[ภาพถ่ายรถไฟ] “หยุด” รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงในสภาวะแสงที่มืด
ด้วยกล้อง EOS 6D ที่มาพร้อมความไวแสง ISO ประสิทธิภาพดีเยี่ยม คุณจึงสามารถถ่ายภาพในบรรยากาศที่มีแสงน้อยให้คมชัดได้ โดยไร้ปัญหาจากอาการกล้องสั่นหรือภาพหลุดโฟกัส ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเคล็ดลับบางส่วนสำหรับการถ่ายภาพรถไฟในเวลากลางคืน (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki)
หน้า: 1 2
รถไฟหัวกระสุนที่กำลังลอดผ่านอุโมงค์
ในการถ่ายภาพรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงในที่มืด คุณจะต้องเพิ่มความไวแสง ISO และเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อไม่ให้ภาพรถไฟออกมาเบลอ แต่หากคุณกำลังถ่ายภาพรถไฟที่กำลังวิ่งเข้ามาทางด้านหน้าโดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้ การ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ค่อนข้างช้า (เช่น 1/30 หรือ 1/60 วินาที) ก็สามารถทำได้ เพราะระยะทางการวิ่งในองค์ประกอบภาพนั้นไม่มาก นี่คือเทคนิคที่ผมแนะนำเมื่อคุณใช้เลนส์ “มืด” ที่มีค่า f ที่ให้รูรับแสงสูงหรือเมื่อคุณไม่สามารถเพิ่มความไวแสง ISO ได้
ISO 6400
EOS 6D/ EF300mm f/4L IS USM+EXTENDER EF1.4xIII/ FL: 420 มม./ Manual exposure (1/30 วินาที, f/5.6)/ ISO 6400/ WB: แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว
ปกติแล้วในอุโมงค์จะมืดทึบไม่มีแสงไฟใดๆ ยกเว้นที่หัวขบวนรถไฟเท่านั้น ตอนที่ผมถ่ายภาพนี้ โชคดีที่มีรถไฟฝั่งตรงข้ามอีกขบวนผ่านมาพอดี ทำให้ผมถ่ายภาพหัวขบวนรถไฟไว้ได้ในพริบตา
ISO 200
ในอุโมงค์รถไฟไม่มีแสงไฟ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะถ่ายภาพแสงของรถไฟให้เห็นได้ชัด ถ้าคุณไม่เพิ่มความไวแสง ISO
เทคนิค – มุ่งสร้างสมดุลที่เหมาะสมที่สุดระหว่างท้องฟ้าและแสงไฟ
มืดเกินไป
พอดี
ความสว่างของท้องฟ้ามีบทบาทสำคัญเมื่อคุณถ่ายภาพรถไฟในเวลากลางคืน แสงจากรถไฟอาจดูจ้าเกินไปหากบรรยากาศรอบข้างมืดมาก ทำให้เกิดแสงฟุ้งกระจายในเลนส์ อย่างในภาพ สิ่งสำคัญคือ เราต้องคอยถ่ายภาพในช่วงเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกทันทีก่อนที่ท้องฟ้าจะมืดสนิท เพื่อที่ความสว่างของท้องฟ้าจะมีสมดุลพอเหมาะกับแสงไฟบนรถไฟ
ลดขนาดรูรับแสงเพื่อรวมวิวรอบข้าง
เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืน เช่น สถานีรถไฟ ผมแนะนำให้คุณลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลงโดยเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นแทนการใช้ระยะชัดตื้น การลดขนาดรูรับแสงจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง ทำให้ภาพของรถไฟพร่ามัว แต่เส้นแสงที่เกิดจากตัวรถไฟจะช่วยขับเน้นความโดดเด่นของสถานีรถไฟขึ้นมาได้
ISO 3200
EOS 6D/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 20 มม./ Manual exposure (1/4 วินาที, f/8)/ ISO 3200/ WB: แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว
สถานีโตเกียวดูมีชีวิตชีวาขึ้นเพราะตึกที่รายล้อมรอบข้าง เพื่อเก็บภาพวิวที่งดงามนี้ไว้ ผมแนะนำให้ลดขนาดรูรับแสงเพื่อเพิ่มความคมชัดให้กับภาพถ่าย เมื่อเลือกความไวแสง ISO สูง คุณจะสร้างสรรค์ภาพที่คมชัดและมีระยะโฟกัสแบบชัดลึกได้แม้ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
“หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟไว้ระหว่างตึกสองฝั่ง
ความไวแสง ISO สูงๆ ช่วยให้คุณเลือกความเร็วชัตเตอร์สูงได้ โดยทั่วไป ภาพรถไฟที่กำลังวิ่งอยู่มักจะออกมาเบลอ หากคุณไม่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/1,000 วินาทีหรือเร็วกว่านั้น จึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟเมื่อถ่ายภาพในยามค่ำคืน อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกเวลาและสถานที่ให้มีความเหมาะสม คุณจะสามารถถ่ายภาพรถไฟที่คมชัดได้โดยเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อเลือกความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น
ISO 5000
EOS 6D/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (1/320 วินาที, f/4)/ ISO 5000/ WB: แสงแดด
สถานที่ถ่ายตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ ทำให้ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟได้ง่ายขึ้น เพราะรถไฟยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ค่อนข้างต่ำ แต่ด้วย ISO 200 ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/13 วินาทีนั้นช้าเกินไป และไม่มีทางที่จะถ่ายภาพรถไฟโดยไม่เบลอ ดังนั้น ผมจึงเพิ่มความไวแสง ISO เป็น ISO 5000 เพื่อ “หยุด” การวิ่งของรถไฟไว้ที่ 1/320 วินาที
ISO 200
ISO 5000
เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ “Railman Photo Office” ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา