ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นในการถ่ายภาพดาราศาสตร์ - คำแนะนำสำหรับมือใหม่

2017-01-17
2
4.36 k
ในบทความนี้:

Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF28 มม. f/1.8 USM, f/1.8, 28 มม., 30 วินาที, ISO1600 โดย Ian Norman

ความลึกลับของท้องฟ้ายามย่ำคืนทำให้หลายคนสงสัยว่ามีอะไรอยู่ในนั้น หรือแม้แต่ทำให้หลายคนอยากบันทึกภาพความงามเหล่านั้นเอาไว้ เราเคยเห็นภาพท้องฟ้าที่ประดับด้วยดวงดาวระยิบระยับอยู่เหนือยอดเขาและทางช้างเผือกที่งดงามตระการตากันมาแล้ว หากคุณสงสัยว่าการถ่ายภาพดาราศาสตร์คืออะไรเรามาหาคำตอบกันเลย

คุณเคยทราบไหมว่าภาพถ่ายวัตถุบนท้องฟ้าภาพแรกคือภาพของดวงจันทร์ ซึ่งถ่ายเมื่อปี 1839 โดย Louis Jacques Mande Daguerre (ผู้ประดิษฐ์กระบวนการดาแกโรไทป์) ภาพที่ได้เป็นเพียงจุดมัว ๆ บนพื้นหลังมืดเนื่องจากความผิดพลาดในการติดตามวัตถุของกล้องเทเลสโคปที่ใช้ถ่าย ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรามีเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายภาพวัตถุในอวกาศได้อย่างชัดเจนและเห็นรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในหมู่ช่างภาพและนักวิทยาศาสตร์ทุกระดับ

Canon EOS 50D, เลนส์ EF100-400 มม. f/4.5-5.6L IS USM, f/7.1, 400 มม., 1/100 วินาที, ISO100 โดย Dave Young

การถ่ายภาพดาราศาสตร์หมายถึงการถ่ายภาพสาขาหนึ่งสำหรับถ่ายภาพวัตถุบนท้องฟ้า (เช่น ดวงจันทร์ โลก และเนบิวลา) และพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างท้องฟ้า ซึ่งการถ่ายภาพแบบนี้ได้ปฏิวัติการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ในระดับมืออาชีพไปอย่างสิ้นเชิงเพราะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพดวงดาวใหม่ ๆ หลายล้านดวง รวมถึงเนบิวลาที่เมื่อก่อนมนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หลังจากนั้นเป็นต้นมา ความลึกลับของระบบสุริยะก็ค่อย ๆ ถูกเปิดเผย จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นช่างภาพทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นกันมาให้ความสนใจกับการถ่ายภาพสาขานี้กันมากขึ้น เพราะความเป็นไปได้ในการสร้างภาพถ่ายดาราศาสตร์นั้นไม่รู้จบเหมือนกับสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้านั่นเอง

Canon EOS 5D Mark III, เลนส์ EF24-70 มม., f/2.8L II USM, f/2.8, 24 มม., 20 วินาที, ISO4000 โดย Scott Cresswell 

การถ่ายภาพดาราศาสตร์ด้วยกล้อง DSLR แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก:

Canon EOS 6D, เลนส์ EF24 มม. f/1.4L II USM, f/1.4, 24 มม., 2.5 วินาที, ISO3200 โดย Paul Williams

การถ่ายภาพดาราศาสตร์ที่มีขอบเขตการมองเห็นกว้าง - การถ่ายภาพดาราศาสตร์แบบนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ช่างภาพ และสามารถถ่ายด้วยกล้อง DSLR และเลนส์มุมกว้าง โดยมักใช้ถ่ายท้องฟ้าในตอนกลางคืนที่เต็มไปด้วยดวงดาวหรือเส้นแสงของดวงดาว ในการถ่ายภาพดาราศาสตร์ประเภทนี้ คุณจะเพลิดเพลินกับเวลาในยามค่ำคืนได้อย่างเต็มที่เพราะต้องใช้เวลาถ่ายภาพนานมาก คุณจะต้องตั้งค่าเซ็นเซอร์ให้เปิดรับแสงที่มีอยู่เพียงน้อยนิดเข้ามาในรูรับแสง นั่นหมายความว่า คุณจะต้องถ่ายภาพด้วย Bulb Mode (ความไวชัทเตอร์ต่ำกว่าในโหมดการทำงานส่วนใหญ่ของกล้อง DSLR) หรือเปิดรูรับแสงทิ้งไว้เป็นสิบ ๆ นาทีในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง

การถ่ายภาพดาราศาสตร์แบบไทม์แลปส์ - การถ่ายภาพดาราศาสตร์แบบนี้จะคล้ายกับการถ่ยภาพดาราศาสตร์แบบมีขอบเขตการมองเห็นกว้าง ข้อแตกต่างอย่างเดียวก็คือ การนำภาพหลาย ๆ ภาพที่ใช้ค่าการเปิดรับแสงต่างกันมารวมกันเป็นวิดีโอเดียวหรือภาพถ่ายเพียงภาพเดียว หากคุณต้องการถ่ายภาพแบบไทม์แลปส์ คุณจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าอินเทอร์วัลมิเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับกล้องที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพได้หลายร้อยภาพอย่างแม่นยำตามช่วงเวลาและระยะเวลาในการเปิดรับแสงที่กำหนดไว้ เมื่อคุณใช้อุปกรณ์นี้ คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าระยะเวลาระหว่างการถ่ายภาพแต่ละภาพนั้นนานพอให้กล้องบันทึกภาพลงในการ์ดหน่วยความจำ ซึ่งตามปกติแล้ว 5 วินาทีก็น่าจะเพียงพอแล้ว

Canon EOS 5D Mark III, เลนส์ EF24-105 มม. f/4L IS USM, f/4, 24 มม., 30 วินาที, ISO2500 โดย Maxime Raynal

เตรียมตัวอดทน

เนื่องจากต้องใช้เทคนิคการเปิดรับแสงเป็นเวลานาน ดังนั้น การถ่ายภาพดาราศาสตร์จึงอาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับใครหลายคน ทว่ากลับเป็นงานอดิเรกที่ค่อนข้างง่ายสำหรับคนที่ต้องการจะเริ่มต้นถ่ายภาพแนวนี้ หากอยากชำนาญการถ่ายภาพประเภทนี้แล้วละก็ สิ่งที่คุณต้องมีก็คือความอดทน! นอกจากนี้ คุณยังต้องมีกล้อง DSLR เพราะสามารถถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่า รวมทั้งเลนส์มุมกว้าง และขาตั้งกล้องเพื่อให้กล้องไม้ขยับเวลาถ่าย การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาลก็สามารถช่วยได้มากเช่นกัน เพราะคุณจะทราบว่าดวงดาวจะอยู่ตรงไหนบนท้องฟ้า และไม่ต้องสุ่มถ่ายภาพให้เหนื่อยแรง รวมทั้งทราบว่าต้องเล็งกล้องไปยังจุดใดบ้างในช่วงเวลาต่าง ๆ ของปี แต่หากคุณจะไม่สนใจศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็มีแอปคอยช่วยเสมอ หากคุูณอาศัยอยู่ในเมือง ให้ออกไปถ่ายภาพในบริเวณที่มีมลภาวะทางแสงน้อย ซึ่งจะช่วยให้การถ่ายภาพของคุณง่ายขึ้น

Canon EOS 5D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM เลนส์ , f/2.8, 16 มม., 30 วินาที, ISO6400 โดย Jason Corey

อุปกรณ์นั้นสำคัญไฉน

หากคุณเกิดแรงบันดาลใจอยากจะถ่ายภาพดาราศาสตร์แล้วละก็ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำความเข้าใจอุปกรณ์ของคุณอย่างถ่องแท้ เพราะคุณต้องปรับกล้องด้วยมือ เหตุผลก็คือ หากใช้โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ กล้องจะไม่สามารถประเมินการตั้งค่าได้อย่างถูกต้องโดยใช้แสงที่มีในตอนกลางคืน กล้องส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถใช้ ISO สูง ๆ ได้ ทำให้การถ่ายภาพในตอนกลางคืนง่ายกว่าเดิมมาก กล้องส่วนใหญ่ในวันนี้สามารถใช้ในการถ่ายภาพแสงสูงในเวลากลางคืนง่ายกว่าที่เคย แต่จำไว้เสมอว่ายิ่งคุณใช้ภาพถ่าย ISO สูงเท่าไหร่ที่คุณจะมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น เปิดชัตเตอร์และรูรับแสงที่มีความสำคัญตลอดเวลา ชัตเตอร์ช่วยให้แสงมากขึ้นในการใส่เลนส์ รูรับแสงที่ช่วยให้คุณสามารถจับเส้นของดาวย้ายในท้องฟ้าเมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง

Canon EOS 6D, เลนส์ EF24-105 มม. f/4L IS USM, f/8, 24 มม., 3104 วินาที, ISO200 โดย Dave Young

ทฤษฎีกฎ 600

หากคุณไม่อยากให้ดวงดาวในภาพถ่ายเป็นเส้นสายบนท้องฟ้า คุณจะต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวของดวงดาวด้วยเพราะจะส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้ ช่างภาพส่วนใหญ่จะใช้ทฤษฎีกฎ 600 ซึ่งกล่าวกันว่าสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเส้นสายของดวงดาวได้ ดังนั้น คุณจะต้องเปิดรับแสง 600 วินาที หารด้วยความยาวโฟกัสที่แท้จริงของเลนส์ การตั้งค่าแบบนี้จะป้องกันไม่ให้ดวงดาว "เคลื่อนที่" มากเกินไปจากการหมุนรอบตัวเองของโลก เพราะหากคุณใช้ขาตั้งยึดกล้องอยู่กับที่ คุณจะเห็นการเคลื่อนไหวของดวงดาวในเฟรมแม้ว่าจะใช้เวลาถ่ายภาพเพียงเสี้ยววินาทีก็ตาม

 

รับอัพเด ทล่าสุด ประกอบด้วยข่าว เคล็ดลับ และลูกเล่นต่างๆ โดยการลงชื่อสมัครเป็นสมาชิก!

 

ประวัติของผู้เขียน

Mona Teo

Mona Teo คือนักเขียนที่ประจำอยู่ในสิงคโปร์ เธอเชื่อว่าไม่มีอะไรทรงพลังไปกว่าคำพูดอีกแล้ว (ถ้าไม่นับกาแฟนะ) นอกจากจะเป็นนักดำน้ำสกูบาและนักเดินทางแล้ว เธอยังพก Kindle ติดตัวไว้จองตั๋วเครื่องบินและมองหาแรงบันดาลใจจากโลกรอบตัว

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา