ภาพทิวทัศน์ดวงดาวอันน่าทึ่ง: การถ่ายภาพดอกซากุระและทางช้างเผือกยามค่ำคืนให้สวยสดงดงาม
เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ของดวงดาว การรวมเอาดอกไม้หรือต้นไม้ในช่วงฤดูกาลนั้นๆ ไว้ในภาพอาจทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ต่อไปนี้คือเทคนิคบางส่วนในการสร้างภาพอันสวยสดงดงามของทางช้างเผือกที่โอบล้อมไปด้วยดอกซากุระที่โด่งดังของญี่ปุ่น (เรื่องโดย: Shigemi Numazawa)
ข้อมูลการถ่ายภาพ
กล้อง: EOS-1D X
เลนส์: EF16-35mm f/2.8L II USM
ทางยาวโฟกัส: 16 มม.
โหมดการเปิดรับแสง: แมนนวล
ค่า f: f/2.8
ความเร็วชัตเตอร์: 30 วินาที
ISO: 3200
สมดุลแสงขาว: อัตโนมัติ (ขณะถ่ายภาพ), 3,900K (ระหว่างการปรับแต่งภาพ)
การตั้งค่ากล้อง: การลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง – ต่ำ การลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นาน – ปิด
สภาพการถ่าย: การติดตามด้วยขาตั้งแบบอีเควทอเรียล
อุปกรณ์เสริม: ไฟ LED สำหรับให้ความสว่างขณะถ่ายภาพ
เคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม
A: สามเหลี่ยมฤดูร้อน
B: เพิ่มความเปรียบต่างให้กับทางช้างเผือก
C: ปรับโทนสีของดอกซากุระ
D: สร้างเอฟเฟ็กต์ขอบมืด
ในภาพนี้ จุดสำคัญอยู่ที่วิธีการควบคุมโทนสีของทางช้างเผือกและดอกซาุกุระ รวมทั้งความเปรียบต่างและความสมดุลของแสงสว่าง และหากต้องการลดปัญหาสีเพี้ยนที่เกิดจากแสงเทียม ให้สร้างเอฟเฟ็กต์ขอบมืดโดยใช้กระดาษกาว
เทคนิค 1: ขยับเข้าไปใกล้ต้นซากุระเพื่อถ่ายภาพได้ใกล้ขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น
ในญี่ปุ่น ดอกซากุระจะบานสะพรั่งในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยเริ่มต้นจากทางภาคใต้ จากนั้นจึงค่อยๆ ไล่ขึ้นไปทางภาคเหนือของประเทศ นอกจากนี้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม เมื่อพ้นเวลาเที่ยงคืนจะมีทางช้างเผือกปรากฎขึ้นบนท้องฟ้าด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เดือนพฤษภาคมจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณจะสามารถบันทึกภาพอันสวยสดงดงามที่สุดของทางช้างเผือกและดอกซากุระไว้ในภาพเดียวกันได้
แม้ว่าช่างภาพจำนวนมากมักเลือกที่จะถ่ายภาพระยะไกลเพื่อเก็บภาพต้นซากุระทั้งหมด แต่ผมตัดสินใจขยับเข้าใกล้เพื่อสร้างภาพที่เพิ่มผลกระทบทางอารมณ์ที่หนักแน่นให้แก่ต้นซากุระพันธุ์ Someiyoshino พร้อมกับดึงภาพทางช้างเผือกให้เห็นเด่นชัดไปพร้อมกัน และหากคุณต้องการถ่ายภาพทางช้างเผือกที่คมชัด จะต้องไม่มีดวงจันทร์อยู่ ในภาพนี้ ผมเพิ่มความสว่างโดยใช้ไฟ LED ที่นุ่มนวลขณะเปิดรับแสงเพื่อทำให้ดอกไม้ดูสว่าง เมื่อใช้ไฟ LED อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าแสงไฟไม่รบกวนช่างภาพคนอื่นๆ ซึ่งทำงานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
เทคนิค 2: ปรับโทนสีของดอกซากุระด้วยไฟ LED
ในตัวอย่างนี้ ผมใช้ไฟ LED เพื่อถ่ายทอดดอกซากุระตามที่ต้องการ แต่วิธีนี้อาจทำให้การประมวลผลภาพมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิสีของท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวและไฟ LED มีความแตกต่างกัน เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ผมขอแนะนำให้คุณปรับโทนสีขณะถ่ายภาพ โดยสำหรับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ผมใช้วิธีถ่ายภาพให้เป็นภาพ RAW จากนั้นจึงตั้งค่าอุณหภูมิสีให้อยู่ระหว่าง 3,500 ถึง 3,900K ระหว่างการปรับแต่งภาพ และเนื่องจากไฟ LED สีขาว มีอุณหภูมิสีที่สูงกว่าและอยู่ในช่วงระหว่าง 5,000 ถึง 6,000K ดังนั้น สิ่งที่คุณสามารถทำได้คือวางฟิลเตอร์สำหรับแก้อุณหภูมิสีไว้ที่ด้านหน้าไฟ LED เพื่อลดความแตกต่าง โดยทั่วไป ฟิลเตอร์ Lee ที่ใช้กับอุปกรณ์ให้แสงสว่างจะเหมาะที่สุด
ไฟ LED ที่ต่างกันอาจให้สีที่แตกต่างกัน
ภาพเสีย
ในตัวอย่างนี้ ผมถ่ายภาพโดยไม่มีการปรับแก้อุณหภูมิสีของไฟ LED ซึ่งจะทำให้ดอกซากุระมีโทนสีฟ้า เมื่อนำภาพไปประมวลผล ผมจำเป็นต้องปรับแก้อุณหภูมิสีโดยการเลือกดอกไม้หรือกำหนดช่วงสี
คำแนะนำ: การถ่ายภาพดอกซากุระที่มีกลุ่มดาวกระบวยใหญ่เป็นแบ็คกราวด์
ยามค่ำคืนในช่วงฤดูร้อนของญี่ปุ่น คุณสามารถมองเห็นทางช้างเผือกที่สว่างไสวเหนือท้องฟ้าทางทิศตะวันออกและกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศใต้ได้ และเมื่อดาวอังคารสว่างไสวเป็นสีแดงและเคลื่อนตัวเข้าใกล้ส่วนหัวของ "ดาวแมงป่อง" ให้ลองมองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คุณจะมองเห็นกลุ่มดาวกระบวยใหญ่ที่ทอดตัวยาวลงมาและเปล่งประกายสดใส การผสมผสานดอกซากุระเข้ากับดาวกระบวยใหญ่จะสร้างบรรยากาศที่แตกต่างจากภาพของทางช้างเผือก
EF16-35mm f/2.8 L II USM
เกิดเมื่อปี 1958 ที่จังหวัดนีงะตะ Numazawa เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพประกอบทางดาราศาสตร์เป็นหลัก เขาเคยมีส่วนร่วมในโครงการของรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายโครงการที่จัดทำขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำ National Geographic Tour และได้รับรางวัล Good Life Award จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น) อีกด้วย
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation