EOS 5D Mark IV, EF14mm f/2.8L II USM, f/14, ISO 320, 1/200s, 14mm by @charlottepiho
ภาพถ่ายแบบโอเวอร์-อันเดอต์นั้นสะดุดตาอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ มันเป็นการแสดงมุมมองอันน่าสนใจของฉากสองฉากภายในภาพเดียว ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ การถ่ายภาพประเภทนี้มักจะคอนทราสต์ที่ชัดเจนในโซน 'โอเวอร์' และ 'อันเดอร์' นอกจากนั้น มันจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับเรื่องราวของภาพถ่ายใต้น้ำของคุณอีกด้วย!
หากคุณสนใจและอยากทดลอง อ่านต่อไปเพื่อเรียนรู้เคล็ดลับในการเริ่มต้นโปรเจ็กต์การถ่ายภาพโอเวอร์-อันเดอร์ภาพแรกของคุณ!
องค์ประกอบและการเล่าเรื่อง
EOS 5D Mark IV, EF16-35mm f/2.8L II USM, f/6.3, ISO 200, 1/160s, 16mm by @universal_jones
สิ่งแรกและสำคัญที่สุดที่คุณต้องทำก็คือการมองหาเรื่องราวที่จะบอกเล่าในช็อตโอเวอร์-อันเดอร์ของคุณโดยการใช้สิ่งที่คุณมีอยู่รอบตัวคุณ เนื่องจากในภาพมีสองส่วนที่แตกต่างกัน ลองนึกถึงสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายทอด ไม่ว่าจะเป็นตัวแบบ อารมณ์ หรือองค์ประกอบในแต่ละฉาก ตัวอย่างเช่น คุณสามารถนำเสนอภาพท้องฟ้าที่มีแดดจ้าในฉากเหนือน้ ซึ่งตัดกับนักล่าในฉากใต้น้ำเพื่อบอกเล่าเรื่องราวว่า 'คุณไม่มีทางรู้เลยว่าอันตรายอยู่ที่ไหน'
จำไว้ว่าสิ่งที่อยู่ใต้น้ำมักจะเป็นเรื่องลึกลับสำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ ดังนั้นคุณสามารถใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์จากการผจญภัยและการทดลองในการเล่าเรื่องของคุณ คุณยังสามารถสร้างโครงเรื่องทีน่าสนใจได้โดยการค้นหาความแตกต่างระหว่างฉากสองฉาก และเชื่อมโยงฉากเหล่านั้นเข้าด้วยกันด้วยแนวคิด
อุปกรณ์และโดมพอร์ต
PowerShot G7 X Mark II, f/6.3, ISO 125, 1/320s, 10.84mm by @yubzukamoto
นอกจากอุปกรณ์ความปลอดภัยใต้น้ำและการศึกษาค้นคว้าแล้ว เลนส์มุมกว้างเป็นอุปกรณ์ใต้น้ำที่สำคัญซึ่งคุณจำเป็นต้องใช้ในการถ่ายภาพแยกส่วน เลนส์มุมกว้างช่วยให้มุมมองภาพที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใส่องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้มากขึ้นในภาพ
โดยทั่วไปแล้ว เลนส์มุมกว้างที่มีช่วงทางยาวโฟกัส 24-35 มม. ซึ่งจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพแบบแยกส่วน สำหรับเลนส์มุมกว้างพิเศษ คุณสามารถเลือกช่วงทางยาวโฟกัสได้ตั้งแต่ 16 มม. ขึ้นไป เลนส์ของ Canon ที่เหมาะสมที่สุดที่คุณอาจเลือกใช้ได้แก่เลนส์ Canon EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM หรือ Canon RF 15-35mm f/2.8 IS USM
คุณควรนำหรือเช่าพอร์ตโดมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะยิ่งโดมใหญ่เท่าใด กล้องของคุณก็จะยิ่งนิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคุณพร้อมที่จะถ่ายภาพ คุณสามารถดูที่หน้าจอแล้ววางเส้นแบ่งในช็อตของคุณได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณพยายามจะแสดงหรือบอกเล่า คุณสามารถเน้นแต่ละพื้นที่โดยให้ความโดดเด่นมากขึ้นในช็อตนั้น ซึ่งหมายความว่าคุณอาจมีโซน 'อันเดอร์' และโซน 'โอเวอร์' ที่เล็กลง (หรือในทางกลับกัน) เพื่อสร้างช็อตแยกส่วนที่น่าสนใจมากขึ้น
รูรับแสงและทัศนวิสัย
PowerShot G7 X Mark II, f/5.6, ISO 200, 1/320s, 13.91mm by @yubzukamoto
ทัศนวิสัยในการมองเห็นแสงและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญสองประการที่ควรพิจารณา เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อภาพของคุณอย่างมาก ถ้าน้ำใสจะเป็นการดีมาก หากไม่เป็นเช่นนั้น มันจะเป็นเรื่องยากลำบากในการถ่ายภาพใต้น้ำในน้ำที่ขุ่นมัว การถ่ายภาพใต้น้ำจะทำได้ดีที่สุดในน้ำที่ใสกระจ่าง อย่าเลือกสภาพแวดล้อมในน้ำอื่นใด
นอกจากนี้ อย่าลืมตรวจสอบพยากรณ์อากาศเพื่อเลือกวันที่สว่างสดใสสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำแบบแยกส่วน แสงแดดยามเที่ยงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของคุณ เนื่องจากมีแสงที่แรงพอที่จะทะลุผ่านผิวน้ำได้ ทำให้โซน 'อันเดอร์้' สว่างขึ้น หลักการง่ายๆ คืออย่าใช้ฉากใต้น้ำทีลึก่เกิน 15 ฟุต เนื่องจากแสงจะลดลงอย่างมาก!
หากสภาพแสงไมสมบูรณแบบ พยายามเน้นการเปิดรับแสงที่ครึ่งบน แม้ว่าสิ่งนี้จะส่งผลให้ครึ่งล่างเปิดรับแสงน้อยเกินไป แต่การปรับภาพที่เปิดรับแสงน้อยเกินไปนั้นง่ายและสะดวกกว่าที่จะปรับภาพที่เปิดรับแสงมากเกินไปในขั้นตอนโพสต์โปรเซส การถ่ายภาพแบบ RAW ก็จะช่วยได้เช่นกัน
การตั้งค่าทีควรพิจารณา
PowerShot G7 X Mark II, f/8, ISO 200, 1/1000s, 10.58mm by @yubzukamoto
เนื่องจากการปรับการตั้งค่าใต้น้ำอาจทำได้ยากและยุ่งยาก ให้ตั้งค่ากล้องของคุณให้อยู่ในโหมด ISO อัตโนมัติ และถ่ายภาพโดยใช Aperture Priority รูรับแสงที่สูงกว่า f/8 นั้นยอดเยี่ยม แต่คุณสามารถทดลองใช้ f/13 หรือ f/16 ได้ เพื่อให้ความคมชัดสูงสุดของฉากทั้งสองด้าน
ตามปกติแล้ว การใช้สมดุลแสงขาวอัตโนมัตจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากช่วยให้คุณเลือกอุณหภูมิสีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับฉากนั้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนการตั้งค่าด้วยตนเองขณะกำลังติดตามสัตว์ของคุณ
ในขณะที่การถ่ายภาพในแนวนอนเป็นตัวเลือกที่ดี คุณสามารถทดลองจัดองค์ประกอบภาพในแนวตั้งได้อีกด้วย ด้วยวิธีนี้ คุณจะสามรถเพิ่มความสูงลงของภาพได้
ปราศจากหยดน้ำ
EOS 5D Mark IV, EF14mm f/2.8L II USM, f/2.8, ISO 100, 1/2000s, 14mm by @charlottepiho
คุณไม่ต้องการให้มีหยดน้ำในภาพของคุณ เนื่องจากการลบออกในขั้นตอนโพสต์โปรเซสอาจใช้เวลานานและยุ่งยากมาก ดังนั้นการเลือกโดมแก้วจึงสมเหตุสมผลที่สุด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะเกิดหยดน้ำ
อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่ามีหยดน้ำอยู่ในโดม คุณสามารถใชวิธีของนักดำน้ำที่ถุยน้ำลายใส่หน้ากากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าขึ้นเมื่ออยู่ใต้น้ำ ทาน้ำลายเล็กน้อยที่ส่วนครึ่งบนของโดมแล้วล้างออกทันที ด้วยวิธีนี้ คุณจะมีเวลาอันมีค่าประมาณสองสามวินาทีสำหรับการถ่ายภาพที่ปราศจากหยดน้ำ มันอาจฟังดูไม่น่าพิศมัยนักที่จะทำเช่นนั้น แต่มันก็ช่วยทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากที่คุณจะสามารถลองถ่ายภาพประเภทนี้ในมหาสมุทรสีน้ำเงินเข้ม คุณยังสามารถถ่ายภาพในทะเลสาบที่ใสสะอาด แอ่งน้ำลึก สระว่ายน้ำ หรือแม้แต่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (ขึ้นอยู่กับขนาด) สิ่งที่คุณต้องมีก็คือสภาพแวดล้อมที่มีความลึกของน้ำเพียงพอให้คุณสามารถจุ่มกล้องในโดมพอร์ตลงในน้ำเพื่อให้ได้เส้นแบ่งที่ชัดเจน
สำหรับบทความที่เกี่ยวข้อง:
4 สิ่งที่ต้องทำสำหรับการหาสัตว์ใต้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพใต้น้ำแบบมาโครกับ Lilian Koh: สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในท้องทะเลลึกอันกว้างใหญ่
เคล็ดลับการถ่ายภาพจากนักถ่ายภาพใต้น้ำมืออาชีพ