ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การควบคุมแสงเพื่อภาพถ่ายพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจ

2015-02-26
2
8.35 k
ในบทความนี้:

เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตนอกสถานที่ คุณสามารถสร้างสรรค์เอฟเฟ็กต์ภาพที่น่าทึ่งได้โดยการใช้แสงและเงา ในบทความนี้ เราจะอธิบายวิธีการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้สื่ออารมณ์โดยใช้เทคนิค 2 ประการ (เรื่องโดย: Miho Kakuta, Yuriko Omura)

 

เปลี่ยนบรรยากาศครึ้มๆ ให้ดูปลอดโปร่ง

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 73 มม./ Manual exposure (f/4, 1/125 วินาที)/ ISO 400/ WB: 5,300K (A3, M1)

แม้จะถ่ายภาพในวันที่ฟ้าดูครึ้มๆ ไม่สดใส คุณก็สามารถสร้างบรรยากาศที่ดูนุ่มนวลเสมือนเป็นวันที่อากาศปลอดโปร่งได้ โดยการจัดวางตำแหน่งตัวแบบให้อยู่ใต้ร่มไม้ เป็นต้น

เวลาที่คุณถ่ายภาพนอกสถานที่ในวันที่เมฆครึ้ม ความแตกต่างระหว่างความสว่างของตัวแบบและแบ็คกราวด์จะต่ำ ส่งผลให้ภาพดูจืดชืด ถึงแม้ความเปรียบต่างจะต่ำเนื่องจากไม่มีเงา ซึ่งช่วยให้ภาพดูนุ่มนวลขึ้น แต่อาจสร้างบรรยากาศที่ดูปลอดโปร่งได้ยาก ในกรณีนี้ ฉันจะมองหาสถานที่ที่มีร่มเงาเพื่อให้แสงที่ส่องลงมาสร้างเงาได้ เช่น ใต้ต้นไม้หรือเพิง วิธีนี้ช่วยให้คุณวางตัวแบบบุคคลในจุดที่มืดกว่าแสงโดยตรงจากท้องฟ้า ทำให้เกิดความแตกต่างของแสงสว่างที่ตัดกับแบ็คกราวด์ การปรับความสว่างตามตัวแบบทำให้คุณสร้างแบ็คกราวด์ให้สว่างขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในการสร้างบรรยากาศของวันที่แดดจ้า แบ็คกราวด์ต้องสว่างและไม่มีวัตถุใดๆ ขวางกั้น เช่น ในสถานที่มีเงาจากแสงแดดก็ไม่สามารถสร้างความสว่างที่ตัดกันได้ หากแบ็คกราวด์เป็นกำแพงอาคาร ซึ่งหากไม่เลือกแบ็คกราวด์ประเภทนั้น คุณอาจเลือกแบ็คกราวด์รอบๆ ต้นไม้ ฉันแนะนำให้มองหาต้นไม้ใหญ่ที่มีใบดกและสูงกว่าตัวคุณ นอกจากนี้ ให้ปรับสมดุลแสงขาว เพราะการแสดงสีเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย ขณะที่โทนอุ่นคล้ายกับวันฟ้าโปร่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการตั้งค่าสมดุลแสงขาวที่ตั้งไว้ล่วงหน้า อย่าง "ในร่ม" และ "เมฆครึ้ม" คุณยังสามารถสร้างภาพที่สีสดขึ้นโดยเพิ่มโทนสีเหลืองและมาเจนต้าในการตั้งค่าสมดุลแสงขาวแบบละเอียด

เทคนิค

กั้นแสงเพื่อสร้างความแตกต่างของความสว่าง

การถ่ายภาพใต้ต้นไม้ที่บังตัวแบบจากแสงแดด

ฉันต้องการสร้างความสว่างที่ตัดกันระหว่างตัวแบบพอร์ตเทรตและแบ็คกราวด์เล็กน้อย จึงเลือกไปสวนสาธารณะที่มีต้นไม้ใหญ่ ฉันเดินดูต้นไม้สองสามต้นเพื่อหาสถานที่ถ่ายภาพที่เหมาะสมที่ไม่มีสิ่งกีดขวางในส่วนแบ็คกราวด์

 
 

โทนสีผิวต้องการการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกมากเมื่อใช้สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ

แม้จะใช้ประโยชน์จากความสว่างที่แตกต่างกันได้อย่างดี แต่โทนสีผิวของตัวแบบอาจยังดูไม่สวยนัก หากไม่ปรับสมดุลแสงขาว

 
 
 

การสร้างพื้นผิวขึ้นจากแสงและเงา

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 38 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/125 วินาที)/ ISO 400/ WB: 4,667K

ฉันออกแบบให้มีสีฟ้าและเขียวอยู่ที่เสื้อผ้าของตัวแบบและสีแบ็คกราวด์เพื่อให้บรรยากาศในภาพดูกลมกลืนไปด้วยกัน และยังเพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับภาพเพื่อไม่ให้ภาพดูน่าเบื่อจนเกินไป โดยรอจังหวะถ่ายเวลาที่เสื้อผ้าพลิ้วตามลม

นางแบบ: Riho Akiyama (นักทรัมเป็ต) http://a-riho.com/

เสื้อผ้าโดย: Qu’il monu http://www.quil-monu.com/

การใช้ความสว่างระหว่างแสงและเงาที่ตัดกันช่วยให้คุณได้ภาพแบ็คกราวด์ที่มีลวดลายบนพื้นผิว จากระยะที่ถ่ายภาพตัวแบบได้เต็มตัว ลองมองหาพื้นผิวกำแพงสีอ่อนที่มีเงาสีดำจากใบไม้และแสงแดดสีขาวคละบนพื้นที่อย่างละครึ่ง เพื่อที่จะเน้นส่วนเงา ให้ลดปริมาณแสงลดสักหนึ่งหรือสองสต็อปจากระดับมาตรฐาน ขณะที่ลดปริมาณการรับแสงลง ระวังอย่าให้ใบหน้าของตัวแบบนั้นรับแสงจ้าเกินไป เนื่องจากใบหน้าอาจขาวโพลนและส่งผลให้ไม่สามารถถ่ายทอดการแสดงออกทางสีหน้าออกมาได้ในที่สุด มองหาตำแหน่งที่มองเห็นสีหน้าได้ดีที่สุด พร้อมกับใช้ประโยชน์จากแสงและเงาในแบ็คกราวด์ด้วย คุณสามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับภาพถ่ายโดยถ่ายภาพในจังหวะที่ผมและเสื้อผ้าของตัวแบบเริ่มพริ้วตามลม

เทคนิค

ขับเน้นเงาโดยลดระดับการเปิดรับแสงลง 1 ถึง 2 สต็อป

ถ่ายภาพในที่ที่แสงซึ่งลอดผ่านใบไม้มาเกิดเป็นเงาบนกำแพง

สถานที่ถ่ายที่แนะนำอาจเป็นที่ที่มีแสงส่องผ่านใบไม้ทำให้เกิดเงาชัดเจน การขับเน้นความเปรียบต่างระหว่างแสงและเงาจะทำได้ง่ายเมื่อเงาสีดำของใบไม้และแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยพื้นที่บนกำแพงครึ่งต่อครึ่ง

 
 

การขยับเข้าใกล้จะทำให้ความเปรียบต่างระหว่างแสงและเงาอ่อนลง

คุณสามารถถ่ายภาพโดยขยับเข้าใกล้ตัวแบบได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวจะลดพื้นที่แบ็คกราวด์ลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ความเปรียบต่างระหว่างแสงและเงาลดลง ดังนั้น หากคุณต้องการภาพแสดงความโดดเด่นของแสงและเงาที่ตัดกันในแบ็คกราวด์ได้ดี ขอแนะนำให้ถ่ายภาพตัวแบบในระยะเต็มตัว

 
 
Miho Kakuta

 

เกิดที่จังหวัดมิเอะ Kakuta มีส่วนกับกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในการจัดพิมพ์อัลบั้มภาพถ่ายและการจัดนิทรรศการภาพถ่ายของเธอเอง

http://www.mihokakuta.com/

 
Yuriko Omura

 

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1983 หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยในร้านขายกล้อง ปัจจุบัน Omura ทำงานเกี่ยวกับการถ่ายภาพศิลปินและอัลบั้มภาพถ่าย

http://shutter-girl.jp/

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา