ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การสร้างภาพซ้อนในกล้อง

2021-10-21
0
1.01 k
ในบทความนี้:

EOS 6D, EF50mm f/1.4 USM, f/1.8, ISO 1600, 1/250s, 50 มม. 

คุณสมบัติหนึ่งที่ช่างภาพหลายคนอาจจะไม่รู้ และสามารถพบได้ในกล้องดิจิตอลแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ส่วนใหญ่ก็คือความสามารถในการสร้างภาพซ้อนในกล้องได้ สําหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก การถ่ายภาพซ้อนหมายถึงการซ้อนทับฉากที่คุณกําลังถ่ายลงบนภาพอื่นในเฟรมเดียวกัน แต่คุณอาจสงสัยว่า: "ทําไมฉันต้องทํามันในกล้อง ในเมื่อฉันสามารถทําได้ในขั้นตอนการปรับแต่งภาพในคอมพิวเตอร์"

ลองคิดดูว่าถ้าคุณทํามันในกล้อง คุณสามารถอยู่ในสถานที่นั้น และตรวจสอบว่าการซ้อนกันของแต่ละเฟรมเข้ากันได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น กล้อง Canon ของคุณสามารถซ้อนภาพได้สูงสุดถึงเก้าภาพภายในเฟรม ทำให้คุณสามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายให้เป็นงานถ่ายภาพที่ไม่เหมือนใคร ในบทความนี้คุณจะเห็นภาพหลายๆ ภาพจาก Rosamond Dela Cruz ผู้ซึ่งสร้างงานถ่ายภาพซ้อนทั้งหมดของเธอในกล้อง   

 

EOS 6D, EF50mm f/1.4 USM, f/2, ISO 1600, 1/250s, 50 มม.

การตั้งค่ากล้องของคุณสําหรับการถ่ายภาพซ้อน

โหมดถ่ายภาพซ้อนอาจอยู่ในแท็บที่ต่างกันภายใต้เมนูการถ่ายภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง หากคุณไม่แน่ใจคุณสามารถอ้างถึงคู่มือการใช้งานได้เสมอ 

เมื่อคุณพบตัวเลือกการถ่ายภาพซ้อน ให้เปิดใช้งานโดยการเปิด Func/Ctrl หรือ ContShtng 

  • Func/Ctrl - โหมดนี้ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพหลายเฟรมแล้วนำมาซ้อนกันเป็นภาพเดียว เมื่อคุณถ่ายภาพ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ทันที ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น  
  • ContShtng: โหมดนี้มักใช้โดยช่างภาพแอ็คชั่นหรือช่างภาพกีฬาที่ต้องการจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในตําแหน่งต่างๆ ภายในเฟรม

หลังจากเลือกโหมดการเปิดรับแสงที่ต้องการแล้ว ต่อไปคุณจะตัดสินใจเลือกจำนวนเฟรมที่คุณต้องการจะจับภาพ ทดลองโดยการเลือกสองเฟรมและภาพสองภาพถัดไปจะถูกซ้อนกันเป็นภาพเดียว 

 

EOS 6D, EF24-105 มม. f/4L IS USM, f/4.5, ISO 3200, 1/500s, 90 มม.

การควบคุมการเปิดรับแสงสําหรับการถ่ายภาพซ้อน

คุณสามารถควบคุมการเปิดรับแสงในโหมดการถ่ายภาพซ้อนได้สี่วิธี โดยที่แต่ละวิธีจะมีระดับการควบคุมที่แตกต่างกัน 

  • การเพิ่ม: การเปิดรับแสงของแต่ละเฟรมจะผนวกรวมกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณเปิดรับแสงของทุกเฟรมในระดับที่ถูกต้อง ผลลัพธ์จะออกมาเป็นภาพที่สว่างเกินไป ดังนั้นเพื่อให้ผลลัพทธ์ออกมาเป็นภาพที่มีระดับการเปิดรับแสงที่เหมาะสม ภาพที่คุณถ่ายจะต้องเปิดรับแสงน้อยลง ตัวอย่างเช่น คุณจะต้องมีภาพสองภาพที่มีค่าการเปิดรับแสง -1 เพื่อสร้างภาพซ้อนที่มีระดับการเปิดรับแสงที่เหมาะสม
  • ค่าเฉลี่ย: ในโหมดเฉลี่ย กล้องจะคิดแทนคุณ ทำให้คุณสามารถเปิดรับแสงภาพทั้งหมดของคุณได้อย่างถูกต้อง จากนั้นกล้องจะชดเชยที่บริเวณไฮไลท์และเงาโดยอัตโนมัติตามจํานวนภาพที่เลือก
  • สว่าง/มืด: ขึ้นอยู่กับโหมดที่คุณใช้ พื้นที่สว่างหรือมืดของภาพแรกจะถูกเก็บไว้และรูปภาพที่ตามมาจะถูกเพิ่มเข้าไปในบริเวณโทนกลางเท่านั้น นี่อาจเป็นโหมดการเปิดรับแสงที่สร้างสรรค์ที่สุด แต่ก็ยังต้องมีการคํานวณการเปิดรับแสงและการวางแผนการจัดองค์ประกอบภาพด้วย 

หากคุณกําลังลองใช้การถ่ายภาพซ้อนในกล้องเป็นครั้งแรก ให้ลองใช้โหมด Average เพื่อดูว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร หลังจากนั้น คุณก็สามารถทดลองกับโหมดอื่นๆ

 

EOS 6D, EF50mm f/1.4 USM, f/2, ISO 500, 1/200s, 50 มม.

เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพจาก Rosamond

หนึ่งในข้อผิดพลาดของมือใหม่ที่พบบ่อยที่สุดในการถ่ายภาพซ้อนก็คือการละเลยการวางแผนการถ่ายภาพของพวกเขา ซึ่งส่งผลให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอในเฟรมสำหรับตัวแบบหรือฉากถัดไป ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจดูยุ่งเหยิงโดยไม่มีจุดโฟกัส ดังนั้นจึงควรวางแผนล่วงหน้า จดบันทึกว่าจะใช้เฟรมที่คุณจะใช้เป็นภาพฐานของคุณ และวิธีที่คุณจะวางตําแหน่งและเรียบเรียงสําหรับภาพถ่ายต่อๆ ไป 

เมื่อคุณมีความมั่นใจมากขึ้น และต้องการลองใช้โหมดสว่าง/มืด คุณยังสามารถจัดวางเฟรมต่อเนื่องในบริเวณไฮไลต์หรือเงาของภาพถ่ายฐาน วิธีนี้ใช้งานได้ดีกับภาพเงา 

เคล็ดลับอีกประการหนึ่งคือการใช้สีและคอนทราสต์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างภาพซ้อน ตัวอย่างเช่น ภาพฐานอาจมีโทนสีที่น่าเบื่อหรือทึมๆ คุณสามารถเสริมภาพที่ตามมาให้มีสีสัน ซึ่งจะช่วยสร้างความเปรียบต่างที่ดี 

 

EOS 6D, EF50mm f/1.4 USM, f/2, ISO 250, 1/200s, 50 มม.

คุณรู้หรือไม่?

ภาพถ่ายทั้งหมดที่ถ่ายจะถูกบันทึกแยกเป็นแต่ละภาพในการ์ดหน่วยความจําของคุณ ซึ่งจะช่วยในการผสานภาพในคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนการปรับแต่งภาพในขณะที่ใช้ภาพซ้อนที่สร้างขึ้นในกล้องเป็นภาพอ้างอิง 

หากคุณกําลังถ่ายภาพในรูปแบบ RAW คุณสามารถเลือกภาพถ่าย RAW ภาพหนึ่งให้เป็นภาพฐานได้ตลอดเวลา และซ้อนทับภาพถ่ายที่ตามมา ซึ่งเป็นสิ่งที่สะดวกมาก หากคุณได้ถ่ายภาพไปนานแล้วและต้องการทดลองซ้อนรูปภาพอื่นๆ เข้ากับภาพนั้น

 

โหมดการถ่ายภาพซ้อนเปิดช่องทางใหม่สำหรับการสร้างสรรค์แก่ช่างภาพ ในการสร้างภาพที่น่าสนใจยิ่งขึ้นในกล้องโดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ ลองไปทำดู แล้วแบ่งปันภาพถ่ายของคุณกับเราใน Instagram โดยการแท็ก #canonasia 

 

สำหรับบทความที่คล้ายกัน: 

ภาพซ้อนดอกไม้ไฟ: คําแนะนําโดยละเอียดในการถ่ายภาพที่ดี

วิธีจัดองค์ประกอบภาพถ่ายการท่องเที่ยวของคุณ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา