ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (3): ตัวอย่างการจัดแสงแบบต่างๆ

2017-10-26
4
7.56 k
ในบทความนี้:

ในตอนที่ 1 และ 2 ของบทความชุดนี้ เราได้ทราบถึงอุปกรณ์จัดแสงประเภทต่างๆและ เอฟเฟ็กต์ที่ได้กันไปแล้ว ในตอนที่ 3 นี้ เราจะมาดูวิธีการจัดแสง และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่ได้จากการจัดแสงแบบใช้ไฟหนึ่งดวง สองดวง และสามดวงหรือมากกว่านั้น (เรื่องโดย: Suna นางแบบ: Yu, Kanata)

การถ่ายภาพคอสเพลย์

 

1. การจัดแสงแบบใช้ไฟหนึ่งดวง

ตามชื่อเรียก การจัดแสงแบบใช้ไฟหนึ่งดวงจะใช้แหล่งกำเนิดแสงเดียว คุณอาจคิดว่าการจัดแสงแบบนี้ง่ายมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว การจัดแสงประเภทนี้ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร หากคุณยังเป็นมือใหม่ด้านการจัดแสง การเริ่มต้นด้วยการจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงอาจง่ายกว่า

 

ความสวยงามของการจัดแสงแบบใช้ไฟหนึ่งดวงขึ้นอยู่กับวิธีใช้เพื่อสร้างเงาในภาพ
วิธีจัดแสงที่เราสามารถใช้ในการถ่ายภาพจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการสร้างเงาในภาพหรือไม่ ในส่วนนี้ ผมจะเน้นไปที่วิธีใช้การจัดแสงเพื่อสร้างเงา

การถ่ายภาพคอสเพลย์ - ตัวอย่างการใช้ Monolight 1 ตัว

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ f/5.6/ 1/160 วินาที/ ISO 160/ RAW
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight 1 ตัว (ผ่านร่มทะลุ)

 

ตำแหน่งที่วางแหล่งกำเนิดแสงสามารถเปลี่ยนรูปลักษณ์และความรู้สึกของภาพถ่าย
ภาพทั้งสี่ภาพด้านล่างถ่ายโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงเดียว โดยวางไว้ที่ตำแหน่ง A - D ในแผนภาพตามลำดับ ลองศึกษาและสังเกตว่าแสงตกกระทบที่จุดใดและภาพออกเป็นอย่างไร

ภาพตัวอย่างการจัดแสงแบบใช้ไฟ 1 ดวง

 

A

ไฟ 1 ดวง - A

ภาพนี้ถ่ายโดยใช้แฟลชเสริมติดเข้ากับตัวกล้อง แสงจึงตกกระทบบนตัวแบบโดยตรงจากทางด้านหน้าซึ่งทำให้ตัวแบบดูแบน และส่งผลให้ภาพดูน่าเบื่อ

B

ไฟ 1 ดวง - B

ตัวแบบสว่างเพราะแสงส่องจากมุมทางด้านล่าง ส่งผลให้เกิดเงาที่ไม่เป็นธรรมชาติบริเวณใบหน้าของตัวแบบและทำให้ใบหน้าดูมืด จุดนี้จึงเป็นมุมการให้แสงที่อาจจะไม่ดึงดูดความสนใจของนางแบบหรือผู้ชม

 

C

ไฟ 1 ดวง - C

ในภาพนี้ กึ่งกลางของแหล่งกำเนิดแสงส่องไปที่บริเวณอกของนางแบบ แสงจึงตกกระทบทั่วทั้งร่างกายของนางแบบ ในการจัดแสงทั้ง 4 แบบนี้ การจัดแสงประเภทนี้น่าจะมีปัญหาน้อยที่สุด

D

ไฟ 1 ดวง - D

ในภาพนี้ แสงตกกระทบที่หมวกของนางแบบจนทำให้เกิดเงาทั่วทั้งใบหน้า นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าทำไมคุณจึงต้องคำนึงถึงรูปทรงของเครื่องแต่งกายเมื่อออกแบบการจัดแสง

 

วิธีสร้างเอฟเฟ็กต์เงาที่เหมาะสม

การใช้แผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์

วิธีง่ายๆ วิธีหนึ่งในการสร้างเอฟเฟ็กต์เงาที่เหมาะสมคือ การส่องแสงจากทางด้านข้าง วิธีนี้จะได้เอฟเฟ็กต์เงาที่สวยงาม แต่มีข้อแม้ว่าคุณต้องวางแผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์ไว้ด้านตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง เพื่อขับเน้นเอฟเฟ็กต์เงาให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์มีสีขาวหรือสีดำให้เลือก ในภาพนี้ผมเลือกใช้แผ่นโฟมที่ด้านหนึ่งเป็นสีดำและอีกด้านหนึ่งเป็นสีขาว และหันด้านสีดำเข้าหาแหล่งกำเนิดแสงตามวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ

 

ตัวอย่างการจัดแสง

ไฟ 1 ดวงพร้อมด้วยแผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์ (ภาพตัวอย่าง)

A: Monolight
B: ร่มทะลุ
C: แผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์ (ด้านที่มีพื้นผิวสีดำหันเข้าหานางแบบ)

แสงส่องไปที่นางแบบจากทางด้านซ้าย ผมใช้ร่มทะลุเพื่อกระจายแสงและทำให้แสงดูนุ่มนวล เงาเด่นชัดมากขึ้นเมื่อวางแผ่นโฟมรีเฟลกเตอร์ด้านที่มีพื้นผิวสีดำไว้ตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง

 

2. การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวง

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงคือ แนวคิดในการวางแหล่งกำเนิดแสงสองดวงในทิศทางต่างกันเพื่อกำจัดเงา ซึ่งเป็นการจัดแสงขั้นพื้นฐานและมีประโยชน์มาก ซึ่งตากล้องมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นถ่ายภาพควรรู้ 

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงเป็นวิธีที่ทำให้แสงส่องสว่างทั่วทั้งตัวแบบอย่างสวยงาม และแทบไม่เกิดเงาบนใบหน้าเลย ทั้งยังเป็นวิธีที่เหมาะสมหากเราต้องการถ่ายทอดสีผิวในภาพคอสเพลย์ให้ดูงดงาม วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการส่องไฟไปที่นางแบบโดยตรง และอีกวิธีหนึ่งคือการสะท้อนแสงจากพื้นผิวต่างๆ เช่น ผนัง การจัดแสงทั้งสองแบบนี้นอกจากจะใช้แหล่งกำเนิดแสงที่มีแล้ว ยังต้องใช้ตัวกระจายแสง แผ่นโฟม และอุปกรณ์อื่นๆ เข้าช่วยด้วย อันที่จริง การจัดแสงแบบนี้ทำได้ง่ายและช่วยให้ถ่ายภาพได้หลากหลายขึ้น

ถ่ายโดยใช้ไฟ 2 ดวง

ภาพ A
EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ f/5.6/ 1/125 วินาที/ ISO 400/ RAW
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight 2 ตัว

 

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงพื้นฐานคือการวางตัวแบบไว้กึ่งกลางแหล่งกำเนิดแสงสองดวง

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงที่เป็นการจัดแสงขั้นพื้นฐานที่สุดสำหรับการถ่ายภาพผู้คน โดยการวางแหล่งกำเนิดแสงหนึ่งดวงไว้แต่ละด้านของนางแบบ เพื่อให้นางแบบ "อยู่ตรงกลาง" แสงไฟ หากคุณวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ที่มุม 45 องศาด้านหน้านางแบบดังที่แสดงในแผนภาพด้านล่าง แสงจะส่องไปที่ด้านหน้าของนางแบบค่อนข้างง่าย

สำหรับการจัดแสงประเภทนี้ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าแสงจากแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองมีความจ้าในระดับเดียวกัน ซอฟต์บ็อกซ์และร่มทะลุจึงมักถูกนำมาใช้ แต่หากคุณไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว คุณสามารถสร้างตัวกระจายแสงของคุณเองได้โดยใช้กระดาษลอกลาย

 

การจัดแสงเมื่อมองจากด้านบน

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงพื้นฐาน

A: นางแบบ
B: แหล่งกำเนิดแสง

การจัดแสงเมื่อมองจากด้านบน วิธีนี้จะทำให้แสงส่องสว่างไปทั่วทุกส่วนของนางแบบ

 

ถ่ายโดยใช้การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงพื้นฐาน

ภาพด้านบนถ่ายโดยใช้การวางซอฟต์บ็อกซ์ไว้ที่แต่ละด้านของตัวแบบ คุณจะเห็นว่าร่างกายของตัวแบบอาบไล้ไปด้วยแสงที่นุ่มนวล

 

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงด้วยแผ่นโฟม V-flat
โดยทั่วไป V-flat คือแผ่นโฟมสองแผ่นที่ใช้เทปติดเข้าด้วยกันเป็นรูปตัว "V" การจัดแสงในลักษณะนี้จะยากขึ้นเล็กน้อย และเป็นเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพ A ข้างต้น โดยเป็นการจัดแสงที่ทำให้พื้นที่ถ่ายภาพทั้งหมดสว่างโดยใช้การสะท้อนแสงซ้ำๆ เริ่มต้นจากให้นางแบบอยู่ด้านหน้าผนังสีขาว จากนั้นวาง V-flat ไว้ด้านหน้านางแบบโดยหันด้านสีขาวเข้าหาเพื่อสร้างพื้นที่ที่ดูคล้ายห้องสีขาวขนาดเล็ก หากคุณหันแหล่งกำเนิดแสงไปยังผนัง คุณจะสามารถสะท้อนแสงไปรอบๆ พื้นที่ที่โอบล้อมด้วย V-flat ได้

 

ภาพตัวอย่างเลย์เอาต์

การจัดแสงแบบใช้ไฟสองดวงด้วย V-flat สองแผ่น

A: V-flat (ด้านสีขาวหันเข้าหานางแบบ)
B: อุปกรณ์แฟลชเสริม (แฟลชในตัวกล้องที่ตั้งบนขาตั้ง)

ภาพตัวอย่างเลย์เอาต์จากมุมมองของกล้อง อุปกรณ์แฟลชภายนอกสองตัวถูกนำมาวางไว้ใน V-flat ส่วน V-flat ได้รับการจัดวางให้มีช่องเปิดระหว่างแผ่นทั้งสองเพื่อให้มองเห็นนางแบบได้ และภาพจะถ่ายผ่านช่องว่างดังกล่าว

 

3. การจัดแสงแบบใช้ไฟสามดวงหรือมากกว่า

การจัดแสงโดยใช้ไฟหลายดวงอาจดูสลับซับซ้อน แต่วิธีที่ง่ายคือให้ลองนึกถึงการจัดแสงในสองประเภทหลักๆ ได้แก่ การจัดแสงที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางแบบดูสวยงามขึ้น และการจัดแสงเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

สำหรับภาพด้านล่าง ผมตั้งใจสร้างแบ็คกราวด์สีขาวที่สว่างมากๆ (โดยการทำให้สว่างจ้า) พร้อมกับเช็คให้แน่ใจว่าโครงร่างของนางแบบยังคงเห็นได้ชัดเจน นางแบบจะโดดเด่นมากขึ้นอีกในภาพที่มีแบ็คกราวด์สีขาวสว่างจ้า ดังนั้น นี่จึงเป็นเทคนิคหนึ่งที่คุณสามารถจดจำไว้ใช้งานได้ ในภาพดังกล่าว ไม่มีองค์ประกอบใดในแบ็คกราวด์ที่ดึงความสนใจไปจากภาพเลย ดังนั้น การตัดตัวแบบให้เข้ารูปในซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพจึงทำได้ง่ายหากคุณต้องการ

ถ่ายโดยใช้การจัดแสงแบบใช้ไฟหลายดวง

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ f/5.0/ 1/160 วินาที/ ISO 100/ RAW
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight 2 ดวง (ผ่านสตริปซอฟต์บ็อกซ์), อุปกรณ์แฟลชเสริม 2 ตัว

 

การจัดแสงโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงหลายแบบเพื่อทำให้แบ็คกราวด์สว่างจ้า

อันดับแรก ผมวางสตริปซอฟต์บ็อกซ์สองตัวที่ด้านหน้าของนางแบบเพื่อเป็นไฟหลักสำหรับเพิ่มความสว่างให้กับนางแบบ ส่วนบริเวณด้านหลังแต่ละด้านของนางแบบ ผมจัดให้แผ่นโฟม V-flat ด้านที่เป็นสีดำหันเข้าหานางแบบและด้านที่เป็นสีขาวหันเข้าหาผนัง และในส่วนพื้นที่ว่างระหว่าง V-flat กับผนัง ผมวางอุปกรณ์แฟลชเสริมเพื่อให้แสงแฟลชสะท้อนจาก V-flat และผนังเกิดเป็นแบ็คกราวด์สีขาวที่สว่างจ้า

 

การจัดแสงเมื่อมองจากด้านบน

แผนภาพการจัดแสงแบบใช้ไฟหลายดวง

A: ผนังสีขาว
B: อุปกรณ์แฟลชเสริม
C: นางแบบ
D: V-flat (จัดวางโดยให้ด้านที่เป็นสีดำหันเข้าหานางแบบและด้านที่เป็นสีขาวหันเข้าหาผนัง)
E: สตริปซอฟต์บ็อกซ์

การหัน V-flat ด้านที่เป็นสีดำหันเข้าหานางแบบจะช่วยดูดซับแสงที่สว่างจ้าเกินไปและทำให้โครงร่างของตัวแบบดูโดดเด่นยิ่งขึ้น ในขณะที่ผนังที่ห้อมล้อมด้วยผื้นผิวสีขาวของแผ่น V-flat จะช่วยให้แสงสะท้อนจากแผ่นโฟมและทำให้แบ็คกราวด์สว่างจ้า

 

การจัดแสงแบบใช้ไฟหลายดวง

หากคุณกำหนดค่าความเข้มแสงของไฟหลักทางด้านซ้ายและขวาของตัวแบบแตกต่างกัน จะยิ่งทำให้ตัวแบบ "โดดเด่น" มากยิ่งขึ้น คุณอาจต้องลองผิดลองถูกบ้างเพื่อให้ได้ความเข้มของแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับฉาก

 

สำหรับเคล็ดลับและบทช่วยสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดแสงและการถ่ายภาพโดยใช้แฟลช โปรดดูบทความต่อไปนี้
จุดโฟกัส: พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชเสริม
จุดโฟกัส: Speedlite (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Suna (@sandmu963)

Suna ทำงานเป็นช่างภาพในวันธรรมดาเสียส่วนใหญ่และนำเทคนิคถ่ายภาพใหม่ๆ มาใช้อยู่เสมอ อีกทั้งยังเผยแพร่คำอธิบายที่เรียบเรียงอย่างดีและเข้าใจง่ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter อีกด้วย

Yu (@yu_know_what)

ชาวคอสเพลย์ผู้กำลังร่วมโปรเจกต์แต่งคอสเพลย์หลายโปรเจกต์ อาทิ Fate, Danganronpa และ Hatsune Miku ในขณะนี้ เธอโด่งดังมากจากผลงานภาพถ่ายที่เน้นฉากในภาพยนตร์ต่างๆ

Kanata (@HakusuiKanata)

Kanata เป็นทั้งชาวคอสเพลย์และศิลปินสมัยใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านศิลปะทรงรูป (Plastic arts) เขามีชื่อเสียงจากพื้นผิวอาวุธและอุปกรณ์ป้องกันที่มีรายละเอียดมาก นอกจากนี้ Kanata ยังเป็นชาวคอสเพลย์อย่างเป็นทางการให้กับอะนิเมะเรื่อง “Kabaneri of the Iron Fortress”

Genkosha Co.

สำนักพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือและนิตยสารเกี่ยวกับวิดีโอ การถ่ายภาพ และภาพประกอบ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา