โหมด HDR บนกล้อง EOS 5D Mark III เป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์เมื่ออยู่ภายใต้สภาพแสงที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก ในบทความต่อไปนี้ ผมจะอธิบายภาพรวมของโหมด HDR พร้อมกับเคล็ดลับบางประการสำหรับการใช้โหมดนี้ในการถ่ายภาพ (เรื่องโดย: Hidehiko Mizuno)
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (1/125 วินาที, f/11)/ ISO 400/ WB: แสงแดด/ โหมด HDR: ศิลปะ คมเข้ม
เพลิดเพลินกับการถ่ายภาพโดยใช้ HDR โดยถือกล้องด้วยมือ!
ใช้โหมด HDR เพื่อเอาชนะความสว่างที่มีความเปรียบต่างรุนแรง
HDR ย่อมาจากคำว่า “High Dynamic Range” เทคนิคนี้จะเป็นการผสานรวมภาพที่ถ่ายด้วยการเปิดรับแสงแตกต่างกันหลายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างภาพที่มีแสงสว่างหรือมืดเกินไปน้อยที่สุด กล้องจะถ่ายภาพ 3 ภาพที่มีค่าการเปิดรับแสงต่างกันภายในกล้อง (การเปิดรับแสงมาตรฐาน การเปิดรับแสงโอเวอร์ และการเปิดรับแสงอันเดอร์) และนำส่วนต่างๆ ที่มีการเกลี่ยแสงนั้นมารวมกันเป็นภาพสุดท้ายที่มีไดนามิกเรนจ์กว้าง ประโยชน์ของเทคนิคนี้คือ คุณจะสามารถแสดงรายละเอียดทั้งส่วนที่มีความสว่างมากและน้อยได้ในภาพเดียวกัน ซึ่งการถ่ายภาพที่มีปริมาณแสงระดับเดียวไม่สามารถทำได้
กล้อง EOS 5D Mark III เป็นที่นิยม เพราะเซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรมที่มีความละเอียดประมาณ 22.3 เมกะพิกเซล ช่วงความไวแสง ISO มาตรฐานตั้งแต่ ISO 100 ถึง ISO 25600 ซึ่งขยายได้สูงสุดถึง ISO 102400 และเซนเซอร์โฟกัสอัตโนมัติความหนาแน่นสูง 61 จุด
ถ่ายภาพ HDR แบบถือกล้องถ่ายได้ด้วย EOS 5D Mark III
ด้วยกล้อง EOS 5D Mark III คุณสามารถถ่ายภาพ HDR (ฟอร์แมต JPEG) ได้เพียงแค่ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด HDR ขณะที่คุณถ่ายภาพ แต่ก่อนนี้ วิธีเดิมๆ ที่ใช้สร้างภาพ HDR คือการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพหลังถ่าย ด้วยโหมด HDR ในกล้อง EOS 5D Mark III นี้คุณจะสามารถสนุกกับการทดลองถ่ายภาพแบบ HDR บนกล้องได้ทันที ไม่เพียงเท่านั้น การตั้งค่า [ปรับแนวอัตโนมัติ] ไปที่ [ใช้งาน] คุณสามารถถ่ายภาพ HDR แบบถือกล้องด้วยมือโดยไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการจัดแนวผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกล้องสั่นไหวหรือระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่องจะได้รับการแก้ไขอัตโนมัติภายในกล้อง เมื่อกล้องผสานภาพภายในกล้องอัตโนมัติ คุณก็สามารถดูผลภาพ HDR บนหน้าจอ LCD ด้านหลัง สำหรับผู้ที่สนใจเทคนิคการถ่ายภาพ HDR เป็นพิเศษ สิ่งที่ตอบโจทย์คุณสมบัติเหล่านี้ ก็คือ คุณสามารถเพิ่มคุณภาพให้กับงานภาพถ่ายของคุณในขณะที่ถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยการถือกล้องถ่ายด้วยมือ ซึ่งทำให้สามารถถ่ายภาพสไตล์ต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีแบบเดิมๆ ที่ต้องผสานภาพในเครื่องพีซีหลังจากถ่ายภาพแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมว่า ขอบภาพจะถูกตัดออกเมื่อเปิดใช้งานการปรับแนวอัตโนมัติ ดังนั้น มุมภาพของภาพที่ออกมาอาจดูแคบลงเล็กน้อยจากที่มองเห็นผ่านช่องมองภาพ และหากมีวัตถุที่เคลื่อนไหวเองหรือมีลมพัดระหว่างการถ่ายภาพ HDR อาจปรากฏภาพซ้อนของวัตถุในภาพได้
คุณสมบัติต่างๆ ของ “โหมด HDR” บนกล้อง EOS 5D Mark III
- กำจัดส่วนที่สว่างหรือมืดเกินไป ที่เกิดจากความสว่างที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก
- รองรับ การถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ
- บันทึกภาพอัตโนมัติในรูปแบบ JPEG แม้ขณะที่คุณถ่ายภาพด้วยการตั้งค่าเป็น RAW
- แนะนำให้ตั้งค่า "ปรับช่วงการรับแสง" เป็น [±3]
- ขอบภาพจะถูกตัดออก เมื่อเปิดใช้งาน [ปรับแนวอัตโนมัติ]
ลองถ่ายภาพสร้างสรรค์โดยใช้เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เช่น [ศิลปะ สีสดใส] และ [ศิลปะ คมเข้ม]
เมื่อคำนึงถึงลักษณะต่างๆ ข้างต้นนี้ คุณจะได้รับการเกลี่ยแสงที่นุ่มนวลเหมือนกับแสงในวันเมฆครึ้ม แม้จะถ่ายภาพในสภาพย้อนแสง ซึ่งท้องฟ้ามักจะสว่างเกินไป หรือเมื่อเงาของตึกอาคารต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมืด นอกจากเอฟเฟ็กต์ [สีธรรมชาติ] แล้ว ในโหมด HDR ของกล้อง EOS 5D Mark III ยังมีตัวเลือกอื่นๆ อีก 4 ตัวเลือก ได้แก่ [ศิลปะ มาตรฐาน] [ศิลปะ สีสดใส] และ [ศิลปะ คมเข้ม] แต่ละเอฟเฟ็กต์จะเปลี่ยนสีและแสงเงาที่ปรากฏ ขอแนะนำให้คุณลองใช้งานดู
คุณสามารถตั้งค่าไดนามิกเรนจ์ไปที่ [อัตโนมัติ] [±1] [±2] หรือ [±3] และคุณยังสามารถเลือกชนิดของเอฟเฟ็กต์ได้ และเลือกได้ว่าคุณต้องการจะหยุดการถ่ายภาพ HDR หลังจากถ่ายเพียงหนึ่งภาพ หรือใช้ต่อเนื่องกับทุกภาพถ่าย ทุกตัวเลือกที่มีสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ
เอฟเฟ็กต์ [สีธรรมชาติ] ง่ายต่อการใช้งาน
ปิด HDR
สีธรรมชาติ [±3]
[ทุกภาพ] EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 28 มม./ Manual exposure (1/80 วินาที, f/11)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ความเปรียบต่างในที่แสงจ้าได้รับการจัดการด้วยการใช้ HDR ซึ่งช่วยเกลี่ยแสงของท้องฟ้าที่สว่างจ้าและพื้นที่มืดจากโครงสร้างสถาปัตยกรรม ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดรายละเอียดโดยที่ปริมาณแสงบนกำแพงและกระเบื้องที่สะท้อนมานั้นลดลง ในเอฟเฟ็กต์ทั้ง 5 แบบนี้ ตัวเลือก [สีธรรมชาติ] ให้ภาพที่ใกล้เคียงกับที่มองเห็นด้วยตามากที่สุด
เอฟเฟ็กต์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว
ปิด HDR
ศิลปะ มาตรฐาน
ศิลปะ สีสดใส
ศิลปะ คมเข้ม
ศิลปะ ลายนูน
[ทุกภาพ] EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (1/125 วินาที, f/11)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ภาพศาลเจ้าคิตาโนะ เตงมังกู ในเกียวโต ภาพถ่ายที่ใช้เอฟเฟ็กต์ [ศิลปะ มาตรฐาน] ดูเหมือนจริงและมีสีสันสดใส [ศิลปะ สีสดใส] ให้โทนสีที่เรียบง่ายคล้ายกับภาพจากคอมพิวเตอร์กราฟิก [ศิลปะ คมเข้ม] มีความเปรียบต่างที่ค่อนข้างแรงและความสดของสีสูง ขณะที่ [ศิลปะ ลายนูน] สร้างความรู้สึกให้หวนนึกถึงอดีตด้วยสีภาพสไตล์วินเทจ
ผสมผสานการใช้งาน Digital Lens Optimizer กับ HDR
เมื่อใช้ HDR จัดการกับความแตกต่างของแสง ส่วนที่เป็นไฮไลต์อาจหายไป และคุณอาจจะได้ภาพถ่ายที่มีความเปรียบต่างน้อยและไร้มิติ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ คุณอาจทำการตกแต่งภาพหลังถ่ายเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับงานถ่ายภาพของคุณ เมื่อใช้ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ RAW ที่ชื่อว่า Digital Photo Professional (DPP) ของ Canon ซึ่งมาพร้อมกับกล้องดิจิตอล EOS ทุกรุ่น กระบวนการตกแต่งภาพ เช่น การเพิ่มความเปรียบต่างและการเพิ่มส่วนไฮไลต์ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ
ไม่เพียงเท่านั้น ซอฟต์แวร์ DPP เวอร์ชั่นล่าสุดสามารถสร้างภาพ HDR ได้ด้วย เครื่องมือ HDR ของโปรแกรมนี้ช่วยให้คุณปรับความเปรียบต่างและความสดของสีได้อย่างละเอียด นอกเหนือจากความแรงของเอฟเฟ็กต์ ขณะเดียวกัน คุณยังสามารถเลือกที่จะบันทึกภาพในรูปแบบข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจาก JPEG ได้ (เช่น TIFF) สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างผลงานภาพถ่ายคุณภาพสูง เราขอแนะนำให้คุณใช้งาน Digital Lens Optimizer (DLO) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่นิยมใช้กันใน DPP โดยให้ใช้คุณสมบัติ DLO เพื่อเขียนข้อมูลภาพถ่ายที่จะนำมาผสานกัน ตามด้วยการใช้เครื่องมือ HDR ของ DPP เพื่อให้ได้ภาพ HDR ที่มีความละเอียดสูง ด้วยโปรแกรม DPP ของ Canon คุณสามารถสร้างงานภาพถ่ายที่มีกำลังในการแยกรายละเอียดภาพสูงของคุณสมบัติ DLO เพื่อให้มีไดนามิกเรนจ์กว้างและจำนวนข้อมูลขนาดใหญ่อยู่ในภาพ HDR นั้น
เกิดปี 1968 ในเกียวโต ผลงานที่เขาเผยแพร่เน้นทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมถึงศาลเจ้าและวัดวาอารามในเกียวโต