โดยปกติแล้ว เลนส์คิทจะมาพร้อมกับกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ตัวแรกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลส สำหรับผู้ที่ยังใหม่กับการถ่ายภาพ เลนส์คิทเหล่านี้มีประโยชน์มาก เนื่องจากครอบคลุมช่วงมุมกว้างไปจนถึงช่วงเทเลโฟโต้ ทำให้สามารถเรียนรู้ว่าทางยาวโฟกัสต่างๆ ส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร แต่เมื่อพวกคุณบางคนพัฒนาไปในเส้นทางการถ่ายภาพ คุณอาจค้นพบว่าคุณต้องการเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเน้นไปที่การถ่ายภาพทิวทัศน์ คุณจะต้องการลงทุนกับเลนส์มุมกว้างโดยเฉพาะ
ในบทความสองตอนนี้ เราจะกล่าวถึงตัวเลือกต่างๆ สำหรับเลนส์มุมกว้างและเลนส์มาตรฐานสำหรับเมาท์เลนส์ Canon สี่ตัว โดยไม่เพียงแต่จะกล่าวถึงตัวเลือกพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีติดเลนส์บางตัวกับเมาท์อื่นผ่านอะแดปเตอร์ด้วย ตัวอย่างเช่น เมาท์ EF-M สามารถใช้ได้กับเลนส์ EF และ EF-S ด้วยเมาท์อะแดปเตอร์ Canon EF-EOS M
เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลือกต่างๆ สำหรับเลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์มาโคร คลิกที่นี่
เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิงว่าเมาท์ตัวไหนใช้กับเลนส์ใดได้ ลองตรวจดูในตารางต่อไปนี้:
ตัวเลือกมุมกว้างพิเศษและมุมกว้าง
เพื่อความชัดเจน มุมกว้างพิเศษหมายถึง 24 มม. หรือกว้างกว่านั้น ในขณะที่มุมกว้างหมายถึง 35 มม. ขึ้นไป
EF-M 11-22mm f/4-5.6 IS STM (เทียบเท่ากับ 18 มม.-35 มม. ในรูปแบบ 35 มม.)
เหมาะสำหรับกล้อง EF-M เช่น EOS M50 Mark II เลนส์นี้ให้ระยะการมองเห็นที่กว้างเป็นพิเศษที่ 18 มม. (ในรูปแบบ 35 มม.) ที่การตั้งค่าที่กว้างที่สุด ทำให้ช่างภาพสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ได้กว้างไกล ด้วยอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด
EF-S 10-22mm f/3.5-4.5 USM (เทียบเท่ากับ 16 มม.-35 มม. ในฟอร์แมต 35 มม.)
ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากับ 16 มม. (ในฟอร์แมต 35 มม.) เมื่อซูมออกด้วยรูรับแสงกว้าง f3.5 เลนส์นี้ออกแบบมาสำหรับช่างภาพที่มีกล้องเมาท์ EF-S เช่น EOS 850D หรือติดตั้งบนกล้องเมาท์ EF-M เช่น M50 Mark II ด้วยอะแดปเตอร์ ช่วงการซูมยังให้ความยืดหยุ่นในการครอบตัดองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นในเฟรมออก โดยที่ยังคงความละเอียดของภาพไว้
ชื่อรุ่นที่ระบุเลนส์ L เป็นการบ่งบอกทุกอย่าง เลนส์นี้เป็นตัวเลือกหลักสำหรับผู้ใช้ DSLR ฟูลเฟรมที่ต้องการเลนส์ที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถันเพื่อสำหรับถ่ายภาพมุมกว้างที่น่าทึ่ง นอกจากนี้ยังมีรูรับแสง f4 คงที่สำหรับทุกระยะโฟกัส หากคุณพบว่ารูรับแสง f4 มีข้อจำกัดเกินไป ก็ยังมีเลนส์ EF 16-35mm f2.8L IS USM แม้จะจัดอยู่ในประเภทเลนส์ EF แต่ก็สามารถติดตั้งกับกล้อง EF-S หรือกล้อง EF-M ได้อย่างง่ายดาย (ผ่านอะแดปเตอร์) แม้ว่าการครอบตัดภาพจะทำให้เลนส์มีความกว้างสูงสุดเพียง 26 มม.
เลนส์ RF รุ่นล่าสุดท่่ีจะเปิดตัวคือ RF14-35mm f/4 L IS USM ซึ่งช่วยให้ช่างภาพ RF มีตัวเลือกมุมกว้างพิเศษแบบเนทีฟ ก่อนการเปิดตัวเลนส์นี้ ผู้ใช้ RF จะต้องติดตั้งเลนส์ประเภท EF ผ่านอะแดปเตอร์เพื่อถ่ายภาพมุมกว้างพิเศษ
มาตรฐานและภาพบุคคล
EF-M32mm f/1.4 STM (เทียบเท่า 50 มม. ในรูปแบบ 35 มม.)
ด้วยรูรับแสงขนาดใหญ่พิเศษที่ f/1.4 คุณสามารถถ่ายภาพโบเก้ที่นุ่มนวลด้วยเลนส์นี้ ซึ่งออกแบบมาสำหรับกล้อง EOS M เมื่อติดตั้งแล้ว เลนส์นี้จะให้ระยะการมองเห็นที่เทียบเท่ากับ 50 มม. ทำให้เป็นเลนส์ที่ใช้งานได้หลากหลายและพกพาง่าย ด้วยน้ำหนักเพียว 235 ก. มันจะไม่เป็นภาระสำหรับคุณ เมื่อจับคู่กับตัวกล้อง EOS M ที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งการผสมผสานนี้ทำให้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีท
EF-S24mm f/2.8 STM (เทียบเท่าประมาณ 38 มม. ในฟอร์แมต 35 มม.)
เลนส์แพนเค้กนี้อาจให้ระยะชัดลึกถึง 38 มม. เมื่อติดตั้งบนกล้อง EF-S หรือ EF-M แม้ว่ามันจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดก็ตาม รูรับแสงขนาดใหญ่ที่ f/2.8 นั้นใช้งานได้หลากหลายเพียงพอที่จะให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้
สำหรับช่างภาพฟูลเฟรมหลายๆ คนแล้ว จะต้องมีเลนส์ตัวนี้ในคลังเลนส์ของพวกเขา ด้วยน้ำหนักที่เบา กะทัดรัด และราคาไม่แพง เลนส์ 50 มม. นี้ให้ความคุ้มค่าคุ้มราคามากๆ สำหรับช่างภาพ EF-S และ EF-M เลนส์ตัวนี้สามารถเป็นเลนส์พอร์ตเทรตที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ถึง 80 มม. ่สำหรับกล้องของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีตัวเลือก f/1.4 และ f/1.2 อีกด้วย
เลนส์ 50 มม. แบบ RF นั้นมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับ EF50 มม. จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมเลนส์ตัวนี้จึงเป็นเลนส์ที่ช่างภาพ RF เกือบทุกคนจะมีอยู่ในกระเป๋ากล้องของพวกเขา
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมาท์ของกล้องที่คุณใช้ คุณมีตัวเลือกเลนส์อย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้อแดปเตอร์ที่เหมาะสมจะยิ่งทำให้คุณมีตัวเลือกมากขึ้นอีก อะแดปเตอร์บางตัวใช้งานได้หลากหลาย เช่น เมาท์อะแดปเตอร์แบบดรอปอิน EF-EOS R ที่ทำให้คุณติดตั้งเลนส์ EF และ EF-S บนตัวกล้อง RF และเสียบฟิลเตอร์ความหนาแน่นเป็นกลาง
คลิกที่นี่่เพื่ออ่านตอนที่สองของบทความนี้ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดตัวเลือกสำหรับเลนส์เทเลโฟโต้และเลนส์มาโคร