คุณเคยดูรูปถ่ายและมีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับคุณภาพของแสงที่โดดเด่นออกมาหรือไม่ คุณอาจพบว่าแสงอาจจะแข็งเกินไปและมีเส้นเงาที่ชัดเจน หรือคุณอาจดูภาพบุคคลและตระหนักว่าคุณภาพของแสงให้ความรู้สึกที่นุ่มนวล และดูเหมือนว่าจะห่อหุ้มตัวแบบ ดังนั้นแสงนุ่มและแสงแข็งเป็นอย่างไร และคุณจะสร้างมันได้อย่างไร
ในบทความที่เข้าใจได้ง่ายนี้ เราจะมาดูว่าแสงแข็ง/นุ่มคืออะไร และเราสามารถแสงเหล่านี้ได้โดยการปรับเพียงสองปัจจัย คือ ขนาดของแหล่งกําเนิดแสงและระยะห่างของแหล่งกําเนิดแสงไปยังตัวแบบของคุณ
ทําความเข้าใจกับแสงที่แข็ง/นุ่ม
ที่ใดมีแสงก็ต้องมีเงา พื้นที่ซึ่งได้รับแสงสว่างเรียกว่าไฮไลต์ ส่วนบริเวณที่มืดก็คือเงา อย่างไรก็ตามในระหว่างนั้นเป็นพื้นที่ที่เราเรียกว่าเงาสลัว ขนาดของเงาสลัวคือสิ่งที่จะบอกเราว่าแสงนั้นแข็งหรือนุ่ม
โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งเงาสลัวบางลงเท่าไร แสงก็จะยิ่งแข็งขึ้นเท่านั้น และในทางกลับกัน ยิ่งเงาสลัวหนาขึ้นหรือแผ่ออกมากขึ้น แสงก็ยิ่งนุ่มขึ้นเท่านั้น
ขนาดของแหล่งกําเนิดแสง
ตอนนี้เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่าอะไรทำให้แสงแข็งหรืออ่อน คุณก็สามารถลองสร้างมันขึ้น
ปัจจัยแรกที่คุณสามารถควบคุมได้คือขนาดของแหล่งกําเนิดแสง กฎทั่วไปคือ:
แหล่งกําเนิดแสงขนาดใหญ่ 60 ซม. สร้างเงาจางๆ (ซ้าย) เทียบกับแหล่งกําเนิดแสงขนาดเล็ก 10 ซม. สร้างเงาแข็ง (ขวา) แสงนั้นตั้งอยู่ที่ตําแหน่งเดียวกันสําหรับทั้งสองภาพ
แหล่งกําเนิดแสงขนาดใหญ่จะห่อหุ้มแสงรอบตัวแบบ ซึ่งช่วยลบเงาซึ่งทำให้เกิดภาพที่นุ่มนวลขึ้น อย่างไรก็ตาม แหล่งกําเนิดแสงที่เล็กกว่าจะกระทบกับตัวแบบ ทําให้เกิดเงาที่ดูคมมากขึ้น
ด้วยข้อมูลนี้ คุณสามารถตรวจสอบภาพที่คุณถ่ายบนหน้าจอ LCD ด้านหลังของกล้องของคุณและพิจารณาดูว่าคุณต้องการเพิ่มขนาดของแหล่งกําเนิดแสงของคุณหรือไม่ หาก Speedlite ของคุณเป็นแบบอยู่นอกกล้อง คุณอาจลองใช้ซอฟต์บ็อกซ์ ครอบมันไว้ หากคุณกําลังถ่ายภาพโดยใช้ Speedlite บนกล้อง คุณสามารถสะท้อนแสงจากเพดานหรือผนังเพื่อจําลองแหล่งกําเนิดแสงที่ใหญ่ขึ้นได้เสมอ
ระยะห่างของแหล่งกําเนิดแสง
ระยะห่างของแหล่งกําเนิดแสงจากตัวแบบเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ในการสร้างแสงที่นุ่มหรือแข็ง เพียงแค่ปรับระยะห่าง คุณก็สามารถเปลี่ยนลักษณะของแสงได้ สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ด้วยกฎกำลังสองผกผันซึ่งเป็นสูตรที่สามารถใช้ในการคํานวณความเข้มของแสงได้ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎยกกำลังสองผกผันได้ที่นี่
เมื่อแสงเข้าใกล้ตัวแบบ (ซ้าย) ที่ระยะ 1 ม. เงาจะนุ่มนวลกว่าเมื่อเทียบกับเงาแข็งเมื่อแสงถูกเคลื่อนห่างออกไปไกลที่ระยะ 3 ม.
หากแฟลชของคุณยึดติดกับฐานแฟลชของกล้อง และคุณต้องการขยับเข้าใกล้หรือออกห่างจากตัวแบบมากขึ้น คุณต้องพิจารณาเลือกเลนส์ที่คุณใช้ การใช้ เลนส์ซูม จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนกรอบได้อย่างรวดเร็วเมื่อคุณเคลื่อนเข้าหาหรือออกห่างจากตัวแบบ พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะแสงได้ตามต้องการ
อีกประเด็นหนึ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการปรับระยะห่างของแสงกับตัวแบบก็คือความเข้มของแสงจะเปลี่ยนไปด้วย หากแสงของคุณอยู่ใกล้ขึ้น ความจำเป็นในการใช้พลังงานจะลดลง และหากคุณย้ายแสงให้ห่างจากตัวแบบ คุณจะต้องชดเชยระยะห่างนั้นด้วยการใช้พลังงานมากขึ้น การชดเชยนี้มักจะทําโดยการปรับกําลังแสงแฟลชแทนการปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง
การใช้ขนาดและระยะห่างร่วมกัน
ตอนนี้คุณคงเข้าใจแล้วว่า ขนาดและระยะห่างของแหล่งกําเนิดแสงมีผลต่อลักษณะของแสงอย่างไรคุณสามารถปรับปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ให้เป็นประโยชน์สำหรับคุณ ตัวอย่างเช่นหากอยู่ในพื้นที่จํากัด และคุณไม่สามารถเคลื่อนย้ายไฟของคุณเพื่อควบคุมแสง คุณสามารถลองปรับให้แหล่งกําเนิดแสงมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงเพื่อให้ได้แสงที่แข็งหรือนุ่ม ในทํานองเดียวกัน หากคุณไม่สามารถเปลี่ยนขนาดของแหล่งกําเนิดแสงได้ คุณจะต้องพิจารณาย้ายแหล่งกําเนิดแสงให้เข้าใกล้หรือห่างจากตัวแบบมากขึ้นจนกว่าคุณจะได้ลักษณะแสงที่ต้องการ
ตอนนี้คุณคงมีไอเดียแล้วว่าแสงที่แข็งและนุ่มคืออะไร และคุณสามารถสร้างมันขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะทําให้คุณเป็นช่างภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากคุณสามารถควบคุมการจัดแสงได้ ทั้งนี้การถ่ายภาพก็คือการวาดภาพด้วยแสง ซึ่งตอนนี้คุณสามารถควบคุมมันได้ตามความต้องการของคุณเพื่อสร้างภาพที่คุณจินตนาการไว้ได้
สำหรับบทความที่คล้ายกัน:
มากกว่าความเร็วชัตเตอร์: การใช้ระยะเวลาของแฟลชเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว
[เทคนิคแฟลช] วิธีสร้างสีสันอันน่าทึ่งด้วยการย้อนแสง