ช่างถ่ายภาพปลาทะเลชาวสิงคโปร์ที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในด้านการถ่ายภาพใต้น้ำคนนี้ได้ค้นพบการถ่ายภาพนกโดยบังเอิญขณะที่เพื่อนซึ่งเป็นนักดำน้ำชักชวนให้เขาไปเที่ยวเขตอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำซันไกบูลอร์ ทั้งยังให้เขายืมเลนส์เทเลโฟโต้เพื่อใช้ระหว่างการเดินทางด้วย ถึงแม้เขาจะพบว่าการถ่ายภาพนกเป็นอะไรที่ท้าทายมากกว่าการถ่ายภาพใต้น้ำหลายเท่า การเดินทางครั้งนั้นก็ทำให้เขาเริ่มที่จะติดอกติดใจ
ตัวแบบที่เป็นสัตว์ปีกซึ่งเขาชอบที่จะเก็บภาพมากที่สุดก็คือแร็พเตอร์ ซึ่งเขาคิดว่า “มีเสน่ห์มาก” และนกฮูก เนื่องจากมีความ “น่าดึงดูดใจเป็นพิเศษเพราะหาโอกาสที่จะพบเจอและเก็บภาพนกพวกนี้ได้ยากมาก” สำหรับการถ่ายภาพนกนั้น เขาใช้ Canon EF600mm f/4L IS II USM, Canon Extender EF 2xIII, Canon EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM
เขาแนะนำ EOS-1D X Mark II สำหรับช่างภาพที่ต้องการประสิทธิภาพชั้นเลิศจากอุปกรณ์ของตน โดยได้กล่าวเสริมว่า “ช่างภาพที่อยู่ในสถานการณ์ที่สมบุกสมบันจะชื่นชอบคุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ใน EOS-1D X Mark II เป็นพิเศษ เพราะความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นตัวตัดสินว่าคุณจะได้ภาพตามที่ต้องการหรือไม่”
คุณสมบัติที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ที่เขากล่าวถึงได้แก่ โฟกัสอัตโนมัติที่เร็วขึ้นและโฟกัสติดตามที่เชื่อถือได้ เนื่องจากโฟกัสจะติดตามตัวแบบอย่างใกล้ชิดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขณะถ่ายภาพในสภาพการณ์ที่ยากลำบาก นอกจากนี้ EOS-1D X Mark II ยังสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงได้เกือบ 14 เฟรมต่อวินาทีในระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่อง เขาสังเกตว่าแม้เมื่อติดตัวแปลงเลนส์เพื่อเพิ่มความยาวโฟกัส ที่ทำให้ค่ารูรับแสงสูงสุดอยู่ที่ f/8 EOS-1D X Mark II ก็ยังสามารถรองรับ AF ทั้ง 61 จุดได้
ถ้าถามถึงฟังก์ชั่นที่ดีที่สุดของ EOS-1D X Mark II ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคำตอบก็คือ “ความเร็วในการโฟกัส! ตัวแบบไม่กี่อย่างที่ EOS-1D X เคยมีปัญหาในการโฟกัส มาตอนนี้ EOS-1D X Mark II สามารถรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างง่ายดาย” เขากล่าวด้วยความทึ่ง
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการสำหรับการถ่ายภาพนกให้ออกมาสวยงาม William แนะนำให้จัดภาพให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยไม่เน้นที่ตัวแบบมากเกินไป “ปล่อยให้นกแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติและทำสิ่งที่พวกมันทำได้ดีที่สุดอยู่แล้ว จงเตรียมพร้อมที่จะจับภาพช่วงเวลาพิเศษขณะที่เกิดขึ้นเสมอ” เขากล่าวทิ้งท้าย
EOS-1D X Mark II
William Tan หลงใหลสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลมาตั้งแต่เด็ก ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เขาใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการเฝ้ามองสัตว์ทะเลที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ในเมืองบัลติมอร์ ปัจจุบันเขาเล่นไวโอลินในวง Singapore Symphony Orchestra และได้รับใบอนุญาตดำน้ำลึกเมื่อปี 1994 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อว่างเว้นจากช่วงฤดูกาลคอนเสิร์ต เขาจะวางไวโอลินอิตาลีโบราณที่ได้รับรางวัล ไว้ที่บ้านและตระเวนเดินทางไปทั่วภูมิภาคแปซิฟิกเพื่อเก็บภาพสัตว์น้ำทะเลให้กับสถาบันวิทยาศาสตร์ บริษัทผู้ผลิตกล้อง องค์กรการท่องเที่ยว นิตยสารดำน้ำและรีสอร์ตต่างๆ