ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (2): หลักพื้นฐานของการจัดแสง

2017-10-19
2
3.78 k
ในบทความนี้:

คงไม่เกินไปหากจะบอกว่า การจัดแสงคือปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดคุณภาพของภาพถ่าย ในส่วนต่อไปนี้ เราจะมาเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานสำหรับการจัดแสงกัน (เรื่องโดย: Suna, นางแบบ: Yu)

การถ่ายภาพคอสเพลย์

 

เปลี่ยนวิธีจัดแสงเพื่อสร้างภาพถ่ายตามจินตนาการ

หากจะพูดง่ายๆ การจัดแสง คือ การปรับแต่งแสงขณะถ่ายภาพ ซึ่งอาจหมายถึงการยิงแสงแฟลช การสาดแสงลงบนตัวแบบ หรือการสะท้อนแสงด้วยผ้าสีขาว แต่อันที่จริงแล้ว นิยามของการจัดแสงนั้นมีหลากหลาย หากเราพิจารณาถึงเทคนิคการจัดแสงประเภทต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ รวมถึงการต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบและอารมณ์ที่คุณต้องการจะสื่อ แม้ว่าการสรุปนิยามของการจัดแสงด้วยวลีเดียวอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่อย่างน้อยคุณควรทราบว่าตำแหน่งของแสง จำนวนของแหล่งกำเนิดแสง และประเภทของแสงที่ใช้ส่งผลกระทบต่อภาพถ่ายอย่างมาก

การถ่ายภาพคอสเพลย์

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 70mm/ Manual (f/7.1, 1/160 วินาที)/ ISO 200/ WB: Manual 5000K
ชุดระบบไฟ: Monolight, การจัดไฟสองดวง (โดยใช้ร่มทะลุและผ้ากระจายแสง)

 

เปลี่ยนโฉมภาพถ่ายด้วยตำแหน่งแสงและจำนวนแหล่งกำเนิดแสง!

ตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของการจัดแสง เพราะบริเวณที่แสงส่องกระทบสามารถเปลี่ยนอารมณ์ภาพที่ต้องการสื่อได้ นอกจากตำแหน่งแล้ว จำนวนของแหล่งกำเนิดแสงนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน การใช้แหล่งกำเนิดแสงสองแห่งย่อมให้ผลภาพที่ต่างกันเมื่อเทียบกับการใช้แหล่งกำเนิดแสงเดียว
ภาพด้านล่างแสดงตัวอย่างของการถ่ายภาพทั่วไปซึ่งใช้การจัดไฟสองดวง เราสามารถทราบว่าจำนวนแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้และตำแหน่งการวางจะส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้อย่างไรก็ด้วยการสั่งสมประสบการณ์เท่านั้น คุณสามารถดูรูปแบบการจัดแสงพื้นฐานในแบบต่างๆ ได้จากบทความถัดไปของซีรีย์นี้

การถ่ายภาพคอสเพลย์โดยใช้การจัดไฟสองดวง

ด้วยการสั่งสมประสบการณ์ผ่านการฝึกฝนซ้ำบ่อยๆ เราจะสามารถจัดแสงแบบผสมผสานเพื่อสร้างภาพถ่ายตามจินตนาการได้อย่างดีเยี่ยม

 

ตัวอย่างการจัดแสงสำหรับภาพคอสเพลย์

A: Monolight
B: ร่มทะลุ
C: ผ้ากระจายแสง
D: Monolight

นี่คือการจัดแสงพื้นฐานที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงสองแห่ง โดยมีร่มทะลุเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลัก และติดตั้ง Monolight อีกตัวหนึ่งเข้ากับผ้ากระจายแสงและวางเยื้องไปทางด้านหลังตัวแบบเล็กน้อยเพื่อสร้างเงา

 

อุปกรณ์จัดแสงที่ใช้สามารถเปลี่ยนหน้าตาของภาพได้เช่นกัน

นอกจากจำนวนและตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงแล้ว ประเภทของอุปกรณ์จัดแสงที่ใช้ยังส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้ ภาพตัวอย่างด้านล่างแสดงภาพถ่ายที่ใช้ตัวอย่างอุปกรณ์จัดแสงสี่แบบในการจัดไฟดวงเดียว ในภาพแต่ละภาพ เราจะเห็นลักษณะของอุปกรณ์จัดแสงแต่ละแบบได้อย่างชัดเจนตามลำดับ ภาพที่ถ่ายโดยใช้ร่มทะลุจะดูสวยงามมากที่สุด เพราะแสงจะกระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งตัวแบบ ขณะที่สตริปซอฟต์บ็อกซ์คืออุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพคอสเพลย์ซึ่งมักมีฉากแปลกตา

 

แฟลชโดยตรง
แสงแฟลชที่ส่องเข้ามาที่ตัวแบบโดยตรงกระจายแสงได้ไม่ดีนัก ภาพจึงสว่างเฉพาะบางจุดเท่านั้น หลักการนี้มักนำมาใช้เพื่อให้แสงกับตัวแบบจากทางด้านหลัง เพื่อขับเน้นเค้าโครงของตัวแบบ

การถ่ายภาพคอสเพลย์

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 48mm/ Manual (f/9, 1/160 วินาที)/ ISO 100/ WB: Manual 5000K

 

แฟลช Monoblock

Monolight

 

สตริปซอฟต์บ็อกซ์
สตริปซอฟต์บ็อกซ์มีรูปร่างยาวและนิยมใช้เพื่อส่องแสงในพื้นที่แคบๆ แต่มีประโยชน์มากหากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบเต็มตัวอย่างสวยงาม

ภาพถ่ายที่ใช้สตริปซอฟต์บ็อกซ์

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 40mm/ Manual (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 200/ WB: Manual 5000K

 

สตริปซอฟต์บ็อกซ์

สตริปซอฟต์บ็อกซ์

 

ร่มทะลุ
ร่มทะลุสามารถกระจายแสงได้ทั่วถึงกว่าสตริปซอฟต์บ็อกซ์ และสามารถส่องแสงจนถึงแบ็คกราวด์ได้ นอกจากนี้ ในกลุ่มอุปกรณ์สี่แบบนี้ร่มทะลุให้แสงที่นุ่มนวลมากที่สุด

ภาพถ่ายที่ใช้ร่มทะลุ

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 42 มม./ Manual (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 200/ WB: Manual 5000K

 

ร่มทะลุ

ร่มทะลุ

 

Beauty dish
เรามักใช้ Beauty dish เพื่อส่องแสงไปยังบริเวณที่จำกัด โดยเราสามารถลดพื้นที่ส่วนนี้ให้แคบลงได้อีกด้วยการติดตั้งกริดรังผึ้ง Beauty dish มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการถ่ายทอดบรรยากาศของสถานที่ซึ่งมีแสงน้อย เช่น ภายในถ้ำ

ภาพถ่ายที่ใช้ Beauty dish

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 45mm/ Manual (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual 5000K

 

Beauty dish

Beauty dish

 

ในบทความถัดไป เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับการจัดไฟดวงเดียวและสองดวงให้มากยิ่งขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไป! 

คุณยังสามารถย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์จัดแสงได้:

เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (1): อุปกรณ์จัดแสง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Suna (@sandmu963)

Suna ทำงานเป็นช่างภาพในวันธรรมดาเสียส่วนใหญ่และนำเทคนิคถ่ายภาพใหม่ๆ มาใช้อยู่เสมอ อีกทั้งยังเผยแพร่คำอธิบายที่เรียบเรียงอย่างดีและเข้าใจง่ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter อีกด้วย

Yu (@yu_know_what)

ชาวคอสเพลย์ผู้กำลังร่วมโปรเจกต์แต่งคอสเพลย์หลายโปรเจกต์ อาทิ Fate, Danganronpa และ Hatsune Miku ในขณะนี้ เธอโด่งดังมากจากผลงานภาพถ่ายที่เน้นฉากในภาพยนตร์ต่างๆ

Kanata (@HakusuiKanata)

Kanata เป็นทั้งชาวคอสเพลย์และศิลปินสมัยใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านศิลปะทรงรูป (Plastic arts) เขามีชื่อเสียงจากพื้นผิวอาวุธและอุปกรณ์ป้องกันที่มีรายละเอียดมาก นอกจากนี้ Kanata ยังเป็นชาวคอสเพลย์อย่างเป็นทางการให้กับอะนิเมะเรื่อง “Kabaneri of the Iron Fortress”

Genkosha Co.

สำนักพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือและนิตยสารเกี่ยวกับวิดีโอ การถ่ายภาพ และภาพประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา