ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพภูมิทัศน์: การถ่ายภาพสายฝน

2017-01-24
3
14.96 k
ในบทความนี้:

ช่างภาพหลายคนไม่ค่อยชอบใจนักเมื่ออากาศไม่เป็นใจ คุณจะทำอะไรไม่ได้เลยและได้แต่นั่งรอ แต่ว่ามีอีกทางเลือกหนึ่งนะ นั่นคือสนุกกับมันเสีย เพราะภาพถ่ายที่ได้ก็เจ๋งไม่แพ้กับวันอากาศสดใสเลยทีเดียว

EOS 5D Mark III, เลนส์ EF24-70 มม. f/2.8L USM, f/8.0, 50 มม., 10 วินาที, ISO100 โดย Christopher A. Dominic

วันฝนตกอาจจะเปิดโอกาสให้เราได้่ถ่ายภาพที่สวยงามน่าประทับใจที่สุดก็ได้ เพราะนอกจากจะให้อารมณ์เศร้าหมองแล้ว ยังให้บรรยากาศของการครุ่นคิดและปลอบประโลมใจได้ด้วย ลองนึกถึงบรรยากาศในภาพยนตร์และฉากโรแมนติก ๆ สิ และต่อไปนี้คือวิธีสร้างภาพถ่ายที่เปี่ยมไปด้วยความหมายเหล่านี้

ไม่ต้องตัวเปียก ก็ถ่ายรูปได้

หากไม่ได้ถ่ายภาพของพายุเฮอร์ริเคนขนาดใหญ่ไปลงนิตยสาร National Geographic ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนตัวเปียกเพื่อไล่ตามสายฝนหรอก เมื่อเห็นฟ้าครึ้มมาแต่ไหล ก็ให้คุณจอดรถในที่ร่ม แล้วตั้งกล้องรอเวลาที่เหมาะสม ถ้าจะให้ดี ก็ควรถ่ายรูปในรถนั่นแหละ เหตุผลแรกคือ คุณจะได้ตัวแห้งและรู้สึกสบาย นอกจากนี้ คุณยังสามารถบังคับรถเพื่อหาจุดแวนเทจที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพได้ด้วย เคล็ดลับก็คือ คุณจะต้องจอดรถในทิศทางที่พายุฝนพัดมากระทบกระจกบานอื่น (บานด้านหลังคุณ) แทนที่จะเป็นกระจกที่คุณใช้ถ่ายภาพ วิธีนี้จะช่วยให้ทั้งคุณและอุปกรณ์แห้งอยู่ตลอดเวลา

EOS 5D Mark III, เลนส์ EF50 มม. f/1.4 USM, f/7.1, 50 มม., 1/500 วินาที, ISO100 โดย Makia Minich

หาอะไรคลุม

หากคุณต้องลงไปตากฝน ก็ควรหาอะไรปกป้องร่างกายและอุปกรณืเสียหน่อย ในตลาด มีเสื้อกันฝนสำหรับอุปกรณ์กล้องให้เลือกหลายแบบ แต่หากอยากลองเป็นนักประดิษฐ์ ก็สามารถใช้ถุงพลาสติกขนาดเหมาะ ๆ มาเจาะรูด้านหนึ่งให้สามารถส่องเลนส์เข้าไปได้ ส่วนอีกด้านหนึ่ง เว้นไว้เป็นช่องสำหรับจับกล้อง

หากคุณมีผู้ช่วย คุณสามารถวานให้เธอกางร่มเล็ก ๆ ให้คุณได้ หรือจะถือร่มด้วยมือซ้าย และจับกล้องด้วยมือด้วยกันก็ได้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณตัวแห้งแล้ว ร่มยังทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบที่เหมาะกับภาพถ่ายอีกทางหนึ่ง กล่าวคือมันกลายเป็นองค์ประกอบภาพที่ช่วยเติมเต็มกรอบด้านบนของรูปถ่าย

ระดับความพร่ามัวของสายฝน

ความไวชัทเตอร์ที่คุณเลือกใช้จะกำหนดระดับความพร่ามัวของสายฝนในภาพถ่าย หากใช้ความไวชัทเตอร์น้อยลง สายฝนที่ตกลงมาก็จะดูพร่ามัวมากขึ้น ดังนั้น ยิ่งคุณใช้ความไวชัทเตอร์น้อยลงเท่าไหร่ สายฝนก็จะพร่ามันขึ้นเท่านั้น หลักการเดียวกันนี้ใช้ในทางกลับกันได้ด้วย แต่ควรจำไว้อย่างหนึ่งว่า หากใช้ความไวชัทเตอร์น้อยเกินไปก็อาจทำให้มองไม่เห็นการเคลื่อนไหวของสายฝนเลย

ตั้งค่า ISO ของกล้องไว้ที่ 100 เลือกโหมดการวัดแสงแบบเมตริกซ์/แบบประเมิน จากนั้นให้โหมดปรับความไวชัทเตอร์ด้วยตัวเอง โดยปรับความไวชัทเตอร์ที่ 1/60 (เริ่มแรก) ค่อย ๆ ลดความไวชัทเตอร์ลงช้า ๆ เพื่อสำรวจระดับความพร่ามัวของสายฝนที่ต้องการ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่าความไวชัทเตอร์ต่ำได้ในบทความนี้: การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม

ดูข้อมูลเกี่ยวกับโหมดการวัดแสงแบบต่าง ๆ และผลกระทบต่อการถ่ายภาพของคุณได้ที่นี่ [บทที่ 16] โหมดการวัดแสง – แต่ละโหมดต่างกันยังไง

EOS 600D, เลนส์ EF70-300 มม. f/4-5.6 IS USM, f/9.0, 168 มม., 1/320 วินาที, ISO400 โดยLadyDragonflyCC

หัวใจสำคัญอยู่ที่ภาพสะท้อน

การถ่ายภาพสายฝนไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวกับฝนเท่านั้น มองลงบนพื้น คุณอาจจะสังเกตเห็นรอยกระเพื่อมของน้ำ ภาพสะท้อนบนผิวน้ำสามารถสื่อถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของต้นไม้ ตัวคุณเอง หรือแม้แต่ถนนที่ส่องสว่างในยามค่ำคืน

EOS 60D, เลนส์ EF-S17-55 มม. f/2.8 IS USM lens, f/11, 28 มม., 1/50 วินาที, ISO400 โดย Pank Seelen

ถ่ายภาพระยะใกล้

ความงามของภาพถ่ายระยะใกล้อยู่ที่รายละเอียดที่มองเห็นผ่านเลนส์มาโคร ถ่ายภาพระยะใกล้ของใบไม้หลังจากฝนตกไม่เพียงเผยให้เราเห็นหยดน้ำฝน แต่ยังสะท้อนความงดงามของสิ่งที่อยู่โดยรอบด้วย ในบางครั้ง คุณอาจพบแมลงตัวเล็ก ๆ ติดอยู่ในหยดน้ำ

ติดเลนส์มาโครEF100 มม. f/2.8 เข้ากับกล้อง

EOS 7D, เลนส์ EF100 มม. f/2.8 Macro USM, f/2.8, 100 มม., 1/160 วินาที, ISO2500 โดย Guy Renard

ถ่ายภาพสายรุ้ง

เมื่อฝนหยุด อย่าพลาดถ่ายรูปสายรุ้งสวย ๆ เก็บไว้ ยามพระอาทิตย์ตกถึงระดับเส้นขอบฟ้าในตอนเย็น และเผยให้เห็นสายฝนและแสงอาทิตย์ เป็นโอกาสดีที่เราจะได้เห็นรุ้งกินน้ำกัน ใช้โหมดการวัดแสงเฉลี่ยหนักกลางภาพและทำการวัดแสงเฉพาะจุดตรงสายรุ้ง เลือกฟิลเตอร์ PL ทรงกลม (ซึ่งจะเปลี่ยนการมองภาพของกล้องและประมวลผลแสงให้เป็นสีสันต่าง ๆ) เพื่อสร้างคอนทราสต์ในภาพมากขึ้น

EOS 70D, เลนส์ EF24-70 มม. f/2.8L II USM, f/16, 30 มม., 1/125 วินาที, ISO160 โดย Markus Trienke Markus Trienke

เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ:

  • ถ่ายภาพจากในรถ แต่ต้องดูทิศทางลมด้วย โดยให้ลมพักมาจากทิศทางตรงกันข้าม ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้สามารถ่ายภาพมุมกว้างได้
  • ใช้ความไวชัทเตอร์ต่ำเพื่อให้สายฝนพร่ามัว.
  • ใช้เลนส์มาโครเพื่อจับภาพของหยดฝนบนใบไม้และกิ่งไม้.
  • หาอะไรปิดคลุมอุปกรณ์และดูแลให้แห้งอยู่เสมอ!

 

 

รับอัพเด ทล่าสุด ประกอบด้วยข่าว เคล็ดลับ และลูกเล่นต่างๆ โดยการลงชื่อสมัครเป็นสมาชิก!

 

 

 

ประวัติของผู้เขียน

Darren Wong

ทำงานเป็นนักเขียนในวันธรรมดาและเป็นช่างภาพสมัครเล่นในวันหยุด ซึ่งเขาชอบสองงานนี้มากพอ ๆ กับกาแฟดี ๆ ดีไซน์ที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ ภาพยนตร์ที่มีภาพสวย ๆ และการเดินทางไปเยือนต่างประเทศ นอนกจากนี้ Darren ยังเชื่อว่าบทสนทนาดี ๆ เป็นแหล่งอาหารของนักเขียน และไม่มีอะไรดีกว่าน่าสนใจไปกว่าการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจกับคนอื่น ๆ หากต้องการดูผลงานอื่น ๆ ของ Darren กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์www.darrenwphotography.com

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา