ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

โอเวอร์-อันเดอร์: แนวคิดการถ่ายภาพใต้น้ำแบบแยกส่วน

2021-09-08
1
767
ในบทความนี้:


EOS 5D Mark IV, EF14mm f/2.8L II USM, f/14, ISO 320, 1/200s, 14mm by @charlottepiho

ภาพถ่ายแบบโอเวอร์-อันเดอต์นั้นสะดุดตาอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ มันเป็นการแสดงมุมมองอันน่าสนใจของฉากสองฉากภายในภาพเดียว ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ การถ่ายภาพประเภทนี้มักจะคอนทราสต์ที่ชัดเจนในโซน 'โอเวอร์' และ 'อันเดอร์' นอกจากนั้น มันจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับเรื่องราวของภาพถ่ายใต้น้ำของคุณอีกด้วย!

หากคุณสนใจและอยากทดลอง อ่านต่อไปเพื่อเรียนรู้เคล็ดลับในการเริ่มต้นโปรเจ็กต์การถ่ายภาพโอเวอร์-อันเดอร์ภาพแรกของคุณ!

 

องค์ประกอบและการเล่าเรื่อง


EOS 5D Mark IV, EF16-35mm f/2.8L II USM, f/6.3, ISO 200, 1/160s, 16mm by @universal_jones

สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่คุณต้องทำก็คือการมองหาเรื่องราวที่จะบอกเล่าในช็อตโอเวอร์-อันเดอร์ของคุณโดยการใช้สิ่งที่คุณมีอยู่รอบตัวคุณ เนื่องจากในภาพมีสองส่วนที่แตกต่างกัน ลองนึกถึงสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายทอด ไม่ว่าจะเป็นตัวแบบ อารมณ์ หรือองค์ประกอบในแต่ละฉาก ตัวอย่างเช่น คุณสามารถนำเสนอภาพท้องฟ้าที่มีแดดจ้าในฉากเหนือน้ ซึ่งตัดกับนักล่าในฉากใต้น้ำเพื่อบอกเล่าเรื่องราวว่า 'คุณไม่มีทางรู้เลยว่าอันตรายอยู่ที่ไหน'

จำไว้ว่าสิ่งที่อยู่ใต้น้ำมักจะเป็นเรื่องลึกลับสำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ ดังนั้นคุณสามารถใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์จากการผจญภัยและการทดลองในการเล่าเรื่องของคุณ คุณยังสามารถสร้างโครงเรื่องทีน่าสนใจได้โดยการค้นหาความแตกต่างระหว่างฉากสองฉาก และเชื่อมโยงฉากเหล่านั้นเข้าด้วยกันด้วยแนวคิด

 

อุปกรณ์และโดมพอร์ต


PowerShot G7 X Mark II, f/6.3, ISO 125, 1/320s, 10.84mm by @yubzukamoto

นอกจากอุปกรณ์ความปลอดภัยใต้น้ำและการศึกษาค้นคว้าแล้ว เลนส์มุมกว้างเป็นอุปกรณ์ใต้น้ำที่สำคัญซึ่งคุณจำเป็นต้องใช้ในการถ่ายภาพแยกส่วน เลนส์มุมกว้างช่วยให้มุมมองภาพที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใส่องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้มากขึ้นในภาพ

โดยทั่วไปแล้ว เลนส์มุมกว้างที่มีช่วงทางยาวโฟกัส 24-35 มม. ซึ่งจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพแบบแยกส่วน สำหรับเลนส์มุมกว้างพิเศษ คุณสามารถเลือกช่วงทางยาวโฟกัสได้ตั้งแต่ 16 มม. ขึ้นไป เลนส์ของ Canon ที่เหมาะสมที่สุดที่คุณอาจเลือกใช้ได้แก่เลนส์ Canon EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM หรือ Canon RF 15-35mm f/2.8 IS USM

คุณควรนำหรือเช่าพอร์ตโดมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะยิ่งโดมใหญ่เท่าใด กล้องของคุณก็จะยิ่งนิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคุณพร้อมที่จะถ่ายภาพ คุณสามารถดูที่หน้าจอแล้ววางเส้นแบ่งในช็อตของคุณได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณพยายามจะแสดงหรือบอกเล่า คุณสามารถเน้นแต่ละพื้นที่โดยให้ความโดดเด่นมากขึ้นในช็อตนั้น ซึ่งหมายความว่าคุณอาจมีโซน 'อันเดอร์' และโซน 'โอเวอร์' ที่เล็กลง (หรือในทางกลับกัน) เพื่อสร้างช็อตแยกส่วนที่น่าสนใจมากขึ้น

 

รูรับแสงและทัศนวิสัย


PowerShot G7 X Mark II, f/5.6, ISO 200, 1/320s, 13.91mm by @yubzukamoto

ทัศนวิสัยในการมองเห็นแสงและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญสองประการที่ควรพิจารณา เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อภาพของคุณอย่างมาก ถ้าน้ำใสจะเป็นการดีมาก หากไม่เป็นเช่นนั้น มันจะเป็นเรื่องยากลำบากในการถ่ายภาพใต้น้ำในน้ำที่ขุ่นมัว การถ่ายภาพใต้น้ำจะทำได้ดีที่สุดในน้ำที่ใสกระจ่าง อย่าเลือกสภาพแวดล้อมในน้ำอื่นใด

นอกจากนี้ อย่าลืมตรวจสอบพยากรณ์อากาศเพื่อเลือกวันที่สว่างสดใสสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำแบบแยกส่วน แสงแดดยามเที่ยงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของคุณ เนื่องจากมีแสงที่แรงพอที่จะทะลุผ่านผิวน้ำได้ ทำให้โซน 'อันเดอร์้' สว่างขึ้น หลักการง่ายๆ คืออย่าใช้ฉากใต้น้ำทีลึก่เกิน 15 ฟุต เนื่องจากแสงจะลดลงอย่างมาก!

หากสภาพแสงไมสมบูรณแบบ พยายามเน้นการเปิดรับแสงที่ครึ่งบน แม้ว่าสิ่งนี้จะส่งผลให้ครึ่งล่างเปิดรับแสงน้อยเกินไป แต่การปรับภาพที่เปิดรับแสงน้อยเกินไปนั้นง่ายและสะดวกกว่าที่จะปรับภาพที่เปิดรับแสงมากเกินไปในขั้นตอนโพสต์โปรเซส การถ่ายภาพแบบ RAW ก็จะช่วยได้เช่นกัน

 

การตั้งค่าทีควรพิจารณา


PowerShot G7 X Mark II, f/8, ISO 200, 1/1000s, 10.58mm by @yubzukamoto

เนื่องจากการปรับการตั้งค่าใต้น้ำอาจทำได้ยากและยุ่งยาก ให้ตั้งค่ากล้องของคุณให้อยู่ในโหมด ISO อัตโนมัติ และถ่ายภาพโดยใช Aperture Priority รูรับแสงที่สูงกว่า f/8 นั้นยอดเยี่ยม แต่คุณสามารถทดลองใช้ f/13 หรือ f/16 ได้ เพื่อให้ความคมชัดสูงสุดของฉากทั้งสองด้าน

ตามปกติแล้ว การใช้สมดุลแสงขาวอัตโนมัตจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากช่วยให้คุณเลือกอุณหภูมิสีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับฉากนั้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนการตั้งค่าด้วยตนเองขณะกำลังติดตามสัตว์ของคุณ

ในขณะที่การถ่ายภาพในแนวนอนเป็นตัวเลือกที่ดี คุณสามารถทดลองจัดองค์ประกอบภาพในแนวตั้งได้อีกด้วย ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามรถเพิ่มความสูงลงของภาพได้

 

ปราศจากหยดน้ำ


EOS 5D Mark IV, EF14mm f/2.8L II USM, f/2.8, ISO 100, 1/2000s, 14mm by @charlottepiho

คุณไม่ต้องการให้มีหยดน้ำในภาพของคุณ เนื่องจากการลบออกในขั้นตอนโพสต์โปรเซสอาจใช้เวลานานและยุ่งยากมาก ดังนั้นการเลือกโดมแก้วจึงสมเหตุสมผลที่สุด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะเกิดหยดน้ำ

อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่ามีหยดน้ำอยู่ในโดม คุณสามารถใชวิธีของนักดำน้ำที่ถุยน้ำลายใส่หน้ากากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าขึ้นเมื่ออยู่ใต้น้ำ ทาน้ำลายเล็กน้อยที่ส่วนครึ่งบนของโดมแล้วล้างออกทันที ด้วยวิธีนี้ คุณจะมีเวลาอันมีค่าประมาณสองสามวินาทีสำหรับการถ่ายภาพที่ปราศจากหยดน้ำ มันอาจฟังดูไม่น่าพิศมัยนักที่จะทำเช่นนั้น แต่มันก็ช่วยทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้

 

นอกจากที่คุณจะสามารถลองถ่ายภาพประเภทนี้ในมหาสมุทรสีน้ำเงินเข้ม คุณยังสามารถถ่ายภาพในทะเลสาบที่ใสสะอาด แอ่งน้ำลึก สระว่ายน้ำ หรือแม้แต่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (ขึ้นอยู่กับขนาด) สิ่งที่คุณต้องมีก็คือสภาพแวดล้อมที่มีความลึกของน้ำเพียงพอให้คุณสามารถจุ่มกล้องในโดมพอร์ตลงในน้ำเพื่อให้ได้เส้นแบ่งที่ชัดเจน

 

สำหรับบทความที่เกี่ยวข้อง:

4 สิ่งที่ต้องทำสำหรับการหาสัตว์ใต้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

การถ่ายภาพใต้น้ำแบบมาโครกับ Lilian Koh: สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในท้องทะเลลึกอันกว้างใหญ่

เคล็ดลับการถ่ายภาพจากนักถ่ายภาพใต้น้ำมืออาชีพ

 

 

 

 

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา