โอเวอร์และอันเดอร์: สร้างสรรค์ภาพถ่ายด้วยการเปิดรับแสง
ตอนนี้เมื่อคุณเข้าใจพื้นฐานการเปิดรับแสงที่ถูกต้องสำหรับภาพถ่ายของคุณแล้ว ก็ถึงเวลากลั่นความคิดสร้างสรรค์ของคุณออกมา เราจะมาอธิบายว่าเมื่อใดที่ควร (หรืออันที่จริงคือแนะนำให้) ทดลองถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงโอเวอร์หรืออันเดอร์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ภาพที่น่าทึ่งและตื่นตาตื่นใจได้
Evening Light ถ่ายโดย Matt Zhang/ EOS 600D/ EF-S18-135mm f/3.5–5.6 IS STM/ FL:18mm/f/4.5, 1/125 วินาที/ ISO 200
แต่ก่อนอื่น เราจะคุยกันว่าจริงๆ แล้วการเปิดรับแสงโอเวอร์หรืออันเดอร์คืออะไร
Eye of a crane fly ถ่ายโดย Photochem_PA/ EOS 7D/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM
การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงโอเวอร์ โดยทั่วไปคือภาพที่ถ่ายออกมาแล้วดูสว่างกว่าปกติ ซึ่งความสว่างที่มากเกินไปนี้ส่งผลให้บริเวณที่สว่างกว่าของภาพนั้นสูญเสียรายละเอียดไป ทำให้บริเวณนั้นดูขาวโพลน
Follow your thirst ถ่ายโดย Aftab Uzzman/ EOS 5D Mark II/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS USM/ FL; 400mm/ f/5.6, 1/4000 วินาที/ ISO 200
การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงอันเดอร์ จะให้ผลตรงกันข้าม โดยภาพที่เปิดรับแสงอันเดอร์จะมีแสงสว่างในภาพน้อยมากๆ และสามารถมองเห็นส่วนที่สว่างน้อยและความมืดโดยรวมได้อย่างชัดเจน
สำหรับภาพถ่ายส่วนใหญ่ คุณอาจต้องการได้ภาพที่สว่างเจิดจ้าหรือมืดมิดอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการสร้างภาพถ่ายที่สมจริงคือวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพของคุณ อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าการถ่ายภาพนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่รูปแบบการนำเสนอที่สมจริงเท่านั้น แต่ยังเป็นภาพสะท้อนถึงวิธีที่คุณมองโลกอีกด้วย ตรงจุดนี้เองที่ความคิดสร้างสรรค์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ เนื่องจากในแง่ของศิลปะคุณจะเป็นผู้กำหนดการเปิดรับแสงที่เหมาะสม
ไม่มีชื่อภาพ ถ่ายโดย Premnath Thirumalaisamy/ EOS 550D/ EF50mm f/1.8 II/ f/2.8, 1/100 นาที/ ISO 100
การเปิดรับแสงโอเวอร์มักใช้เพื่อเน้นถึงอารมณ์ของตัวแบบในภาพถ่ายที่มีชีวิตชีวาและมีความเปรียบต่างสูง นอกจากนี้ ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการหลีกเลี่ยงโทนสีและพื้นผิว และเลือกโฟกัสเฉพาะการแสดงสีหน้า ซึ่งฉายโดดเด่นอยู่บนใบหน้าที่ขาวซีดของตัวแบบแทน
Jo ถ่ายโดย Carl Gartland/ EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 145mm/ f/2.8, 1/4000 วินาที/ ISO 100
คุณยังสามารถใช้วิธีดังกล่าวเพื่อสร้างสรรค์ภาพที่นุ่มนวลชวนฝันดังเช่นภาพนี้ได้เช่นกัน
White Light ถ่ายโดย Wilson Au/ EOS 5D Mark III/ EF50mm, f/1.2L USM
ต้องการภาพที่ดูและสื่อถึงความรู้สึกละเอียดอ่อนใช่หรือไม่ ให้ใช้วิธีเปิดรับแสงโอเวอร์ โดยเพิ่มการชดเชยแสงขึ้นอีกสองถึงสามระดับ เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารระฟ้าจะไม่ออกมาในโทนสีเทามืดทึบจนเกินไป
แล้วการเปิดรับแสงอันเดอร์ล่ะ เรายังได้ภาพที่สวยสดงดงามแม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดูเหมือนปกคลุมไปด้วยความมืดมิดได้หรือไม่ ได้แน่นอน
Torture in Spain ถ่ายโดย Oiluj Samal Zeid/ EOS 7D/ f/6.3, 1/15 วินาที/ ISO 640
การเปิดรับแสงอันเดอร์คือวิธีที่ปลอดภัยกว่าเมื่อมีปริมาณแสงจำกัดและมีปัจจัยสำคัญด้านเวลา เช่น ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตหรือเมื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก
Kal ถ่ายโดย Chad Gilchrist/ EOS 550D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 34mm/ f/4.5, 1/80 วินาที/ ISO 400
นอกจากนี้ คุณอาจต้องการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงให้อันเดอร์เมื่อต้องการเน้นเรื่องแสงเงาและความแตกต่างด้านโทนสีเล็กๆ น้อยๆ ในภาพถ่ายของคุณ ให้ลองนึกถึงสิ่งที่คุณต้องการถ่ายทอดผ่านภาพ เช่น ความเศร้า ความลึกลับ ความกลัว ความหม่นหมอง และความเงียบสงัด และคิดว่าการสร้างฉากที่มืดขึ้นนั้นอาจส่งเสริมข้อความที่คุณต้องการสื่ออย่างไรบ้าง
Grated Apple ถ่ายโดย Owen Benson/ EOS 400D/ EF50mm f/1.4 USM/ f/2.2, 1/200 วินาที/ ISO 640
การเปิดรับแสงอันเดอร์ยังเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่จะใช้ทดลองความอิ่มตัวของสีและความเปรียบต่าง เนื่องจากการเปิดรับแสงให้อันเดอร์ในเชิงสร้างสรรค์สามารถดึงเอาโทนสีเข้มในภาพถ่ายของคุณออกมา เพื่อทำให้ภาพมีสีเข้มขึ้นและมีพื้นผิวที่ดีขึ้นได้