PowerShot G7 X Mark II: กล้องระดับไฮเอนด์หลักที่มาพร้อมกับการพัฒนาที่ยอดเยี่ยม
PowerShot G7 X Mark II เป็นกล้องดิจิตอลคอมแพคระดับไฮเอนด์ที่ต่อยอดมาจากกล้อง PowerShot G7 X ที่วางตลาดเมื่อปี 2014 เราลองมาดูการพัฒนาใหม่ๆ ทั้งในด้านรูปลักษณ์และฟังก์ชันการทำงานที่ทำให้กล้องรุ่นนี้โดดเด่นจากรุ่นก่อนหน้ากัน (เรื่องโดย: Takeshi Ohura)
สเปคกล้องที่สร้างความพึงพอใจอย่างมากแม้แต่สำหรับผู้ใช้ที่มองการณ์ไกลมากที่สุด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราพยายามสร้างความมั่นใจว่ากล้องดิจิตอลคอมแพคมาพร้อมกับความสามารถในการถ่ายทอดภาพและฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุมมากกว่าสมาร์ทโฟน กล้องดิจิตอลคอมแพคจึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานกล้องที่มองการณ์ไกลมากที่สุด
PowerShot G7 X Mark II คือหนึ่งในกล้องที่ว่านั้น เนื่องจากเป็นกล้องรุ่นต่อจาก PowerShot G7 X ที่วางตลาดครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2014 นี่จึงเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพคที่มีสเปคครบครัน มีเซนเซอร์ CMOS ขนาด 1.0 นิ้ว เลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่พร้อมการซูมแบบออปติคอล 4.2 เท่า ระบบประมวลผลภาพใหม่ล่าสุด (DIGIC 7) รวมถึงคุณสมบัติมากมายที่ผู้ใช้งานกล้อง EOS รู้สึกคุ้นเคยเป็นอย่างดี
ความกะทัดรัดที่สืบทอดมาจากกล้อง PowerShot G7 X
ก่อนอื่นเราจะมาดูรูปลักษณ์ภายนอกของกล้องกัน ในแง่ของขนาด PowerShot G7 X Mark II ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้ามากเท่าใดนัก ด้วยตัวกล้องขนาด (กว้าง × สูง × ลึก) 105.5 × 60.9 × 42.2 มม. น้ำหนัก 319 ก. (รวมแบตเตอรี่และการ์ดหน่วยความจำ) พูดได้ว่ากล้อง PowerShot G7 X Mark II สืบทอดดีไซน์กะทัดรัดมาจากกล้องรุ่นก่อนหน้านี้
ขณะที่ PowerShot G7 X มีพื้นผิวที่ทำจากโลหะ PowerShot G7 X Mark II มีพื้นผิว ทำจากเรซิ่นที่มีดีไซน์คล้ายหนังเนื้อละเอียด ทั้งยังเพิ่ม ส่วนมือจับใหม่เข้าไปที่่ทางด้านหน้าของตัวกล้อง จึงทำให้กล้องรุ่นนี้มีรูปลักษณ์และสัมผัสที่แตกต่างจากกล้องรุ่นก่อนหน้าเล็กน้อย การปรับโฉมใหม่ช่วยให้การถือกล้องทำได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณจึงสามารถเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพด้วยส่วนมือจับที่มั่นคงยิ่งขึ้น
ส่วนมือจับที่เพิ่มเข้ามาใหม่รวมถึงดีไซน์ที่เรียบง่ายซึ่งทำให้ืถือกล้องได้ง่ายขึ้นเป็นพิเศษ พื้นผิวทำจากเรซิ่นที่ออกแบบมาให้คล้ายคลึงกับหนังเนื้อละเอียดคือสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เช่นกัน
การใช้งานที่คุ้นเคยพร้อมด้วยจอแบบปรับเอียงที่ขณะนี้สามารถปรับเอียงลงต่ำได้แล้ว
ผู้ใช้งาน PowerShot G7 X จะรู้สึกคุ้นเคยกับรูปแบบการจัดวางปุ่มควบคุมต่างๆ PowerShot G7 X Mark II สืบทอดการออกแบบแป้นควบคุมแบบซ้อนกันอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยวงแหวนเลือกโหมดวางซ้อนอยู่ด้านบนของวงแหวนชดเชยแสง อย่างไรก็ดี วงแหวนชดเชยแสงได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
หนึ่งในข้อแตกต่างสำคัญที่ทำให้กล้องทั้งสองรุ่นไม่เหมือนกันคือ ความหลากหลายของจอแบบปรับเอียงได้ หน้าจอของกล้อง PowerShot G7 X Mark II สามารถปรับเอียงลงต่ำสุดได้ถึง 45 องศา ช่วยให้การถ่ายภาพมุมสูงในแนวนอนทำได้ง่ายขึ้น หน้าจอ LCD เป็นแบบสัมผัส ขนาด 3.0 นิ้ว ความละเอียด 1.04 ล้านจุด ซึ่งโดยพื้นฐานจะเหมือนกับหน้าจอของกล้อง PowerShot G7 X
วงแหวนเลือกโหมดวางซ้อนอยู่ด้านบนของวงแหวนชดเชยแสง วงแหวนชดเชยแสงถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น และยังมีการเคลื่อนที่เป็นลำดับขั้นอย่างเหมาะสม ช่วยให้คุณใช้งานง่ายขึ้นเพียงใช้นิ้วหัวแม่มือขวาเท่านั้น
หน้าจอ LCD ของกล้อง PowerShot G7 X สามารถปรับเอียงขึ้นได้สูงสุดถึง 180 องศา ขณะที่ในกล้อง PowerShot G7 X Mark II สามารถปรับเอียงลงต่ำสุดได้ 45 องศา
วงแหวนควบคุมที่ฐานเลนส์ยังถ่ายทอดคุณสมบัติมาจาก PowerShot G7 X ด้วยเช่นกัน แต่ในขณะนี้คุณสามารถปรับแต่งความรู้สึกในการใช้งานวงแหวนควบคุมให้เป็นได้ทั้งการควบคุมแบบลำดับขั้นหรือต่อเนื่องได้อีกด้วย การเคลื่อนที่แบบลำดับขั้นของวงแหวนควบคุมสามารถเปิด/ปิดใช้งานได้โดยใช้ก้านต่อเฉพาะซึ่งสามารถพบได้ที่ฐานของเลนส์ คุณสามารถตั้งค่าการควบคุมแบบลำดับขั้นขณะกำหนดฟังก์ชันต่างๆ ได้ เช่น การตั้งค่าการเปิดรับแสง ความไวแสง ISO การซูมเป็นลำดับขั้น และสามารถตั้งค่าการควบคุมอย่างต่อเนื่องสำหรับการโฟกัสแบบแมนนวลที่เงียบเชียบได้ ทั้งหมดนี้ช่วยให้การควบคุมต่างๆ ง่ายดายยิ่งขึ้น และยังอาจกล่าวได้ว่าช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้งานวงแหวนควบคุมได้มาก
ในขณะนี้คุณสามารถเลือกวงแหวนควบคุมระหว่างการควบคุมแบบลำดับขั้นหรือต่อเนื่องได้ที่ฐานเลนส์ ส่วนที่นูนขึ้นดังที่เห็นในภาพคือก้านสวิตช์สำหรับเลือกการควบคุมแบบลำดับขั้น/ต่อเนื่อง
หน้าจอตั้งค่าวงแหวนควบคุมให้คุณสามารถกำหนดฟังก์ชันต่างๆ ให้ักับวงแหวนควบคุมได้ เช่น ความไวแสง ISO โฟกัส การซูมแบบลำดับขั้น และอื่นๆ ผมขอแนะนำให้ตั้งค่าฟังก์ชันทั้งหลายดังกล่าวร่วมกับฟังก์ชันควบคุมแบบลำดับขั้น/ต่อเนื่อง
หน้าจอเวลาที่ถ่ายภาพเมื่อกำหนดฟังก์ชันการซูมแบบลำดับขั้นให้กับวงแหวนควบคุม ทางยาวโฟกัสโดยเทียบเท่้าจะแสดงขึ้นที่ด้านล่างของจอ
อีกหนึ่งคุณสมบัติใหม่ของกล้อง PowerShot G7 X Mark II คือ การแสดงเมนู ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับในกล้องซีรีย์ EOS ผู้ใช้กล้อง EOS จะรู้สึกคุ้นเคยและสะดวกสบายเมื่อใช้งานเมนูต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงใหม่นี้สามารถมอบความสมบูรณ์แบบในการทำงานของกล้องในระดับที่สูงขึ้น
ปุ่มควบคุมที่ด้านหลังของตัวกล้องไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนมากนัก ซึ่งสะท้อนว่ากล้องสามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ
เซนเซอร์ขนาด 1.0 นิ้วกลายเป็นคุณสมบัติมาตรฐาน
เราได้เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่าเซนเซอร์ภาพของกล้องเป็นเซนเซอร์ CMOS ขนาด 1.0 นิ้ว ซึ่งช่วยให้เราได้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่มีขนาดใหญ่อย่างง่ายดาย (นอกเหนือจากการถ่ายภาพระยะใกล้) เมื่อเทียบกับการถ่ายด้วยกล้องของสมาร์ทโฟน ทั้งยังได้โบเก้จำนวนมากอีกด้วย
นอกจากนี้ แน่นอนว่าทั้งกระบวนการแสดงสี ลักษณะความไวต่อแสงสูง ฯลฯ ยังเหนือกว่าสมาร์ทโฟนอยู่มาก ก่อนหน้านี้ กล้องดิจิตอลคอมแพคส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์ภาพขนาด 1/1.7 นิ้ว และ 1/2.3 นิ้ว อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้สูงมากที่ขนาด 1.0 นิ้ว จะกลายมาเป็นคุณสมบัติมาตรฐานในอนาคต ความละเอียดที่ใช้งานจริงของเซนเซอร์ขนาด 1.0 นิ้วในกล้อง PowerShot G7 X Mark II อยู่ที่ประมาณ 20.1 ล้านพิกเซล
ความไวแสง ISO พื้นฐานคือ ISO 125 และมีความเร็วสูงสุดที่ ISO 12800 เมื่อเราใช้เซนเซอร์ CMOS ขนาด 1.0 นิ้ว แม้แต่ช่วงความไวแสง ISO สูงก็สามารถใช้งานได้อย่างเพียงพอ
เมื่อตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น [อัตโนมัติ] คุณสามารถตั้งค่าช่วงของการเปลี่ยนแปลงเป็น "มาตรฐาน" เร็ว" หรือ "ช้า" ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
กล้องมีโหมดเน้นโทนภาพบริเวณสว่างที่ผู้ใช้กล้อง EOS รู้สึกคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นฟังก์ชันที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะนำมาใช้เมื่อคุณต้องการเก็บรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อยในบริเวณที่สว่าง
กล้องรุ่นแรกที่ใช้ระบบ DIGIC 7 และรูปแบบภาพ
การปรับปรุงระบบประมวลผลภาพของกล้องในครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจมองข้ามได้ นอกจากระบบ DIGIC 7 ใหม่ล่าสุดจะพัฒนากระบวนการแสดงโทนสีและลักษณะความไวต่อแสงสูงแล้ว ยังทำให้ความสามารถในการประมวลผลภาพดีขึ้น ด้วยความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงถึง 8 เฟรมต่อวินาที อีกทั้งระบบประมวลผลภาพยังเชื่อถือได้ในเรื่องระบบป้องกันการสั่นไหว ด้วยการควบคุมกลไกลออปติคอลด้วยเซนเซอร์ไจโรโดยใช้ Dual Sensing IS ซึ่งจะพิจารณาอัลกอริทึมตามข้อมูลภาพที่เซนเซอร์ภาพรวบรวมไว้
คุณสมบัติการแก้ไขภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์ 4 ขั้นตอน รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์อยู่ที่ระหว่าง f/1.8-2.8 ซึ่งให้ความสว่างที่มากพอและยังแก้ไขปัญหากล้องสั่นได้ ยิ่งไปกว่านั้น DIGIC 7 ยังสามารถประมวลผลการแก้ไขการกระจายแสงซึ่งทำให้ความละเอียดลดลงเมื่อเลนส์ลดค่ารูรับแสง ดังนั้น ผู้ใช้จึงต้องระมัดระวังในเรื่องดังกล่าวขณะลดขนาดรูัรับแสงให้แคบลงเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ ฯลฯ
ระบบออปติคอลยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจาก PowerShot G7 X คุณจึงไดุ้มุมรับภาพที่เทียบเท่ากับ 24 ถึง 100 มม. เช่นเดิม ส่วนจำนวนขั้นตอนในการแก้ไขภาพสำหรับระบบป้องกันการสั่นไหวได้เพิ่มขึ้นเป็น 4 ขั้นตอน
กล้องติดตั้งฟิลเตอร์ ND ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการถ่ายภาพด้วยการเปิดรูรับแสงกว้างอย่างเต็มที่หรือสำหรับการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงเป็นเวลานาน สำหรับการใช้งานปกติ คุณควรจะสามารถตั้งค่าฟังก์ชันนี้เป็นโหมดอัตโนมัติได้โดยไม่เกิดปัญหา
อีกหนึ่งคุณสมบัติใหม่ของกล้องคือ รูปแบบภาพ ซึ่งในกล้อง EOS จะนำคุณสมบัตินี้มาใช้เพื่อปรับแต่งภาพ อีกทั้งยังสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสี (ความสดใสของสี) เพื่อควบคุมให้ได้ผลภาพตามที่ต้องการในลักษณะเดียวกับที่คุณสามารถทำได้ในกล้องซีรีย์ EOS อีกด้วย แน่นอนว่าหากคุณจะใช้กล้องรุ่นนี้เป็นกล้องเสริมสำหรับกล้อง EOS การปรับแต่งรูปแบบเพื่อให้ภาพออกมาโดดเด่นในสไตล์ที่เหมือนกันก็ทำได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ กล้องยังรองรับการบันทึกแบบ 14 บิตสำหรับไฟล์ภาพ RAW และเซนเซอร์ขนาด 1.0 นิ้วมีขอบที่สามารถนำมาใช้สำหรับภาพที่ใช้กระบวนการแสดงโทนสีอย่างเต็มที่
เลนส์ที่เหมาะกับกล้องดิจิตอลคอมแพคระดับไฮเอนด์
สเปคของเลนส์ได้แก่ มุมรับภาพที่เทียบเท่ากับ 24 ถึง 100 มม. และค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 ที่ระยะมุมกว้าง และ f/2.8 ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ เนื่องจากเป็นเลนส์ซูมของกล้องดิจิตอลคอมแพค เลนส์จึงค่อนข้างสว่างและสามารถใช้เพื่อสร้างภาพโบเก้ขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการถ่ายด้วย ด้วยเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมสามชิ้น และชิ้นเลนส์ UD หนึ่งชิ้น รวมถึงการเคลือบผิวแบบ Super Spectra Coating และไดอะแฟรมไอริส 9 กลีบแบบดั้งเดิมของ Canon ส่วนประกอบของเลนส์จึงเหมาะกับกล้องดิจิตอลคอมแพคระดับไฮเอนด์
นอกจากนี้ กล้องยังมีระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 5 ซม. ที่ระยะมุมกว้าง และ 40 ซม. ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ ก่อนหน้านี้ กล้องไม่สามารถถ่ายภาพระยะใกล้ด้วยเซนเซอร์ขนาด 1.0 นิ้วได้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
ยืดเลนส์ออก กล้องปิด
ยืดเลนส์ออก ฝั่งมุมกว้าง
ยืดเลนส์ออก ฝั่งเทเลโฟโต้ เวลาเริ่มต้นประมาณ 1.2 วินาที
จอภาพ Live View ไม่มีข้อมูลแสดง
จอภาพ Live View แสดงข้อมูล 1
จอภาพ Live View แสดงข้อมูล 2 (เส้นตาราง / ระดับแนวนอน / ฮิสโตแกรม)
ฟังก์ชันการถ่ายภาพคร่อมยังมีฟังก์ชันการคร่อมโฟกัสที่เปลี่ยนตำแหน่งโฟกัสขณะถ่ายภาพต่อเนื่องระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวลอีกด้วย
กล้องมีแฟลชในตัว แม้จะไม่ทราบค่าไกด์นัมเบอร์ ช่วงแฟลชที่ใช้งานได้คือ 0.5 ม. ถึง 7 ม. สำหรับระยะมุมกว้าง และ 0.4 ม. ถึง 4 ม. ที่ฝั่งเทเลโฟโต้
ใช้แบตเตอรี่ NB-10L ลิเธียมไอออน กล้องสามารถถ่ายภาพได้สูงสุดถึง 265 ภาพเมื่อชาร์จแบตเตอรี่เต็ม (สอดคล้องตามมาตรฐาน CIPA/ พร้อมเปิดหน้าจอ LCD)
มาพร้อมแท่นชาร์จแบตเตอรี่ CB-2LH ซึ่งรองรับการชาร์จผ่าน USB ด้วยเช่นกัน
Takeshi Ohura
เกิดเมื่อปี 1965 ที่จังหวัดมิยะซะกิ Ohura จบการศึกษาจากแผนกการถ่ายภาพจากวิทยาลัยศิลปะ มหาวิทยาลัยนิฮอง หลังจากทำงานในแผนกตัดต่อกับบริษัทการวางแผนการออกแบบและนิตยสารรถมอเตอร์ไซค์ เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเขียนบทความให้กับนิตยสารด้านการถ่ายภาพจากประสบการณ์ในการใช้กล้องดิจิตอลสำหรับการถ่ายภาพโฆษณา นอกเหนือจากการทำงาน เขาชอบดูภาพถ่ายและหาเวลาเยี่ยมชมแกลเลอรี่อยู่เสมอ Ohura ยังเป็นสมาชิก Camera Grand Prix Selection Committee อีกด้วย
Digital Camera Watch
ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ
http://dc.watch.impress.co.jp/