ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิวการจับคู่เลนส์กับกล้อง EOS 80D: EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM

2016-07-07
1
8.83 k
ในบทความนี้:

EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM คือเลนส์ซูมที่ให้คุณเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพเทเลโฟโต้ได้อย่างเต็มที่ในราคาที่สมเหตุสมผล นี่จึงเป็นเลนส์ชิ้นหนึ่งที่ผมขอแนะนำ หากสิ่งสำคัญที่คุณกำลังมองหาในเลนส์ซูมเทเลโฟโต้คือความคล่องตัว อย่าพลาดอ่านรีวิวเลนส์ที่ใช้กับกล้อง EOS 80D นี้กัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

 


ข้อดีหลัก

- ด้วยน้ำหนักประมาณ 375 กรัม จึงเป็นเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาที่พกพาได้สะดวก
- เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้เช่นกัน ด้วยระยะการถ่ายภาพต่ำสุด 0.85 ม.


 

250 มม.

EOS 80D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 250 มม. (เทียบเท่า 400 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV-1)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ
แม้ว่าจะเป็นเลนส์ที่ไม่ให้ความสว่าง แต่ให้ความคมชัดเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุด และยังไม่มีความคลาดสีที่บริเวณขอบแก้วอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ทำให้เลนส์ชนิดนี้พิเศษอย่างมากคือ STM ซึ่งทำให้การโฟกัสเกือบจะเงียบเชียบ ซึ่งหมายความว่าคุณไม่ต้องคัดเลือกฉากที่จะใช้กับเลนส์นี้อีกต่อไป

 

84 มม.

EOS 80D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 84 มม. (เทียบเท่า 134.4 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/5, 1/2,000 วินาที, EV-1)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ
ช่วงมุมกว้างมีประโยชน์เมื่อคุณต้องการเข้าใกล้ตัวแบบที่อยู่ห่างออกไปเล็กน้อยพอสมควร เมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างสุด เราสามารถสร้างภาพโบเก้ที่สอดคล้องกันด้วยตัวแบบที่แยกออกจากแบ็คกราวด์อย่างชัดเจน ด้วยพลังในการถ่ายทอดภาพสูงซึ่งตรงกันข้ามกับราคา เลนส์ชนิดนี้จึงคุ้มค่าคุ้มราคาอย่างแท้จริง

 

เลนส์ซูมเทเลโฟโต้น้ำหนักเบาที่พกพาได้อย่างดีเยี่ยม

EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ที่ใช้เลนส์ STM แบบลีดสกรูนี้เป็นเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่สามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม การดีไซน์ออพติคอลของเลนส์ใช้ระบบการโฟกัสด้านหลัง ซึ่งทำให้สามารถถ่ายภาพด้วยระยะการถ่ายต่ำสุดที่ 85 ซม. เลนส์ยังใช้งานได้อย่างสะดวกแม้แต่ภายในอาคาร ซึ่งคุณมักประสบปัญหาในการถ่ายภาพในระยะการถ่ายที่ไกลยิ่งขึ้น จึงช่วยให้คุณถ่ายทอดลักษณะท่าทางที่เป็นธรรมชาติของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ด้วยการตอบสนองที่ฉับไว STM จึงสามารถจับโฟกัสภาพโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยความเร็วสูงได้อย่างคมชัด จึงเป็นเลนส์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายองค์ประกอบภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในทันทีอีกด้วย ในภาพรวม เมื่อกล่าวถึงประสิทธิภาพของเลนส์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่มักพูดถึงเรื่องความสว่างของค่า f และความยาวช่วงโฟกัสเท่านั้น แต่ผมขอแนะนำเลนส์ชนิดนี้หากสิ่งสำคัญที่คุณกำลังมองหาในเลนส์ซูมเทเลโฟโต้คือความคล่องตัว

ด้วยช่วงทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับ 88-400 มม. คุณจะสนุกไปกับการทดลองใช้เอฟเฟ็กต์เลนส์อัลตร้าเทเลโฟโต้ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ และอาจไม่ต้องสงสัยเลยว่าน้ำหนักที่มีเพียง 375 กรัมนั้นจะมีประโยชน์เพียงใด แม้ว่าเลนส์จะมีอัตราการซูมสูงมากก็ตาม

คุณภาพของภาพถ่ายตลอดช่วงการซูมยังอยู่ในระดับสูง ช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ที่เหนือความคาดหมายได้เมื่อคุณเข้าใกล้ตัวแบบที่ฝั่งเทเลโฟโต้ การโฟกัสแบบแมนนวลโดยใช้วงแหวนโฟกัสแบบอิเล็กทรอนิกส์ยังทำได้ง่าย จึงใช้งานโฟกัสได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ระบบป้องกันภาพสั่นไหวช่วยแก้ไขการสั่นไหวได้ถึง 3.5 สต็อป คุณจึงสามารถถ่ายภาพแบบถือด้วยมือได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ใกล้เคียงกับ 1/30 - 1/40 วินาทีที่ฝั่งเทเลโฟโต้

คำแนะนำ: ลดปัญหาการสั่นไหวของตัวแบบด้วย [ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด – อัตโนมัติ ]

แม้ว่าปัญหากล้องสั่นสามารถชดเชยด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้ แต่จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อลดการสั่นไหวของตัวแบบด้วย เมื่อใช้โหมด Program AE หรือโหมดระบุค่ารูรับแสง ให้เลือก [อัตโนมัติ] จากเมนู [ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด] ภายใต้ [การตั้งค่าความไวแสง ISO] และตั้งค่าความเร็วเป็น "เร็วขึ้น" เพื่อเปลี่ยนบรรทัดของโปรแกรมและลดการสั่นไหวของตัวแบบได้ดียิ่งขึ้น

 


EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM
(เทียบเท่า 88 - 400 มม. เมื่อใช้งานกับกล้อง EOS 80D)

 

โครงสร้างของเลนส์: 12 กลุ่ม 15 ชิ้นเลนส์
ระยะการถ่ายภาพใกล้สุด: 0.85 ม.
ถ่ายภาพได้สูงสุด: 0.29 เท่า
อัตราส่วนฟิลเตอร์: φ58 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลาง x ความยาวสูงสุด: ประมาณ φ70×111.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 375 กรัม

 

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

แผนภาพโครงสร้างเลนส์

A: เลนส์ UD
B ระบบป้องกันภาพสั่นไหว

 


เลนส์ฮูด: ET-63 (ขายแยกต่างหาก)

 


 

 

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา