[ตอนที่ 1] เร็วถึง 12 fps ขณะใช้ฟังก์ชั่นติดตาม AF/AE กล้อง EOS-1D X ก้าวข้ามสู่ดินแดนแห่งจินตนาการ
(จากซ้ายมือ) Tomokazu Yoshida, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Masami Sugimori, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Shintaro Oshima, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย/ Shunji Yoshikai, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย/ Tomoya Masamura, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย
การดีไซน์ที่ให้ความสำคัญกับความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง
คุณสมบัติที่สำคัญของกล้อง "EOS-1D X"!
ประการที่ 1 ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง 12 fps สมกับที่เป็นรุ่นเรือธงของ Canon
ประการที่ 2 เซนเซอร์แบบฟูลเฟรมขนาด 35 มม. กับความละเอียด 18.1 ล้านพิกเซล
ประการที่ 3 ชิปประมวลผลภาพคู่ DIGIC 5+ เพื่อการประมวลผลภาพความเร็วสูง
― กล่าวกันว่ากล้อง EOS-1D X เป็นความพยายามที่จะผนวกกล้องระดับสูงสองสายที่มีอยู่เข้าด้วยกัน นั่นคือ "1D" รุ่นที่โดดเด่นด้านความเร็วกับ "1Ds" รุ่นที่ให้ความละเอียดภาพสูง อย่างไรก็ดี กล้อง EOS-1D X รุ่นใหม่นี้มีจำนวนพิกเซลต่ำกว่าของกล้อง EOS-1Ds Mark III ผู้ใช้กล้องซีรีย์ 1Ds พึงพอใจกับจำนวนพิกเซลที่ 18.1 ล้านพิกเซลของกล้อง EOS-1D X จริงๆ หรือครับ? และผู้ใช้กล้องซีรีย์ 1D นั้นไม่มีปัญหากับการเปลี่ยนจากเซนเซอร์แบบ APS-H มาเป็นเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมหรือครับ?
EOS-1D X
กล้อง EOS-1D X เป็นกล้องระดับสูงรุ่นใหม่ในตระกูล EOS ซึ่งผสมผสานระหว่างความละเอียดสูงของกล้องซีรีย์ "EOS-1Ds" กับประสิืทธิภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องอันเยี่ยมยอดของกล้องซีรีย์ "EOS-1D" ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพความเร็วสูงถึงราว 12 fps โดยมีความละเอียดที่ 18.1 ล้านพิกเซล แม้จะต่ำกว่าของกล้องรุ่น 1Ds อื่นๆ ในปัจจุบัน แต่ก็ให้ประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูงยิ่งขึ้น ทำให้เปิดจุดรบกวนในภาพน้อยมาก
Yoshikai ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องกับความละเีอียดภาพ ตามปกติแล้วจะมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกันครับ หากพยายามทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นจะทำให้จำนวนพิกเซลลดลง หรือเมื่อเราเน้นที่กำลังในการแยกรายละเอียดภาพ ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องก็จะลดลง เพราะเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้ทั้ง "ความเร็วสูง" และ "ความละเอียดภาพสูง" ก่อนหน้านี้จึงใช้วีธีการแยกกล้องออกเป็นสองสายผลิตภัณฑ์ อันได้แก่ 1D และ 1Ds อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงตัดสินใจรวมกล้อง 1D และ 1Ds เข้าด้วยกันเป็นกล้อง EOS-1D X ซึ่งตั้งใจให้เป็นกล้องที่มีความสามารถรอบตัว ทั้งด้านความเร็วและคุณภาพรูปถ่าย
กล้อง EOS-1D X ผสมผสานระหว่างลักษณะเฉพาะของกล้อง EOS-1Ds Mark III กับกล้อง EOS-1D Mark IV เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีเงื่อนไขมากของช่างภาพมืออาชีพ กล้อง EOS-1D X ใช้แมกนีเซียมอัลลอยเป็นวัสดุสำหรับตัวกล้องด้านหน้า ด้านบน และด้านหลัง รวมถึงฝาปิดช่องใส่การ์ดหน่วยความจำและตัวกล่องด้านในสำหรับบรรจุชิ้นส่วนต่างๆ อย่าง ชุดกระจก
แต่้ถ้าคุณถามผมว่าคนที่ใช้กล้อง 1Ds ทั้งหมดนั้นพึงพอใจเต็มที่กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไหม ความจริงก็คือ บางคนก็ยังคงพอใจกับจำนวนพิกเซลสูงๆ มากกว่าครับ สำหรับผู้ใช้กล้องซีรีย์ 1D เราได้รับเสียงสะท้อนว่าการเปลี่ยนจากเซนเซอร์แบบ APS-H มาเป็นเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมนี้ ทำให้่พวกเขาไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของขนาดเซนเซอร์เดิม ซึ่งมีทางยาวโฟกัสเป็น 1.3 เท่าเมื่อเทียบกับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ยกตัวอย่างเช่น ผมได้ยินมาว่าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน ปี 2012 สื่อมวลชนและช่างภาพกีฬาจำนวนมากนำไปทั้งกล้อง EOS-1D Mark IV และกล้อง EOS-1D X และใช้กล้องทั้งสองตัวในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในแง่นี้ แม้กล้องรุ่นหนึ่งจะไม่ครอบคลุมฉากทุกประเภท แต่การรวมข้อดีระหว่างกำลังในการแยกรายละเอียดภาพจากเซนเซอร์แบบฟูลเฟรม 18.1 ล้านพิกเซล กับประสิทธิภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง ทำให้กล้องรุ่นนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน เราจึงเชื่อว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแรกเริ่มของเราแล้ว
EOS 1D X
จำนวนพิกเซล: ประมาณ 18 ล้านพิกเซล
ค่าเปรียบเทียบกับฟอร์แมต 35 มม.: เท่ากัน
ภาพต่อเนื่องสูงสุด: ประมาณ 12fps
EOS-1Ds Mark III
(เลิกผลิตแล้ว)
จำนวนพิกเซล: ประมาณ 21.1 ล้านพิกเซล
ค่าเปรียบเทียบกับฟอร์แมต 35 มม.: เท่ากัน
ภาพต่อเนื่องสูงสุด: ประมาณ 5fps
EOS-1D Mark IV
(เลิกผลิตแล้ว)
จำนวนพิกเซล: ประมาณ 16.1 ล้านพิกเซล
ค่าเปรียบเทียบกับฟอร์แมต 35 มม.: ประมาณ 1.3 เท่า
ภาพต่อเนื่องสูงสุด: ประมาณ 10fps
― ถ้าเราคำนวณแบบง่ายๆ บนสมมุติฐานที่ว่าข้อมูล 18.1 ล้านพิกเซลนั้นอ่านด้วยความเร็ว 12 fps และกล้อง EOS-1D X มีความสามารถในการประมวลผลภาพที่จำเป็น เราก็อาจได้ความละเอียด 21.6 ล้านพิกเซล หากลดความเร็วลงมาที่ 10 fps หรือ 27 ล้านพิกเซล ที่ 8 fps ดังนั้นคำถามคือทำไมจึงตัดสินใจเลือกความเร็วที่ 12 fps?
Yoshikai จากเป้าหมายที่ต้องการให้ได้ทั้ง "ความเร็วสูง" และ "ความละเอียดสูง" ในการพัฒนากล้อง EOS-1D X ข้อเสนอสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือการทำให้ได้ประสิทธิภาพในการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงสุด ในฐานะกล้อง SLR ด้วยความเร็วประมาณ 12 fps ขณะที่ใช้ฟังก์ชั่นติดตาม AF/AE และความเร็วที่ราว 14 fps ขณะล็อคกระจกขึ้น สำหรับเราแล้ว การยอมลดประสิทธิภาพการถ่ายภาพต่อเนื่องเพื่อเพิ่มจำนวนพิกเซลนั้นไม่ใช่ัตัวเลือกที่เหมาะสม นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกจำนวนพิกเซลที่ประมาณ 18.1 ล้านพิกเซล ที่จริงแล้ว มีช่างภาพกีฬาบางคนที่ได้ใช้กล้อง EOS-1D X เล่าว่าที่ความเร็ว 12 fps นั้น ภาพที่บันทึกได้ รวมทั้งความรู้สึกระหว่างกระบวนการถ่ายภาพแตกต่างไปจากเมื่อก่อน จากความเห็นที่ได้รับมา กล้อง EOS-1D X ได้เปิดประตูสู่โลกใบใหม่แห่งการถ่ายทอดอารมณ์ภาพ เราจึงเชื่อว่าเป้าหมายตั้งต้นของเรานั้นมาถูกทางแล้ว
ด้วยความละเอียดที่ประมาณ 18.1 ล้านพิกเซล เซนเซอร์ฟูลเฟรม CMOS รองรับความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 14 fps และที่ราว 12 fps ขณะใช้ฟังก์ชั่นติดตาม AF/AE ขณะเดียวกันก็ให้ทั้งคุณภาพภาพถ่ายสูงและประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูง
การขับเคลื่อนความเร็วสูงเหนือชั้น และการควบคุมระบบกระจกที่แม่นยำ
― ในเชิงเทคนิคแล้ว การทำให้ได้ความเร็วที่ 12 fps นั้น ยากกว่าการทำให้ได้ความเร็ว 10 fps มากน้อยขนาดไหนครับ?
- เพนทาปริซึม
- หน้าจอโฟกัส
- กระจกหลัก 45 องศา
- กระจกที่สะท้อนภาพทั้งหมด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
- เซนเซอร์การวัดแสง RGB
- เมนบอร์ด
- เซนเซอร์ภาพ
- กระจกชิ้นที่สอง
- หน้าจอ LCD
- เซนเซอร์ AF
ภาพแสดงองค์ประกอบภายในของกล้อง EOS-1D X กระจกบานหลักภายในกล่องกระจกใบใหญ่ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและแม่นยำเพื่อให้ได้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 12 fps
Oshima เราไม่ได้เพิ่มความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องจาก 10 fps มาเป็น 12 fps ได้ในก้าวเดียว หากคำนวณอย่างง่ายๆ เวลาในการทำงานสำหรับแต่ละภาพอยู่ที่ 0.1 วินาทีที่ความเร็ว 10 fps และอยู่ที่ 0.083 วินาทีที่ความเร็ว 12 fps ดังนั้นพูดอีกอย่างก็คือ เราต้องลดระยะเวลาในการทำงานแต่ละครั้งลง 0.017 วินาที ในการทำงานแต่ละครั้ง กิจกรรมการควบคุมต่างๆ เช่น การพลิกบานกระจกขึ้นและลง การคำนวณ AE และ AF การควบคุมรูรับแสงของเลนส์ และการขับเคลื่อนโฟกัส ต้องทำอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อทำเช่นนั้น เราจึงมุ่งมั่นที่จะลดระยะเวลาในการโฟกัส โดยเพิ่มความเร็วในการขับเคลื่อนกระจกและความเร็วของไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับระบบโฟกัสอัตโนมัติ นอกจากนั้น ด้วยความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่สูงขึ้น ก็มีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลภาพปริมาณมหาศาลในทันทีพร้อมกับบันทึกไปยังสื่อบันทึกข้อมูลในเวลาเดียวกัน เราได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อเ้พิ่มความเร็ว รวมถึงการใช้ชิปประมวลผลภาพ DIGIC 5+ สองตัวและใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมให้ได้ผลสูงสุด
ชิป DIGIC 5+ นั้่นมีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าชิป DIGIC 5 ราวๆ สามเท่า กล้อง EOS-1D X ใช้ตัวประมวลผลภาพ DIGIC 5+ สองตัว เพื่อให้ได้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง 14 fps พร้อมๆ กับอ่านข้อมูลจำนวนมากจากเซนเซอร์ฟูลเฟรม CMOS ความละเอียด 18 ล้านพิกเซล
ความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดในการให้ได้ความเร็ว 12 fps คือ การควบคุมบานกระจก สำหรับกล้อง SLR มันไม่ใช่เรื่องง่ายแค่เพียงเคลื่อนบานกระจกขึ้นลงเร็วๆ เท่านั้น การกระเด้งหรือสะท้อนกลับของบานกระจกเมื่อพลิกขึ้นทำให้กระจกติดอยู่ในภาพถ่ายด้วย ขณะที่ภาพในช่องมองภาพอาจเบลอหากบานกระจกไม่ถูกล็อคเข้าที่เมื่อพลิกลง ไม่เพียงเท่านั้น หากกระจกรองที่อยู่หลังกระจกหลักไม่ถูกล็อคให้เข้าที่ การจับโฟกัสจะไม่สามารถทำไ้ด้ถูกต้องเนื่องจากแสงจะไม่สามารถมาสู่เซนเซอร์ AF ระบบ Phase Difference ได้อย่างคงที่สม่ำเสมอ ดังนั้นประเด็นสำคัญที่สุดเพื่อให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง ก็คือการทำให้แน่ใจว่าบานกระจกสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วและหยุดได้ในทันทีอย่างแม่นยำ กล้อง EOS-1D X ติดตั้งกลไกหยุดบานกระจก "Quad Active" ซึ่งช่วยให้ขับเคลื่อนกระจกได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และคงที่
- ระบบชาร์จชัตเตอร์
- กลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกรอง
- ระบบขับเคลื่อนกระจก
- มอเตอร์ชาร์จกระจก
- กระจกหลัก
- กระจกรอง
- กลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกหลัก
- มอเตอร์ชาร์จชัตเตอร์
กล้อง EOS-1D X มีมอเตอร์สองตัวที่เป็นอิสระจากกันเพื่อชาร์จชัตเตอร์และ์ขับเคลื่อนกระจก นอกจากนี้ ระบบการทำงานของกระจกยังมีกลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกสำหรับกระจกหลักและกระจกรอง เพื่อการควบคุมกระจกได้อย่างแม่นยำ
― เมื่อเทียบกับกล้อง EOS-1D Mark IV ซึ่งออกแบบมาสำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง มีอะไรที่แตกต่างกันเป็นพิเศษไหมครับ?
Oshima ในกล้อง EOS-1D Mark IV ตัวรักษาสมดุลสำหรับดูดซับการสั่นสะเทือนของกระจกและกลไกล็อคเพื่อกดไม่ให้กระจกเคลื่อนนั้นอยู่ที่ด้านหนึ่งของกระจกหลักและกระจกรอง ขณะที่ในกล้อง EOS-1D X สิ่งเหล่านี้ถูกจัดวางไว้ในสี่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน อยู่ทั้งสองด้านของกระจกหลักและกระจกรอง
- กลไกรักษาสมดุลน้ำหนัก/ล็อคกระจกรอง
- กลไกรักษาสมดุลน้ำหนักกระจกหลัก
- กลไกล็อคกระจกหลัก
ชุดกระจกรองรับความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ประมาณ 12 fps กระจกหลักและกระจกรองติดตั้งด้วยกลไกรักษาสมดุลน้ำหนักทั้งหมดสี่จุด
― เมื่อล็อคกระจกขึ้น โหมด "ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง" ซึ่งกำหนดโฟกัสและการเปิดรับแสงตามภาพถ่ายภาพแรก ทำความเร็วได้ที่ 14 fps ถูกต้องไหมถ้าจะบอกว่านี่เป็นขีดจำกัดความเร็วสูงที่สุดแล้วสำหรับการขับเคลื่อนกระจก?
Oshima ใช่ครับ ไม่เพียงแต่เป็นการยากที่จะพลิกกระจกขึ้นและลงให้เร็วกว่านี้ได้ แต่ยังจะไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการทำงาน AE กับ AF อีกทั้งการควบคุมม่านรูรับแสงของเลนส์ก็ไม่สามารถทำได้ทันกับความเร็วที่สูงกว่านี้ด้วยเช่นกัน เลนส์ EF ของ Canon ใช้รูรับแสงแบบแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เลนส์บางตัวที่ออกสู่ท้องตลาดในอดีตอาจไม่สามารถทำความเร็วได้ถึง 12 fps จนกว่ารูรับแสงจะเปิดจนเกือบสุด นี่เป็นผลมาจากความเร็วในการขับเคลื่อนม่านรูรับแสงที่ช้ากว่า สำหรับเลนส์ตัวล่าสุดของเราอย่างเลนส์ EF300mm f/2.8L IS II USM เราได้พยายามเพิ่มความเร็วในการขับเคลื่อนม่านรูรับแสงแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ที่ราวๆ 12 fps จนถึง 3 สต็อปจากค่ารูรับแสงกว้างสุด อย่างไรก็ตาม จะไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับเลื่อนม่านรูรับแสงที่ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง 14 fps นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมม่านรับแสงและค่ารูรับแสงจึงถูกกำหนดตายตัวในโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
รูรับแสงแม่เหล็กไฟฟ้าของเลนส์ EF
EF300mm f/2.8L IS II USM
เลนส์ซีรีย์ EF ใช้รูรับแสงแบบแม่เหล็กไฟฟ้า เลนส์ล่าสุดอย่าง EF300mm f/2.8L IS II USM สามารถถ่ายภาพได้ราว 12 fps ขณะใช้ฟังก์ชั่นติดตาม AF/AE แม้เมื่อลดค่ารูรับแสงลง 3 สต็อปจากรูรับแสงกว้างสุด