เทคนิคการใช้เลนส์มาโคร: สร้างชีวิตชีวาให้กับภาพใต้น้ำด้วยจุดโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์!
การถ่ายภาพใต้น้ำต้องแข่งกับเวลา นอกจากนี้ คุณอาจไม่สามารถพกพาเลนส์หลายตัวไปด้วยเสมอขณะถ่ายภาพ เลนส์มาโครมักนิยมใช้กันในการถ่ายภาพปลาขนาดเล็ก แต่ในบทความนี้เราขอแนะนำเทคนิคการใช้เลนส์ชนิดนี้เพื่อถ่ายภาพใต้น้ำให้มีจุดโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์ (เรื่องโดย: Yasuaki Kagii)
EOS 5D Mark III/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/5, 1/100 วินาที)/ ISO 100/ WB: 4,600K
ฝูงปลา Pearl-spot chromis สีฟ้าที่กำลังชุมนุมกันรอบๆ ปะการังเขากวางดูละม้ายคล้ายกับละอองหิมะ ผมจึงลองถ่ายทอดภาพนี้ออกมาตามที่เห็น
เปิดรูรับแสงให้กว้างในบริเวณที่สว่างเพื่อสร้างโบเก้จากปลาในส่วนโฟร์กราวด์
เลนส์มาโคร 100 มม. มักนิยมใช้กันในหมู่ช่างภาพมืออาชีพที่ถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตสำหรับงานสารคดี เลนส์นี้มักใช้ร่วมกับค่า f ที่ประมาณ f/7.1 - 16 ซึ่งถ่ายทอดรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะและสภาพของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ อย่างชัดเจน
แต่เลนส์มาโคร 100 มม. ทำได้มากกว่านั้น และใช้ถ่ายภาพเพื่อให้มีโบเก้ได้ เลนส์ชนิดนี้จึงมีประโยชน์ยิ่งขึ้นไปอีกในการถ่ายภาพใต้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณสามารถพกเลนส์ไปใต้น้ำได้จำนวนจำกัด
สำหรับภาพด้านบนที่มีฝูงปลา Pearl-spot chromis สีฟ้าแหวกว่ายเหนือปะการังเขากวาง ผมตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/5 แล้วเลือกตัวแบบในบริเวณที่สว่าง ซึ่งมีแสงแดดเพียงพอ จากนั้น จัดวางภาพโดยให้ทะเลสีฟ้าเป็นฉากหลัง ขณะที่ถ่ายภาพตัวแบบในระดับสายตา ผมเลือกใช้แฟลชที่มีความเข้มของแสงต่ำ เนื่องจากต้องการเปลี่ยนแปลงการไล่โทนสีในบริเวณที่เป็นสีฟ้า แม้ว่าฝูงปลา Pearl-spot chromis สีฟ้าจะเป็นตัวแบบหลัก แต่ผมจับโฟกัสที่ปะการังที่อยู่ด้านหลัง เพื่อให้เกิดจุดเป็นชั้น โดยการเบลอฝูงปลาที่อยู่ด้านหน้า
EOS 5D Mark III/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/4, 1/10 วินาที)/ ISO 100
ผมถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสง f/4 เนื่องจากต้องการสร้างวงกลมโบเก้ที่มีขนาดใหญ่ ผมใช้วิธีวางลูกปลาสีเงินไว้ด้านหน้าเลนส์โดยตรง และใช้แฟลชเพื่อเพิ่มความสว่างให้บริเวณดังกล่าว
EOS 5D Mark III/ FL: 100 มม./ Manual exposure (f/5, 1/10 วินาที)/ ISO 100
ผมสร้างลูกกลมๆ สีสันสวยงามใต้ท้องทะเล โดยสร้างวงกลมโบเก้จากฝูงปลาที่ว่ายมาชุมนุมกันที่ด้านหน้า
จุดสำคัญ: ถ่ายภาพที่ระดับความสูงเดียวกันกับปะการัง
ระยะโฟกัสจนถึงปะการังอยู่ที่ 80 ซม. ผมนอนคว่ำแล้วค่อยๆ เลื่อนตัวขึ้น จนกระทั่งแน่ใจว่าปะการังอยู่ในระดับสายตา จากนั้นจึงใช้แฟลชเสริมเพื่อถ่ายภาพ
การใช้งานเลนส์: เลนส์มาโครเทเลโฟโต้ 100 มม. จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดพื้นฐานของการถ่ายภาพใต้น้ำคือ การเข้าไปใกล้สิ่งมีชีวิตที่คุณต้องการถ่าย แต่หากทำเช่นนั้นได้ยาก เลนส์ที่มีระยะการทำงานที่ยาวจะเป็นสิ่งจำเป็น เลนส์มาโครระดับ 100 มม. และ 500 มม. จึงถูกนำมาใช้ในกรณีดังกล่าว แต่โดยส่วนตัวแล้ว เลนส์ตัวเดียวที่ผมใช้มาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา คือเลนส์มาโคร 100 มม.
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดเฮียวโงะในปี 1971 Kagii เป็นช่างภาพใต้น้ำ และเคยฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพใต้น้ำ Katsutoshi Ito ระหว่างที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เขาผันตัวเป็นช่างภาพอิสระในปี 1998 และมีความเชี่ยวชาญในสไตล์การถ่ายภาพที่ช่วยให้เขาได้ใกล้ชิดกับลีลาท่วงท่าตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตโดยที่ไม่กดดันสัตว์เหล่านั้นจนเกินไป
Kagii เป็นตัวแทนของ Clé et Photos มาตั้งแต่ปี 2013