที่เรียงตัวเป็นลูกคลื่นในชนบทอังกฤษ กระดาษที่คุณเลือกใช้มีบทบาทสำคัญมากในการพิมพ์ภาพถ่ายแบบวิจิตรศิลป์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์

 

กระดาษอาร์ตที่ดีดูจากอะไรบ้าง 

สิ่งที่จะกำหนดว่ากระดาษนั้นๆ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่แม่นยำและคงทนหรือไม่นั้นมีอยู่หลายองค์ประกอบด้วยกัน สิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่

- วัสดุของกระดาษ
- เทคโนโลยีการเคลือบ 
- สีของกระดาษ
- น้ำหนักของกระดาษหรือ ‘gsm’ (แกรมต่อตารางเมตร)
- ผิวสัมผัสหรือผิวเคลือบ

 

วัสดุของกระดาษ
กระดาษที่ดีสำหรับการพิมพ์อิงค์เจ็ทนั้นต้องประกอบด้วยชั้นอย่างน้อย 2 ชั้น คือ เนื้อกระดาษและสารเคลือบที่ใช้กับเนื้อกระดาษดังกล่าว เนื้อกระดาษที่ดีที่สุดต้องผลิตจากเส้นใย (เยื่อผ้า) ฝ้าย และเยื่อไม้ หรือผสมกันทั้งสองอย่าง นอกจากนี้ กระดาษที่ผลิตจากเยื่อผ้าที่ทำจากเส้นใยฝ้ายหรือลินิน 100% ยังมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากเป็นกระดาษที่ทราบกันดีว่ามีความทนทานนานหลายร้อยปีโดยสีไม่ซีดจาง เปลี่ยนสี หรือเส้นใยเปราะบางลง

กระดาษสำนักงานแบบมาตรฐานที่ไม่ผ่านการเคลือบกับกระดาษที่ผ่านการเคลือบสำหรับการพิมพ์อิงค์เจ็ท

สิ่งที่ต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ กระดาษจะต้องไม่มีส่วนผสมของกรด โดยมีค่า pH เท่ากับ 7.0 หรือมากกว่า เพราะกรดในกระดาษจะเข้าไปรวมกับหมึกบนงานพิมพ์ ทำให้สีเปลี่ยนและซีดลงได้ ผู้ผลิตกระดาษจึงมักระบุค่า pH ของกระดาษไว้บนบรรจุภัณฑ์

 

ความขาวและความสว่าง
โดยหลักการทั่วไป ยิ่งกระดาษมีความขาวมากเท่าใด ความเปรียบต่างของสีในงานพิมพ์จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และส่งผลให้งานพิมพ์มีขอบเขตสีที่สดใสขึ้น ดังนั้น ช่างภาพที่ต้องการถ่ายภาพให้มีสีสันสดใสจึงมักเลือกกระดาษสีขาวที่มีความสว่าง ความสว่างของกระดาษหนึ่งแผ่นมักมีค่าอยู่ที่ระหว่าง 1 ถึง 100 โดยที่ 100 เป็นค่าที่ให้ความสว่างมากที่สุด ตัวอย่างเช่น กระดาษปอนด์อเนกประสงค์ที่ใช้ในเครื่องถ่ายสำเนาและเครื่องพิมพ์ในสำนักงานจะมีช่วงค่าความสว่างของกระดาษอยู่ที่ 80 ในขณะที่กระดาษพิมพ์ภาพถ่ายสำหรับอิงค์เจ็ทจะมีค่าอยู่ที่ช่วง 90 กลางๆ ถึงปลายๆ และสามารถสะท้อนแสงได้มากกว่า จึงทำให้ภาพถ่ายดูสว่างขึ้น 

เพื่อเพิ่มความสว่างให้กับกระดาษ ผู้ผลิตกระดาษจึงนำกระดาษไปฟอกด้วยคลอรีนหรือใช้สารเรืองแสง (Optical Brightening Agents - OBA) กระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตเช่นนี้อาจไม่คงความสว่างและสีจะเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น หากความคงทนของงานพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณ ควรเลือกกระดาษที่ผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาวคลอรีนหรือ OBA หากต้องการทราบว่ากระดาษที่คุณใช้มีสารเรืองแสงหรือไม่ ให้ส่องแสง UV ลงบนกระดาษในห้องมืด หากกระดาษสว่างเรืองรอง แสดงว่ามีการเติมสารเรืองแสงเข้าไปในระหว่างการผลิต

ในการมองหากระดาษที่ไม่มีสารคลอรีน คุณต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับศัพท์ที่ผู้ผลิตกระดาษใช้ ตัวอย่างเช่น ‘ปราศจากคลอรีน’ (Chlorine-free) หมายถึง ไม่มีการใช้สารคลอรีน ซึ่งแตกต่างจากการไม่ใช้ก๊าซคลอรีน (Elemental Chlorine-Free - ECF) กระดาษที่ฟอกแบบ ECF นี้จะผลิตโดยใช้สารประกอบคลอรีนไดออกไซด์ จึงควรมองหากระดาษที่ใช้เยื่อไม้ประเภทปราศจากคลอรีนทั้งหมด (Totally Chlorine-Free (TCF))

 

น้ำหนักของกระดาษ
น้ำหนักของกระดาษมีหน่วยวัดเป็นแกรมต่อตารางเมตร (gsm หรือ g/m2) สำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ ยิ่งกระดาษมีน้ำหนักมากย่อมหมายความว่ากระดาษจะแข็งแรงทนทาน และช่วยป้องกันการม้วนหรือบิดงอได้ ดังนั้น ช่างภาพจำนวนมากจึงนิยมใช้กระดาษที่มีน้ำหนัก 230 แกรมขึ้นไป นอกจากนี้ การใช้กระดาษที่มีน้ำหนักแกรมมากยังเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อพิมพ์งานขนาดใหญ่ เพราะง่ายต่อการจัดการในระหว่างการติดตั้งภาพ อย่างไรก็ดี โปรดทราบว่ามีเครื่องพิมพ์บางรุ่นเท่านั้นที่สามารถรองรับกระดาษที่หนาและมีน้ำหนักมาก เนื่องจากเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มักไม่สามารถป้อนกระดาษจากทางด้านหลัง จึงควรมองหาเครื่องพิมพ์ที่รองรับการป้อนกระดาษเข้าตรงๆ อย่างเช่น Canon imagePROGRAF PRO-500

 

เทคโนโลยีการเคลือบ
กระดาษที่ดีสำหรับการพิมพ์แบบวิจิตรศิลป์ควรได้รับการเคลือบเพื่อให้ได้ภาพพิมพ์ที่ดีที่สุด เทคโนโลยีการเคลือบมีทั้งหมดสามประเภทด้วยกัน

เทคโนโลยีการเคลือบ - การเคลือบแบบไมโครพอรัส

การเคลือบแบบไมโครพอรัส – การเคลือบที่ประกอบด้วยชั้นของวัสดุเซรามิกเนื้อละเอียดที่นำมาบดจนกลายเป็นผงแป้ง โดยกระดาษที่ใช้การเคลือบชนิดนี้จะแห้งเร็ว แต่เนื่องจากลักษณะที่เป็นรูพรุน จึงไม่แนะนำให้ใช้กระดาษชนิดนี้ร่วมกับหมึก Dye-based ink เนื่องจากหมึกจะสัมผัสกับอากาศอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้สีเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป หมึกที่เหมาะกับกระดาษชนิดนี้คือ หมึก Pigment-based ink

 

เทคโนโลยีการเคลือบ - กระดาษแบบพองตัวได้

กระดาษแบบพองตัวได้ – การเคลือบชนิดนี้ใช้วัสดุโพลิเมอร์ที่พองตัวเมื่อสัมผัสกับหยดหมึกของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท วัสดุเคลือบนี้จะดูดซึมหมึก และช่วยให้สีย้อมสามารถซึมผ่านชั้นบนสุดของกระดาษได้ กระดาษประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้กับหมึก Dye-based ink เพราะจะให้งานพิมพ์ที่ละเอียดคมชัดและสีไม่ซีดเร็ว

กระดาษเคลือบเรซิ่น (RC) – เป็นกระดาษที่ทำจากเส้นใย ซึ่งนิยมใช้ในงานพิมพ์แบบ Consumer wet ในห้องมืด แต่นับจากนั้นได้นำมาใช้ในวงการการพิมพ์ระบบดิจิตอลอิงค์เจ็ทกันอย่างแพร่หลาย กระดาษประเภทนี้ประกอบด้วยสารตั้งต้นแรกที่ทำจากพลาสติก และปกคลุมด้วยชั้นพอลิเอทิลีนบางๆ อีกสองชั้น จากนั้นเคลือบด้วยชั้นเคลือบแบบพองตัวได้หรือแบบไมโครพอรัสที่ผิวด้านบนของกระดาษเพื่อให้เหมาะสำหรับการพิมพ์ กระดาษ RC เหมาะสำหรับใช้กับหมึกทั้ง Pigment และ Dye-based ink แม้ว่ากระดาษชนิดนี้จะมีความทนทานสูง แต่ช่างภาพจำนวนมากรู้สึกว่ากระดาษคล้ายกับพลาสติกมากเกินไป และขาดสัมผัสและพื้นผิวของวัสดุกระดาษแบบดั้งเดิม

 

พื้นผิวของกระดาษ (ผิวที่เคลือบกระดาษ)

ผิวเคลือบของกระดาษมีมากมายหลายประเภท โดยจำแนกได้ดังต่อไปนี้

- มัน
- กึ่งเงา มันเงา ซาติน
- ด้าน
พื้นผิวของกระดาษหรือผิวที่เคลือบกระดาษ

โดยทั่วไป ยิ่งผิวของกระดาษเรียบมากเท่าใด ภาพที่ได้ก็จะยิ่งคมชัดมากเท่านั้น ดังนั้น เพื่อขับเน้นสีสันสดใสที่สุดของภาพถ่าย กระดาษแบบมันและกระดาษกึ่งเงานับว่าเหมาะที่สุดสำหรับการพิมพ์ ช่างภาพที่ต้องการพิมพ์ภาพถ่ายขาวดำแบบวิจิตรศิลป์อาจลองพิจารณาเลือกใช้กระดาษแบบด้าน (หรือบางครั้งเรียกว่ากระดาษกำมะหยี่) เพื่อให้ภาพดูนุ่มนวลยิ่งขึ้น และทำให้โทนสีผิวงดงามน่ามอง โปรดทราบว่ากระดาษแบบมันไม่เหมาะสำหรับใช้กับหมึก Pigmented ink เนื่องจากสีมักจะรวมตัวอยู่บนพื้นผิวและอาจทำให้ผิวมีความมันเงาน้อยลง

 

เคล็ดลับในการเลือกกระดาษที่เหมาะสำหรับภาพถ่ายของคุณ

- กระดาษต้องเข้ากันกับเทคโนโลยีหมึกที่ใช้ เช่น แบบ Dye หรือ Pigment
- กระดาษควรเหมาะสมกับตัวแบบ เช่น การเลือกใช้สื่อประเภทผืนผ้าใบสำหรับภาพถ่ายแฟชั่นที่มีสีสันสดใสนั้นถือว่าไม่เหมาะสม
- และแน่นอนว่ากระดาษต้องเหมาะกับความชอบส่วนบุคคลของคุณด้วย

ชนิดของกระดาษ - มันและด้าน

สำหรับการผลิตงานพิมพ์ที่มีรายละเอียดมาก เช่น แฟชั่น กระดาษสีขาวสว่างแบบมันเงาอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ขณะที่ภาพทิวทัศน์ที่มีทัศนียภาพอันงดงามอาจดูสวยยิ่งขึ้นหากใช้กระดาษสีน้ำ นอกจากนี้ ภาพพอร์ตเทรตขาวดำก็จะสวยงามยิ่งขึ้น หากพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีสีขาวนวลเล็กน้อย

 

การพิมพ์บนสื่อทางเลือกใหม่
ในการสื่ออารมณ์ภาพในแนวศิลป์ ช่างภาพบางคนริเริ่มใช้วัสดุที่ไม่ธรรมดาเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร เป็นที่ทราบกันดีว่าช่างภาพมักใช้สื่อกระดาษที่ทำจากป่านหรือผ้าฝ้าย ซึ่งปกติใช้สำหรับภาพวาดสีน้ำมันหรือภาพวาดอะคริลิก หรือใช้กระดาษที่ทำจากไม้ไผ่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวัสดุที่ไม่ได้ทำจากไม้ เช่น ชานอ้อย (เส้นใยกากอ้อย) กำลังดึงดูดความสนใจของช่างภาพในการขยายโอกาสการสร้างสรรค์ภาพในเชิงศิลป์ นอกจากนี้ ช่างภาพกำลังนิยมใช้วาชิหรือกระดาษดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่ทำจากเปลือกต้นไม้ญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ กระดาษเหล่านี้จะมีเส้นใยที่ยาวกว่ากระดาษของตะวันตก งานพิมพ์ที่ได้จึงมีพื้นผิวและสัมผัสที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

เมื่อได้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของกระดาษแล้ว คุณจะสามารถเลือกกระดาษที่เหมาะสมสำหรับโครงการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ครั้งต่อไปของคุณได้

ในบทความต่อไป เราจะมาศึกษาวิธีการสร้างตารางสีเพื่อทดสอบความเหมาะสมของสื่อกระดาษแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา