EOS 77D, EF500mm f/4L IS II USM, f/4, ISO 400, 1/800s, 500mm
โดย yash_earth
การจัดเฟรมในการถ่ายภาพเป็นสิ่งสําคัญเพราะว่าจะเป็นช่วยให้ช่างภาพนําผู้ชมไปสู่จุดที่ควรโฟกัส ด้วยการใช้เทคนิคต่าง เช่นเส้นนำและกฎสามส่วน คุณสามารถนําสายตาของผู้ชมไปยังตําแหน่งที่คุณวางตัวแบบหลัก ซึ่งสามารถช่วยบอกเล่าเรื่องราวที่คุณต้องการที่จะถ่ายทอด
เทคนิคที่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงคือการใช้พื้นที่เชิงลบ ซึ่งก็คือการจงใจเว้นพื้นที่ว่างเป็นบริเวณกว้างเพื่อทำให้ตัวแบบโดดเด่นออกมา การใช้พื้นที่เชิงลบอย่างชาญฉลาดสามารถช่วยในการเล่าเรื่อง เพิ่มความมีชีวิตชีวาภายในภาพ และเน้นอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมา
ในบทความนี้เราจะอธิบายว่าการใช้พื้นที่เชิงลบทําให้การถ่ายภาพสัตว์ป่าดีขึ้นได้อย่างไร แน่นอนว่าคุณสามารถนําเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับการถ่ายภาพประเภทอื่นๆ เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ที่หลากหลาย
EOS R, EF300mm f/2.8L IS USM, f/2.8, ISO 400, 1/2000s, 300mm
โดย @rajeeb_bharali
การเน้นขนาด
คุณจะแสดงขนาดของสัตว์ที่คุณถ่ายภาพได้อย่างไร ธรรมชาติคือแหล่งของความสุดขั้ว สัตว์ก็ย่อมมีทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ ด้วยการใช้พื้นที่เชิงลบให้เป็นประโยชน์ คุณสามารถนำเสนอสัตว์ในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และแสดงถึงขนาดของมันภายในสิ่งแวดล้อม แม้ว่าพื้นที่โดยรอบอาจไม่แสดงอะไรมากนัก การดึงความสนใจของผู้ชมไปที่สัตว์ตัวนั้น และจากจุดนั้นคุณสามารถแสดงให้เห็นว่าสัตว์นั้นมีขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหนในสิ่งแวดล้อม
โดย @rajeeb_bharali
โฟกัสไปที่สี
ธรรมชาติมีสีสันมากมาย และหากคุณไม่ระมัดระวังในการจัดเฟรม คุณอาจลงเอยด้วยเฉดสีและโทนสีในภาพของคุณ สิ่งนี้อาจทําให้ผู้ชมของคุณไขว้เขวจากสิ่งที่คุณพยายามนำเสนอ ในสถานการณ์เหล่านี้ คุณสามารถใช้พื้นที่ว่างรอบตัวแบบเพื่อดึงความสนใจของผู้ชมไปยังสีสันของตัวแบบ
EOS R, EF300mm f/2.8L IS USM, f/2.8, ISO 100, 1/2500s, 300mm
โดย @rajeeb_bharali
การเคลื่อนไหวในการเคลื่อนไหว
พื้นที่กว้างรอบตัวแบบที่เคลื่อนไหวสามารถแสดงการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้ ในขณะที่ภาพระยะใกล้ของนกในขณะกำลังบินอาจแสดงรายละเอียดของนกได้ แต่การใช้พื้นที่เชิงลบอย่างชาญฉลาดสามารถช่วยสร้างรูปลักษณ์ของการเคลื่อนไหวที่ไม่จํากัด ซึ่งเพิ่มความรู้สึกของป่าให้กับภาพ
EOS R, EF500mm f/4L IS USM, f/4, ISO 200, 1/800s, 500mm
โดย @rajeeb_bharali
ความน่าทึ่งจากคอนทราสต์
นอกเหนือจากการใช้สีแล้ว คอนทราสต์ก็สามารถช่วยดึงดูดสายตาของผู้ชมไปยังตัวแบบหลักได้เช่นกัน แม้ว่าสิ่งนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมก็ตาม แต่ถ้ามองดูให้ดีๆ คุณจะสามารถเห็นโอกาสในการใช้พื้นที่รอบตัวแบบเพื่อสร้างภาพที่น่าทึ่งได้ ในกรณีนีคอนทราสต์ไม่จําเป็นต้องเป็นความเปรียบต่างระหว่างโทนสีอ่อนและสีเข้มเสมอไป การตัดกันของสีสันกับฉากหลังธรรมชาติของป่าอาจเป็นสีแองอมม่วง สีแดง สีม่วง หรือสีน้ำเงินเข้มก็ได้ สีเหล่านี้สามารถพบได้ในสัตว์บางชนิดเช่นนกและแมลง
EOS 7D Mark II, EF500mm f/4L IS II USM, f/4, ISO 640, 1/2500s, 500mm
โดย @yash_earth
การเน้นไปที่สิ่งแวดล้อม
ในขณะที่การใช้พื้นที่เชิงลบมักจะช่วยให้ช่างภาพแยกสัตว์ป่าไว้ในโฟกัส แต่พื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยในการเล่าเรื่องได้เช่นกัน โดยการจัดเฟรมตัวแบบในสภาพแวดล้อมของมัันอย่างชาญฉลาด ภาพแบบนี้มีพลัง เพราะว่าเป็นการแสดงภูมิทัศน์ธรรมชาติของตัวแบบ พร้อมทั้งเพิ่มมิติของภาพโดยการให้ผู้ชมมีโอกาสดูว่าสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กับบ้านของตนอย่างไร
แม้ว่าการใช้พื้นที่ว่างในการแยกตัวแบบหลักอาจจะดูง่าย แต่การใช้เทคนิคเหล่านี้ต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้สามารถถ่ายภาพที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คําถามหนึ่งที่คุณควรถามตัวเองเสมอก็คือ: "การใช้พื้นที่เชิงลบจะช่วยในการเล่าเรื่องในภาพของฉันได้อย่างไร" เทคนิคนี้ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวัง พื้นที่รอบตัวแบบอาจจะดูว่างเปล่าภายในเฟรม แต่การจับภาพสาระสําคัญของตัวแบบหลักและการดึงความสนใจไปที่ตัวแบบมากยิ่งขึ้นนั้นช่วยได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพได้หลากหลายประเภท ดังนั้นจึงควรทดลองและดูว่ามันทําให้ภาพถ่ายของคุณน่าสนใจยิ่งขึ้นได้อย่างไร!
สำหรับบทความที่คล้ายกัน: