ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับกล้อง EOS 80D (2): โหมดการเลือกพื้นที่ AF สำหรับการโฟกัสที่รวดเร็ว

2016-12-01
3
8.76 k
ในบทความนี้:

หัวใจสำคัญของการโฟกัสที่รวดเร็วและแม่นยำด้วยกล้อง EOS 80D อยู่ที่วิธีการใช้ประโยชน์จากจุด AF 45 จุด เพื่อให้การถ่ายภาพของคุณรวดเร็วยิ่งขึ้น การเลือกจุด AF โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของตัวแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของโหมดการเลือกพื้นที่ AF สี่โหมดที่ช่วยให้เราสามารถบันทึกภาพช่วงวินาทีสำคัญที่เราอาจไม่ได้พบเห็นอีก (ภาพและเรื่องโดย Ryosuke Takahashi)

 

โหมดการเลือกพื้นที่ AF: ภาพรวม

ใน ตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับจุด AF ประเภทต่างๆ ที่มีให้เลือกใช้ในกล้อง EOS 80D กันไปแล้ว 

จุด AF ทั้งหมด 45 จุดในกล้อง EOS 80D ไม่เพียงสามารถทำงานได้โดยอิสระ แต่ยังสามารถนำมาประกอบกันเป็น "โซน" ได้อีกด้วย ในการเลือกจำนวนจุด AF และนำมาประกอบเข้าด้วยกันนั้น คุณจะต้องใช้โหมดการเลือกพื้นที่ AF ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันในตอนที่ 2 นี้ 

โดยรวมแล้ว กล้อง EOS 80D มีโหมดการเลือกพื้นที่ AF ที่แตกต่างกันถึงสี่โหมด ได้แก่  

1. AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง)
2. โซน AF (การเลือกโซนด้วยตนเอง)
3. Large Zone AF (การเลือกโซนด้วยตนเอง) [หมายเหตุ: โหมดนี้เป็นโหมดใหม่ที่เปิดตัวในกล้อง EOS 80D]
4. AF แบบเลือกอัตโนมัติ 45 จุด

วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรเลือกใช้โหมดใดคือ ให้พิจารณาจากฉากและลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบ แล้วจึงเลือกโหมดที่เหมาะสม โดยวิธีนี้จะต้องอาศัยความคุ้นเคยกับคุณลักษณะของแต่ละโหมด ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงไว้ทั้งหมด

ก่อนที่เราจะศึกษาโหมดการเลือกพื้นที่แต่ละโหมดกันอย่างละเอียด มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจจับ AF ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นคือ โหมดการเลือกพื้นที่ AF ทั้งหมดจะใช้ระบบติดตามสี การตรวจจับสีผิว และข้อมูลเกี่ยวกับระยะห่างระหว่างตัวแบบกับกล้องเพื่อให้ AF มีความแม่นยำมากขึ้น โดยหากไม่สามารถตรวจจับสีผิวได้ AF จะตรวจจับตัวแบบที่อยู่ใกล้ที่สุดแทน 

ดังนั้น ควรจดจำหลักนี้ไว้เมื่อเราจะเลือกใช้โหมดการเลือกพื้นที่แต่ละโหมด

โหมดการเลือกพื้นที่ AF สี่โหมด

เล็งที่จุดจุดเดียว AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง)

จับโฟกัสบนจุดเดียว

โหมดนี้ช่วยให้คุณสามารถจับโฟกัสที่จุด AF จุดเดียวที่เลือกไว้ด้วยตนเองได้ และจุด AF ทั้งหมดนอกเหนือจากจุดที่เลือกไว้จะถูกปิดใช้งาน โหมด AF จุดเดียวนี้มอบประสิทธิภาพความแม่นยำในการโฟกัสที่ดีขึ้น โดยสามารถใช้กับตัวแบบและฉากได้หลากหลายประเภท ซึ่งมีการเคลื่อนไหวในภาพเล็กน้อยมาก เช่น ภาพทิวทัศน์ บุคคล และภาพนิ่ง

 

เล็งที่โซน: โซน AF (การเลือกโซนด้วยตนเอง)

ถ่ายตัวแบบโดยใช้จุด AF หลายจุด

ในโหมดนี้ คุณสามารถเลือกโซนเพื่อโฟกัสได้หนึ่งโซนจากเก้าโซน โดยแต่ละโซนประกอบด้วยจุด AF หลายจุด โหมดนี้เหมาะสำหรับตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวบ้าง เช่น ภาพพอร์ตเทรตที่มีตัวแบบที่เคลื่อนไหวและการถ่ายภาพสตรีทสแนป

 

เล็งที่โซน: Large Zone AF (การเลือกโซนด้วยตนเอง)

ถ่ายตัวแบบในพื้นที่ที่กว้างขึ้น

โหมดนี้จะแบ่งหน้าจอออกเป็นโซนขนาดใหญ่สามโซน (ซ้าย กลาง และขวา) ซึ่งแต่ละโซนจะใช้จุด AF หลายจุดสำหรับการโฟกัส เมื่อเทียบกับโซน AF แล้ว Large Zone AF เหมาะสำหรับตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมากกว่า โดยกล้องจะเลือกจุด AF ภายในโซนโดยอัตโนมัติ และจำนวน AF ที่ใช้ยังแตกต่างกันไปตามสภาพของตัวแบบ

 

เล็งที่โซน: AF แบบเลือกอัตโนมัติ 45 จุด

เลือกจุด AF อัตโนมัติ

ในโหมดนี้กล้องจะเลือกจุด AF อัตโนมัติตามตำแหน่งและขนาดของตัวแบบ โดยสามารถเลือกจุด AF ทั้ง 45 จุดได้ แต่จำนวนที่สามารถใช้งานได้นั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ ระยะห่างระหว่างตัวแบบกับกล้อง และเช่นเดียวกับโหมดอื่นๆ การตรวจจับสีผิวสามารถใช้งานในโหมด AF แบบเลือกอัตโนมัติ 45 จุดได้เช่นกัน นอกจากนี้โหมดนี้ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตอีกด้วย

 

เราจะเปลี่ยนโหมดการเลือกพื้นที่ AF ได้อย่างไร

1. กดปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF หรือปุ่มการเลือกจุด AF

กดปุ่มใดปุ่มหนึ่งเพื่อเปิดใช้งานการเลือกโหมดการเลือกพื้นที่ AF โหมดที่เลือกอยู่ในขณะนั้นจะมีลูกศรกำกับอยู่ คุณจึงสามารถควบคุมกล้องโดยใช้ปุ่มที่ใช้งานง่ายได้

 

2. กดปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF

เมื่อกดปุ่มโหมดการเลือกพื้นที่ AF แต่ละครั้งจะเป็นการเปลี่ยนโหมดและวนกลับไปที่เดิมหลังจากไปถึงโหมดสุดท้ายแล้ว ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการยืนยันโหมด สามารถกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเมื่อโหมดที่คุณต้องการใช้งานถูกเลือกไว้แล้ว

 

จุดที่ 1: ใช้ AF จุดเดียวหากคุณแน่ใจแล้วว่าจะจับโฟกัสไว้ที่จุดใด

โหมด AF จุดเดียวเหมาะสำหรับตัวแบบและภาพทิวทัศน์ที่เป็นภาพนิ่ง รวมถึงเมื่อคุณต้องการตั้งโฟกัสไว้ที่ดวงตาของตัวแบบในภาพพอร์ตเทรต เนื่องจากเฉพาะจุด AF ที่เลือกไว้เท่านั้นที่จะตอบสนองในโหมดนี้ จึงไม่ต้องกังวลว่าโฟกัสจะเปลี่ยนไปยังตำแหน่งที่ไม่ต้องการโดยอัตโนมัติ โหมดการเลือกพื้นที่ AF นี้จึงเหมาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องใช้การโฟกัสที่แม่นยำ เช่น เมื่อคุณต้องการจะลดระยะชัดของภาพอย่างจงใจ จึงขอแนะนำให้ใช้โหมดนี้ในฉากที่คุณต้องการจะทำการโฟกัสแบบ Pinpoint

ในตัวอย่างนี้ ผมจับโฟกัสบนผิวของพริกหยวกสีแดงที่อยู่ทางด้านขวาหลังจากเลือก AF จุดเดียวแล้ว

 

EOS 80D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/60 วินาที)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ
ระยะชัดของภาพที่รูรับแสงกว้างสุดตื้นมาก แต่ผมสามารถสร้างโฟกัสที่คมชัดได้เพราะคุณสมบัติของ AF จุดเดียว

 

จุดที่ 2: ใช้ AF แบบเลือกอัตโนมัติ 45 จุดเมื่อไม่สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้

โหมดการเลือกพื้นที่ AF นี้เป็นประโยชน์สำหรับฉากที่เราไม่สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้เลย โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบเมื่อถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว เช่น นกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า สัตว์เลี้ยง หรือเด็กๆ จุด AF ที่เลือกสำหรับการโฟกัสจะแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพของฉากและทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้ ควรเลือกใช้โหมดนี้เมื่อคุณต้องการให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพตัวแบบมากกว่าความแม่นยำในการโฟกัส

จุด AF หลายจุดที่พอเหมาะพอดีกับตัวนกจะขึ้นไฟสีแดงเพื่อแสดงว่าสามารถจับโฟกัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/640 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/WB: แสงแดด
เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเลือกจุด AF ด้วยตนเอง โหมดนี้จึงช่วยให้การตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวแบบฉับพลันทำได้ง่ายขึ้น และถ่ายภาพตัวแบบได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

 

จุดที่ 3: ใช้ Large Zone AF เพื่อถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวพร้อมกับรักษาองค์ประกอบภาพ

โหมด Large Zone AF ซึ่งแบ่งหน้าจอออกเป็นสามโซนมีประโยชน์เมื่อต้องการถ่ายภาพหลังจากที่กำหนดตำแหน่งของตัวแบบไว้คร่าวๆ แล้ว โหมดนี้เหมาะกับฉากที่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับ Zone AF และยังนำไปใช้กับการถ่ายภาพได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ภาพสตรีทไปจนถึงภาพกีฬา แม้ว่าในบางกรณีการปรับสมดุลระหว่างองค์ประกอบภาพและการโฟกัสขณะถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวอาจทำได้ยาก แต่เมื่อใช้โหมด Large Zone AF ทุกอย่างก็เป็นเรื่องง่าย นอกจากนี้ โหมดนี้ยังมีประโยชน์เมื่อคุณต้องการมุ่งความสนใจไปที่ช็อตของคุณ

ในภาพตัวอย่างนี้ จุดโฟกัสอยู่ที่เด็กซึ่งนั่งอยู่บนชิงช้าเท่านั้น โดยจุด AF อื่นๆ ไม่ตอบสนองต่อคนที่เหลือและอาคารที่อยู่ในภาพ

 

EOS 80D/ EF-S24mm f/2.8 STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
หากคุณทราบเวลาที่จะถ่ายภาพ ให้กำหนดองค์ประกอบภาพไว้ล่วงหน้าแล้วเลือกใช้ Large Zone AF เพื่อรอจังหวะที่เหมาะในการถ่ายตัวแบบ

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

 

 

 

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา