ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การเปิดรับแสงนานและการเปิดรับแสงสั้น

2016-06-09
2
6.17 k
ในบทความนี้:

ภาพทุกภาพคือช่วงเวลาการรอคอยแสงสำหรับการถ่ายภาพเพื่อเก็บรักษาเป็นผลงานไว้ตลอดไป แม้ว่าการถ่ายภาพมักเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่หยิบกล้องของคุณขึ้นมาแล้วกดชัตเตอร์เท่านั้น แต่การถ่ายภาพให้สวยสดงดงามต้องใช้ความเข้าใจถึงวิธีการทำงานของการเปิดรับแสง ดังนั้น เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับโอกาส 5 อันดับแรกที่ควรใช้การเปิดรับแสงสั้นหรือยาวสำหรับการถ่ายภาพ และวิธีปรับให้ได้ผลภาพตามที่ต้องการ

ภาพ Still ถ่ายโดย Mariana Bisti/ EOS 5D/ EF28-135mm f/3.5-5.6 IS USM

แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจหลักพื้นฐานกันก่อน การจะได้ภาพที่เปิดรับแสงอย่างสมบูรณ์แบบนั้นเป็นศาสตร์ที่มักเกี่ยวข้องกับศัพท์เทคนิคที่ซับซ้อนมากมาย ดังนั้น ขอให้เริ่มด้วยการทราบก่อนว่าแท้จริงแล้วการเปิดรับแสงคืออะไร
ภาพที่สมบูรณ์แบบจะควบคุมการเปิดรับแสงได้อย่างมีประสิทธิผล จนกระทั่งไม่เกิดพื้นที่ที่ได้รับแสงมากเกินไป (บริเวณที่ภาพสว่างจ้าเกินไปและรายละเอียดของภาพหายไป) หรือไม่ทำให้ภาพมืดจนเกินไป (บริเวณที่มืดที่สุดซึ่งกลมกลืนไปกับกลุ่มสีดำ) โดยไม่ได้ตั้งใจ
รู้สึกตื่นเต้นที่จะเริ่มทดลองใช้เคล็ดลับการเปิดรับแสงประเภทต่างๆ แล้วใช่ไหม เรามาดูกันว่า Canon EF135mm f/2L USM สามารถทำอะไรได้บ้าง

ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 1: ภาพเคลื่อนไหว

ภาพ Kinetic ถ่ายโดย John/ EOS 5D Mark II/ EF135mm f/2L USM/ f/2.5, 1/10 วินาที/ ISO 200

โดยมากแล้ว การเคลื่อนไหวถูกหยุดไว้โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงและการรับแสงอย่างเพียงพอ ซึ่งเทคนิคนี้มักใช้กันในการถ่ายภาพเกี่ยวกับกีฬาและธรรมชาติ แล้วถ้าในการเคลื่อนไหวที่สื่อถึงอารมณ์ล่ะ ตอนนี้การเปิดรับแสงนานจะเข้ามามีบทบาท ภาพด้านบนนี้ใช้การผสมผสานระหว่างรูรับแสงกว้างและความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ ซึ่งทำให้รับแสงได้มากขึ้นและสามารถถ่ายภาพการเคลื่อนไหวที่สร้างอารมณ์ได้ดีที่สุดได้ การเบลอตัวแบบที่เคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนมากๆ จะเน้นถึงการเคลื่อนไหวของนักเต้น

ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 2: ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ

ภาพ Swirling Sea ถ่ายโดย Adrian Kingsley-Hughes/ EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ f/22, 8 วินาที/ ISO 100

โอกาสดีอีกอันหนึ่งที่ควรใช้การเปิดรับแสงนานคือเมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ผืนน้ำต่างๆ เพื่อถ่ายทอดคลื่นที่หมุนเป็นเกลียวอย่างรวดเร็ว ช่างภาพจึงตัดสินใจเปิดชัตเตอร์ไว้นานแปดวินาที เพื่อให้ได้ภาพเปิดรับแสงนานที่สวยสดงดงาม

ภาพแบบเปิดรับแสงนานภาพที่ 3: เส้นแสง

ภาพ Evening Road ถ่ายโดย Carle Drogue/ EOS 5D/ EF135mm f/2L USM/ f/16, 8 นาที/ ISO 100

และตอนนี้ก็มาถึงเทคนิคการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานที่ทุกคนชื่นชอบ คือ เส้นแสงนั่นเอง เมื่อคุณตั้งค่ากล้องให้เปิดรับแสงนาน ใช้รูรับแสงแคบมาก และนำกล้องยึดไว้กับขาตั้งกล้อง คุณจะได้ผลลัพธ์อันน่าทึ่งนี้ ด้วยเทคนิคสองข้อที่กล่าวไปนี้ ประกอบกับอาวุธลับของคุณคือขาตั้งกล้องที่ไว้ใจได้ จะช่วยให้มั่นใจว่าภาพเบลอจากตัวแบบที่เคลื่อนไหวของคุณจะเกิดในพื้นที่ที่คุณต้องการเท่านั้น

ภาพแบบเปิดรับแสงสั้นภาพที่ 1: ภาพสัตว์

 
 

ภาพ Måke (นกนางนวล) ถ่ายโดย Bjarne Stokke/ EOS 500D/ EF135mm f/2L USM/ f/2.8, 1/1000 วินาที/ ISO 100

สัตว์มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้การเปิดรับแสงช่วงสั้นๆ เพื่อบันทึกภาพโดยไม่เกิดการเบลอที่ไม่จำเป็น ในภาพนี้ ช่างภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดนกนางนวลในเฟรมภาพ ในเวลาเดียวกัน รูรับแสงกว้างส่งผลให้เกิดระยะชัดลึกที่ตื้น ซึ่งทำให้แบ็คกราวด์ดูอ่อนลงจนเกิดเป็นเอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวลคล้ายโบเก้

ภาพแบบเปิดรับแสงสั้นภาพที่ 2: ภาพเคลื่อนไหว

ภาพ EDance ถ่ายโดย John/ EOS 5D Mark II/ EF135mm f/2L USM/ f/2.8, 1/500 วินาที/ ISO 2500

การเปิดรับแสงเป็นระยะเวลาสั้นๆ ยังสามารถใช้แสดงความรู้สึกที่หนักแน่นในการเคลื่อนไหวได้ เพื่อหยุดการการเคลื่อนไหวขณะที่นักเต้นกำลังกระโดดบนเวทีที่มีแสงน้อย ช่างภาพเลือกที่จะเพิ่มค่า ISO ให้สูงที่สุด เพื่อให้สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงได้

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา