ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิวเลนส์ซูมมุมกว้าง EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM โดยช่างภาพอาชีพ

2013-10-31
3
10.1 k
ในบทความนี้:

ด้วยเซนเซอร์ CMOS ขนาด APS-C จึงทำให้กล้องมิเรอร์เลส EOS M สามารถมีขนาดกะทัดรัดพร้อมทั้งให้คุณภาพของภาพสูง นอกจากเลนส์ซูมมาตรฐานและเลนส์เดี่ยวแบบแพนเค้กในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเลนส์ EF-M ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับกล้อง EOS M แล้ว เลนส์ซูมมุมกว้างซูเปอร์ไวด์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ก็เป็นเลนส์ตัวใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในสายผลิตภัณฑ์เลนส์กลุ่มนี้ ในบทความต่อไปนี้ มาดูกันให้ชัดๆ ยิ่งขึ้นถึงเสน่ห์ของเลนส์ซูมมุมกว้างซูเปอร์ไวด์ตัวนี้ ขณะเราท่องเที่ยวไปในฮอกไกโดทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นเพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ โดยมีความเขียวชอุ่มสดชื่นของพรรณพืชเป็นธีมหลัก (เรื่องโดย: Masumi Takahashi)

หน้า: 1 2

เลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM

โครงสร้างเลนส์: 12 ชิ้นเลนส์ใน 9 กลุ่ม
จำนวนกลีบไดอะแฟรม: 7
ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด: ประมาณ 0.15 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.3 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: 55 มม.
เส้นผ่าศูนย์กลาง x ความยาว (สูงสุด): ประมาณ 60.9 x 58.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 220 กรัม

 

 

เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม (สีเขียว)

เลนส์ UD (สีน้ำเงินเข้ม)

ชุด IS หรือระบบป้องกันภาพสั่นไหว (สีแดง)

โครงสร้างเลนส์

เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมถูกนำมาใช้สำหรับชิ้นเลนส์ชิ้นแรกและชิ้นที่เก้า ส่วนเลนส์ UD ถูกใช้สำหรับชิ้นเลนส์ชิ้นที่เจ็ด เพื่อให้ได้คุณภาพของภาพถ่ายสูงตลอดช่วงการซูม นอกจากนี้ ระบบป้องกันภาพสั่นไหวยังถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกกับเลนส์ซูมมุมกว้างในซีรีย์เลนส์ EF ซึ่งช่วยสนับสนุนการถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ พร้อมให้คุณสมบัติการแก้ไขที่เทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์ประมาณสามสต็อป

 

รีวิวเลนส์พร้อมด้วยตัวอย่างจริง เลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM เมื่อประกอบเข้ากับกล้อง EOS M

EOS M/ FL: 14มม./ Aperture-priority AE (1/50 วินาที, f/11, +0.3EV)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

แสงจากอาทิตย์อัสดงลอดผ่านมวลเมฆลงมา เพื่อที่จะเก็บภาพวิวที่ผ่านมาเพียงชั่วเวลาสั้นๆ ผมถ่ายภาพโดยแตะที่หน้าจอสัมผัสของจอ LCD ด้านหลังเพื่อปรับโฟกัสและการเปิดรับแสง ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ แสงและเงานั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การพยายามจับภาพนาทีที่สำคัญขณะที่ธรรมชาติแสดงลักษณะแปรเปลี่ยนไปทุกวินาที ถือเป็นเรื่องน่าเพลิดเพลินใจอย่างยิ่ง

EOS M/ FL: 11 มม./ Aperture-priority AE (1/100 วินาที, f/11, +0.3EV)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อถึงปลายเดือนพฤษภาคม คุณจะได้ยินเสียงจั๊กจั่นร้องระงมสะท้อนไปทั่วผืนป่าสนญี่ปุ่น จั๊กจั่นลอกครอบซึ่งเริ่มมีให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกันเป็นเส้นนำสายตาขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ในภาพนี้ ผมเข้าไปใกล้จั๊กจั่นมากๆ โดยใช้ฝั่งมุมกว้างของเลนส์ซูมเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่ชัดเจนมากขึ้น

 

EOS M/ FL: 22 มม./ Aperture-priority AE (1/30 วินาที, f/11, +0.7EV)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ที่ฮอกไกโด แนวต้นวิลโลว์อ่อนสีเขียวสดตัดกับต้นซากุระสีชมพูเข้มเกิดเป็นทิวทัศน์ที่ดูสดชื่น กล้องถูกเล็งจากตำแหน่งที่ตัวแบบได้รับแสงสว่างจากแสงที่เฉียงมาทางด้านข้างเล็กน้อย ทำให้ผมสามารถใส่ท้องฟ้าสดใสเข้าไว้ในฉากหลังของภาพได้ ทั้งรายละเอียดภาพแจ่มชัดและการถ่ายทอดสีสันน่าพึงพอใจ

 

ถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือโดยใช้คุณสมบัติป้องกันภาพสั่นไหว

ในที่สุดเลนส์ตัวที่สามก็ได้เพิ่มเข้ามาในกลุ่มสายผลิตภัณฑ์เลนส์ EF-M เลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM เป็นเลนส์ซูมมุมกว้างซูเปอร์ไวด์ที่มีมุมรับภาพเทียบเท่ากับทางยาวโฟกัสประมาณ 18 ถึง 35 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ในที่นี้ ผมทดสอบความสามารถในการใช้งานและประสิทธิภาพในการถ่่ายภาพของเลนส์ด้วยการถ่ายภาพจริงจำนวนหนึ่ง เลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ซึ่งมีน้ำหนักเบาและขนาดกะทัดรัด ทางฝั่งมุมกว้างสามารถรองรับการถ่ายด้วยมุมแบบซูเปอร์ไวด์ด้วยทางยาวโฟกัสประมาณ 18 มม. ทำให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้ในแบบที่แตกต่างจากเลนส์ซูมมาตรฐานโดยสิ้นเชิง คุณจะชื่นชอบความสะดวกในการพกพาที่ดีเยี่ยมมากๆ เมื่อสวมเข้ากับกล้อง EOS M ทำให้เลนส์นี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ในภาพทดสอบนี้ ผมจงใจใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในองค์ประกอบภาพด้วย แต่ก็พบว่ามีแสงแฟลร์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย และคุณสมบัติความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนของเลนส์ซูเปอร์ไวด์ก็ได้รับการแก้ไขอย่างน่าพอใจด้วย

 

แม้แต่ช่างภาพอาชีพยังพบว่า กล้อง EOS M คู่กับเลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM นั้นเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดใจเพราะพกพาได้สะดวกมาก ดีไซน์กะทัดรัดทำให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพถ่ายได้จากมุมมองใหม่ๆ

 

สำหรับผม ฤดูดอกซากุระบานเป็นช่วงเวลาที่ยุ่งที่สุดช่วงหนึ่งของปี เมื่อมีกล้อง EOS M กับเลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM เป็นเพื่อนคู่ใจ ผมก็ใช้เวลาทั้งวันถ่ายภาพทิวทัศน์ฤดูใบไม้ผลิของฮอกไกโดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ ต้องขอบคุณกล้องกับเลนส์คู่นี้ ที่ให้ทั้งความกะทัดรัดและน้ำหนักเบาทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้าเลย การถ่ายภาพโดยใช้หน้าจอสัมผัสนั้นทำได้ง่ายดายและชาญฉลาดมาก ทำให้การใช้งานต่างๆ อย่างการเลือกจุดโฟกัสมีความสะดวกยิ่งขึ้น สำหรับภาพดอกแอรัม (Arum) และดอกดาวเรืองที่โผล่ขึ้นมาท่ามกลางหิมะ หลายๆ ครั้งผมจำเป็นต้องเพิ่มแสงเนื่องจากตัวแบบหลักจะดูมืดลงเพราะความขาวโพลนของหิมะ แต่ด้วยความสว่างและสีสันที่แสดงบนหน้าจอ Live View ได้แบบเรียลไทม์ของกล้อง EOS M ทำให้ผมตั้งระดับความสว่างที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย เพราะกล้องจะปรับการเปิดรับแสงตามบริเวณของภาพที่ผมแตะ ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพเหล่าี้นี้ ช่วยให้ผมสามารถถ่ายภาพได้รวดเร็ว

 

เพียงแตะที่จุดใดจุดหนึ่งของภาพที่แสดงบนหน้าจอ กล้องจะปรับโฟกัสและการวัดแสงให้ทันที ซึ่งจะช่วยลดความถี่ในการเรียกใช้ฟังก์ชั่นการชดเชยแสง เมื่อถ่ายภาพตัวแบบอย่างดอกไม้สีขาว นอกจากนี้ เฟิร์มแวร์ตัวใหม่ยังเพิ่มความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติของกล้อง EOS M ให้สูงขึ้น ผมจึงมุ่งความสนใจไปที่ตัวแบบได้เต็มที่กว่าเดิม

 

เฟิร์มแวร์ได้รับการแจกจ่ายให้กับกล้อง EOS M แล้วเพื่อการโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ ผมได้เปรียบเทียบกล้อง EOS M ก่อนและหลังการอัพเดตเฟิร์มแวร์ ผลสรุปพบว่าการโฟกัสอัตโนมัติทำได้เร็วขึ้นอย่างมากด้วยการอัพเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นใหม่ เมื่อโฟกัสภาพได้เร็วยิ่งขึ้น ผมจึงให้ความสนใจกับตัวแบบได้มากขึ้น ราวกับว่าผมสามารถสัมผัสวิวที่งดงามน่าตื่นตาตื่นใจทั้งหมดนี้แต่เพียงผู้เดียวผ่านกล้องตัวเล็กๆ ตัวนี้ ด้วยกล้องที่มอบโอกาสให้คุณได้เห็นทิวทัศน์ที่ชัดเจน รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง และมุ่งความสนใจให้กับการถ่ายภาพได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทักษะการถ่ายภาพทิวทัศน์ของคุณจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน

* บทความนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากกล้องรุ่นทดลอง ข้อมูลบางอย่างเช่นรูปลักษณ์ของกล้องและคุณภาพของภาพอาจแตกต่างไปเล็กน้อยจากผลิตภัณฑ์จริง นอกจากนี้ สีของตัวกล้อง EOS M ที่นำมาแสดงในที่นี้ ปัจจุบันมีวางจำหน่ายเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น

Masumi Takahashi

 

เกิดในปี 1959 ที่ฮอกไกโด Takahashi เริ่มต้นถ่ายภาพตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย โดยมีภูเขาของฮอกไกโดเป็นธีมหลัก เขาสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายทิวทัศน์ธรรมชาติของ Biei และ Furano ด้วยความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนเฉพาะตัวของเขา

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา