ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพในเมืองสไตล์ขาวดำ

2024-06-14
0
24

รู้หรือไม่ว่าคุณสามารถใช้กล้อง Canon ถ่ายภาพขาวดำได้ นี่เป็นสิ่งที่ Ryan Cheng ช่างภาพ EOS Xplorer ประจำ Canon Singapore ทำอยู่บ้าง และจะมาแบ่งปันเคล็ดลับรวมถึงเกร็ดความรู้ให้เราในบทความนี้ (ภาพโดย Ryan Cheng และเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้เล่าให้ทีมงาน SNAPSHOT ฟัง)

EOS R6 + RF24-105mm f/4-7.1 IS STM ที่ f/8, 1/500 วินาที, ISO 800/ รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำที่ผ่านการปรับแต่งเล็กน้อย

ในบทความนี้:

ความงดงามของภาพขาวดำ

ความงดงามของภาพขาวดำ

ภาพถ่ายขาวดำนั้นมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร เพราะไม่เพียงแต่ดูเป็นอมตะและอยู่เหนือกาลเวลาเท่านั้น แต่บ่อยครั้งยังเผยให้เห็นอะไรบางอย่างในฉากที่คุณอาจมองข้ามไปหากเป็นภาพสี นั่นเป็นเพราะเมื่อคุณทำให้สีสันต่างๆ หายไป ภาพนั้นจะดูเรียบง่ายขึ้น จึงดึงความสนใจของคุณไปที่โทนสี รูปทรง ลวดลาย รายละเอียด และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจไม่สะดุดตานักหากอยู่ในภาพสี

ตัวอย่างเช่น ลองเปรียบเทียบภาพเดียวกันใน 2 เวอร์ชันด้านล่าง


ภาพขาวดำ


ภาพสี

ทั้งสองภาพ: EOS R7 + RF-S18-45mm ที่ 18 มม., f/6.3, 1/1250 วินาที, ISO 2000

ในภาพขาวดำ ความสนใจของเราถูกดึงไปที่แนวเส้นและลวดลายบนด้านหน้าอาคาร รวมถึงลักษณะที่เส้นและลวดลายนั้นตัดกับเงาดำของนกที่บินอยู่ เส้นนำสายตาดูเด่นชัดมากกว่า ทำให้ภาพดูมีความลึกยิ่งขึ้น แม้แต่ตัวอาคารก็ดูสูงขึ้นด้วย! แต่องค์ประกอบเหล่านี้จะเห็นได้ไม่ชัดนักเมื่ออยู่ในภาพสี เพราะท้องฟ้าสีครามจะดึงสายตาของเราไปแทน

ทำไมจึงควรถ่ายภาพขาวดำ (แทนที่จะนำไปปรับแต่งในภายหลัง)

ทำไมจึงควรถ่ายภาพขาวดำ

แม้คุณสามารถถ่ายภาพสีแล้วแปลงเป็นขาวดำในขั้นตอนการปรับแต่งภาพ แต่การได้เห็นฉากในเวอร์ชันขาวดำผ่านช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์หรือจอ LCD ด้านหลังนั้นเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง คุณจะเห็นสิ่งที่ไม่เด่นชัดนักหากอยู่ในภาพสีได้ทันที ซึ่งทำให้คุณสามารถตอบสนองด้วยการจัดองค์ประกอบภาพหรือเปิดรับแสงให้ต่างออกไป จึงช่วยให้คุณถ่ายภาพได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น

EOS R6 + RF50mm f/1.8 STM ที่ f/3.5, 1/500 วินาที, ISO 6400/ รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ


ภาพสี

ฉากด้านบนมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นสีเหลือง ซึ่งคงจะเหมาะมากหากธีมคือ “สีเหลือง” เพราะจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดึงความสนใจของผู้ชมไปจากเรื่องราวในภาพนี้! การถ่ายภาพขาวดำจะทำให้สิ่งที่ดูรกตาหายไป  โฟกัสจึงอยู่ที่ตัวแบบหลัก ซึ่งก็คือแม่ค้าขายปลาสวมหมวกทรงสามเหลี่ยมและเสื้อกันฝนที่กำลังเข็นรถเข็น

วิธีตั้งค่ากล้อง

การตั้งค่ากล้อง: “มองเห็น” ภาพขาวดำผ่านกล้อง Canon

คุณมีวิธี “มองเห็น” ภาพขาวดำผ่านกล้องของคุณ 2 วิธีดังนี้

- ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาว/ดำ
- รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ

“ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาว/ดำ” จะเพิ่มเม็ดเกรนลงในภาพและสร้างเอฟเฟ็กต์ดิบๆ สไตล์กรันจ์ นับว่าเป็นโหมดเจ๋งๆ ที่น่าเอาไปลองใช้! แต่วิธีนี้จะบันทึกไฟล์ในรูปแบบ JPEG เท่านั้น

หากคุณต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งในการถ่ายภาพและการปรับแต่ง ให้ใช้ “รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ” ผมใช้โหมดนี้ถ่ายภาพสำหรับบทความนี้แล้วนำไปปรับแต่งเล็กน้อย


ความแตกต่างระหว่าง “ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาว/ดำ” กับ “รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ”

ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาวดำ
(ภาพที่ได้จากกล้อง)

- ไฟล์แบบ JPEG เท่านั้น
- ปรับความเปรียบต่างได้ 3 ระดับ

รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ
(ภาพที่ได้จากกล้อง)

- รองรับการบันทึกแบบ RAW
- ปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์อย่างละเอียดได้หลากหลาย

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: ใช้ฟิลเตอร์สร้างสรรค์จากตัวเลือกในเมนู
คุณสามารถเปิดใช้งานฟิลเตอร์สร้างสรรค์ได้ 2 วิธีคือ ผ่านวงแหวนเลือกโหมดและจากปุ่ม MENU ขอให้เลือกวิธีที่ใช้ปุ่ม MENU เสมอ (ตามรายละเอียดด้านล่าง) “ฟิลเตอร์สร้างสรรค์” ในวงแหวนเลือกโหมดเป็นโหมดการเปิดรับแสงแบบอัตโนมัติ คุณจึงไม่สามารถควบคุมค่าการเปิดรับแสงได้


วิธีตั้งค่า “ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาวดำ” และควบคุมค่าการเปิดรับแสง

ขั้นตอนที่ 1
กดปุ่ม MENU
ไปที่ “ถ่ายภาพด้วยฟิลเตอร์สร้างสรรค์” ในเมนูสีแดง

ขั้นตอนที่ 2
เลือก “ภาพเกรนแบบขาวดำ”

ขั้นตอนที่ 3
กดปุ่ม INFO เพื่อควบคุมระดับความเปรียบต่าง

สามารถควบคุมค่าการเปิดรับแสงได้ตามต้องการ


วิธีตั้งค่า “รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ

ขั้นตอนที่ 1
กดปุ่ม “Q” ในกล้องเพื่อแสดงเมนู Quick Control ซ้อนขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 2
แตะที่/เข้าไปที่ไอคอน “รูปแบบภาพ” เลือกไอคอนที่มีตัว “M” เพื่อเปิดใช้งานการตั้งค่า “ภาพขาวดำ”

ขั้นตอนที่ 3 (ไม่ต้องทำก็ได้)
กดปุ่ม “INFO” ในกล้องเพื่อให้ปรับค่าต่างๆ อย่างละเอียด

วิธีอื่นๆ: ปุ่ม MENU
นอกจากนี้ คุณสามารถเข้าถึงการตั้งค่ารูปแบบภาพผ่านทางปุ่ม MENU ซึ่งน่าจะอยู่ในเมนูสีแดง


การตั้งค่ารูปแบบภาพแบบละเอียด

คุณสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบภาพได้หลายวิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณต้องการยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไปนี้คือการตั้งค่าที่ผมมักจะใช้บ่อยๆ

- ความคมชัด (ความเข้ม): 7
ทำให้ภาพมีความละเอียดมากขึ้น
- ความเปรียบต่าง: +4
ผมชอบถ่ายภาพความเปรียบต่างสูง


นอกจากนี้ ยังมีการตั้งค่าอื่นๆ เช่น

- เอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์
เพิ่มความสว่างของบางสีเพื่อให้ดูเด่นมากขึ้น
- เอฟเฟ็กต์โทนสี
ช่วยเปลี่ยนโทนสีของทั้งภาพ เช่น ซีเปีย

ลองใช้เอฟเฟ็กต์ในระดับต่างๆ และผสมผสานกันเพื่อค้นหาสไตล์ที่คุณชื่นชอบ!

ข้อควรรู้: คุณสามารถใช้ทั้ง “ฟิลเตอร์สร้างสรรค์: ภาพเกรนแบบขาว/ดำ” และ “รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ” กับภาพในกล้องหลังจากถ่ายภาพแล้ว

เคล็ดลับในการเริ่มต้นถ่ายภาพขาวดำ

เคล็ดลับในการเริ่มต้นถ่ายภาพขาวดำ

1. ก่อนอื่น ให้คุณมองหาสิ่งต่อไปนี้
- แสงและเงา
- เส้นและลวดลาย

หากถ่ายภาพในเวลากลางคืน ให้มองหาแหล่งกำเนิดแสง เช่น เสาไฟบนถนนและป้ายนีออน จากนั้นให้รอจังหวะถ่ายภาพในบริเวณนั้น เพราะคุณต้องใช้แหล่งกำเนิดแสงเหล่านี้หากต้องการถ่ายภาพขาวดำตอนกลางคืนให้ดูน่าประทับใจ!

EOS R6 + RF24-105mm f/4-7.1 IS STM ที่ 94 มม., f/7.1, 1/1600 วินาที, ISO 800


ภาพสี

เมื่อถ่ายภาพนี้แบบขาวดำ รูปทรงและลวดลายในอาคารและเงาต่างๆ กลับเห็นได้ชัดเจนกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอาจจะไม่สังเกตหรือคิดว่าสมควรถ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเดินผ่านสถานที่เดิมๆ ทุกวัน!


2. อย่ากลัวที่จะเปิดรับแสงน้อยลงหรือมากขึ้น

คุณอาจต้องทำให้ส่วนที่มืดดูมืดกว่าเดิมหรือทำให้ส่วนที่สว่างดูสว่างขึ้นไปอีก เพื่อให้เห็นรูปทรงและพื้นผิวต่างๆ ได้ชัดขึ้น ในภาพนี้ ผมตั้งค่าการเปิดรับแสงให้ต่ำกว่าที่ควร 1 สต็อป เพื่อให้ตึกที่อยู่ในแบ็คกราวด์ได้รับแสงในระดับที่เหมาะสม วิธีนี้ทำให้รายละเอียดทางเดินที่ดูรกตาหายไป จึงมองเห็นรูปทรงและแนวเส้นของทางด่วนที่อยู่ด้านบนได้ง่ายขึ้น

คำถามที่พบบ่อย: ควรใช้ค่าการเปิดรับแสงเท่าใดในการถ่ายภาพสตรีทและภาพในเมือง

ตอบ: ควรเริ่มต้นโดยใช้รูรับแสงแคบๆ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
หากเป็นการถ่ายภาพสตรีทหรือภาพในเมืองตอนกลางวัน มักจะต้องใช้ระยะชัดที่กว้างกว่าปกติเพื่อให้องค์ประกอบสำคัญอยู่ในโฟกัส ผมจึงมักเริ่มต้นด้วยรูรับแสงแคบๆ ก่อน นั่นคือ f/8 ถึง f/16  แล้วค่อยปรับตามความเหมาะสม

ความเร็วชัตเตอร์จะขึ้นอยู่กับแต่ละฉากและจุดประสงค์ในการถ่ายภาพของคุณ ต้องถามตัวเองว่ามีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวอยู่หรือไม่ ถ้ามี คุณอยากให้องค์ประกอบนั้นดูหยุดนิ่งหรือสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

เรามักจะอยากตั้งค่าความไวแสง ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเม็ดเกรนในภาพ แม้ว่าเม็ดเกรนอาจเพิ่มเอกลักษณ์ให้กับภาพ แต่การเพิ่มเม็ดเกรนเข้าไปในภาพที่คมชัดนั้นทำได้ง่ายกว่าการลบเม็ดเกรนออกจากภาพที่มีจุดรบกวนเสมอ

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: หากคุณไม่คุ้นเคยกับโหมด M ควรใช้โหมดกึ่งอัตโนมัติและการชดเชยแสง
อย่าไปคิดว่าต้องใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองถึงจะเป็น “ช่างภาพที่เก่ง” เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการถ่ายภาพให้ถูกจังหวะ ซึ่งคุณอาจพลาดได้ถ้ามัวแต่วุ่นอยู่กับการตั้งค่า ดังนั้น เลือกใช้โหมด Av, Tv, Fv หรือแม้แต่โหมด P แล้วปล่อยให้กล้องจัดการเรื่องทางเทคนิคได้เลย และคุณยังคงสามารถเปิดรับแสงให้น้อยลงหรือมากขึ้นได้ตามต้องการด้วยการชดเชยแสง

 

3. สังเกตดูว่าแสงในสถานที่ที่คุณผ่านแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ผมมักจะลงพื้นที่หาสถานที่ถ่ายภาพงานแต่ง จึงติดนิสัยชอบสังเกตรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ ที่อาจทำให้ภาพของผมดูแตกต่างออกไป ซึ่งรวมถึงแสงและเงาในช่วงเวลาต่างๆ ของวัน

การฝึกสายตาให้สังเกตสิ่งเหล่านี้ใช้เวลาพอสมควร แต่คุณสามารถเริ่มต้นได้โดยสังเกตสภาพแสงขณะทำกิจวัตรประจำวัน เลือกสถานที่ที่คุณผ่านไปบ่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน หรืออาจเป็นเส้นทางที่คุณชอบไปวิ่งจ๊อกกิ้ง คอยดูว่าแสงและเงาเปลี่ยนไปอย่างไรในช่วงเวลาต่างๆ ของวันและตลอดทั้งปี ใช้ “รูปแบบภาพ: ภาพขาวดำ” เพื่อช่วยให้เห็นภาพว่าการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้จะดูเป็นอย่างไรในสไตล์ขาวดำ!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา