[ตอนที่ 1] สุดยอดระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ (AF Performance) สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
เป็นครั้งแรกในรอบห้าปี ที่แคนนอนได้เปิดตัวกล้องรุ่นที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C ตัวใหม่คือรุ่น EOS 7D Mark II ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ด้วยการแนะนำคุณสมบัติอย่างเทคโนโลยีระบบโฟกัสอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ที่รองรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่ค่าเฟรมเรท 60p คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวกระโดดของรูปแบบใหม่ในสมรรถนะของการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่คมชัดยิ่งขึ้น ในบทความนี้ เราจะมายืนยันประสิทธิภาพของกล้องโดยผ่านภาพถ่ายจริง (บรรณาธิการโดย: Yasushi Sugawara)
หน้า: 1 2
เทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติประสิทธิภาพสูงเหมาะสำหรับการจับภาพวัตถุเคลื่อนไหวด้วยความเร็วอย่างแม่นยำ
ในระยะหลังนี้ผู้รักการถ่ายภาพเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวการถ่ายประเภทใด ๆ ไม่ว่าจะป็นรถไฟ, เครื่องบิน, นกป่า, หรือภูมิทัศน์ ยอดการเติบโตของผู้ใช้กล้องที่เพิ่มมากขึ้น ได้นำไปสู่การแข่งขันที่เข้มข้นของบรรดาผู้ผลิตกล้อง ตลอดจนความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากขึ้นในประสิทธิภาพการทำงานและคุณสมบัติของกล้อง ในขณะเดียวกันที่ แคนนอนได้เปิดตัวกล้องรุ่นที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C ตัวใหม่คือรุ่น EOS 7D Mark II หลังจากที่ได้เปิดตัวรุ่น EOS 7D เมื่อห้าปีที่แล้ว ด้วยความยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับกล้องฟูลเฟรมประมาณ 1.6 เท่า กล้องที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C เหมาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพระยะไกล และเป็นตัวเลือกที่นิยมในกลุ่มช่างภาพชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพนกป่า, เครื่องบินและกีฬา
ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติที่มีความเร็วมากขึ้นในกล้องรุ่น EOS 7D Mark II ด้วยเทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ซึ่งใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติจับความต่างของเฟสแสงโดยเซ็นเซอร์จับภาพ ทั้งยังเป็นกล้อง EOS รุ่นแรกที่รองรับการบันทึกภาพที่ค่าเฟรมเรท 60p ด้วยคุณลักษณะนี้จะช่วยให้การถ่ายภาพเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบรื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวของนกป่าและเครื่องบิน (*โหมดการโฟกัสภาพอัตโนมัติจะสลับเป็นระบบโฟกัสจับภาพอัตโนมัติแบบเทียบความต่างของเฟสแสงเมื่อเลือกค่าเฟรมเรทที่ 60p/50p ในโหมด Full HD และเมื่อใส่ตัวขยายทางยาวโฟกัสเข้าไป)
1
2
3
4
เป็นสิ่งที่ท้าทายในการดึงภาพของวัตถุที่อยู่ไกลให้เข้ามาใกล้กล้องอยู่ตรงหน้า ไม่เพียงเท่านั้น การถ่ายภาพพื้นหลังที่เป็นพื้นผิวของน้ำให้มีความคมชัดสูงเป็นสิ่งที่ยากกว่า แม้กระนั้น ด้วยระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II ทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเป็ดและยังคงทำให้จุดสนใจของภาพยังอยู่ที่ตัวเป็ดเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ชวนตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความก้าวหน้าของประสิทธิภาพของเทคโนโลยีโฟกัสภาพอัตโนมัติที่นำมาใช้ในขณะการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
เลนส์ที่ใช้: EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM/ 1920×1080/29.97p (IPB)/ (f/6.3, 1/500)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
จากการทดลองใช้กล้องนี้ ผมบอกได้เลยว่าเป็นครั้งแรกจากประสบการณ์ในการถ่ายภาพที่ผมทึ่งในประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ เมื่อผมได้ถ่ายภาพเป็ดที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ความจริงแล้ว ผมไม่ค่อยชอบการใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ดังนั้นภายใต้สถานะการณ์ดังตัวอย่าง ที่ผ่านมาผมจะใช้ระบบโฟกัสภาพที่ปรับเองเท่านั้น เพราะมีแสงสว่างจ้าที่สะท้อนจากน้ำ ทำให้ผมไม่คิดว่ากล้องจะสามารถจับภาพของเป็ดให้เป็นจุดหลักของภาพได้ แต่กล้องรุ่น EOS 7D Mark II ได้พิสูจน์ให้ผมเห็นแล้วว่าผมคิดผิด ผมไม่เคยเจอกล้องที่มีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติที่สามารถให้การโฟกัสภาพที่ถูกต้องในสถานะการณ์นี้มาก่อน แต่ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II สามารถที่จะคงการโฟกัสภาพไปที่เป็ดได้ตลอดเวลา ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในร่มหรือกลางแดด
เมื่อก่อน การดึงภาพของวัตถุให้เข้ามาใกล้กล้องเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถมาก เพราะมันต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพชั้นสูงในการปรับโฟกัสภาพด้วยตนเอง แต่สำหรับกล้องรุ่น EOS 7D Mark II แล้ว คุณมั่นใจได้เลยว่าระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติจะทำงานได้อย่างถูกต้อง ตราบเท่าที่วัตถุถูกจับภาพอยู่ในเฟรม ด้วยกล้องนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะเพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพฝีมือขั้นเทพอย่างง่ายดาย
คุณสมบัติของตัวปรับโฟกัสภาพภายในกล้องเป็นอย่างไร?
เพื่อถ่ายภาพที่คล้ายกันนี้ ผมเล็งกล้องไปที่นกเหยี่ยวดำที่กำลังบินเข้ามาหากล้อง โฟกัสของภาพจะเปลี่ยนไปยังเสาไฟฟ้าชั่วขณะเมื่อนกเหยี่ยวสีดำบินอยู่หลังเสา แต่กล้องได้ตั้งโฟกัสภาพใหม่ไปที่นกเหยี่ยวสีดำเมื่อเห็นภาพมันอีกครั้ง มันเป็นสิ่งที่วิเศษนะ หากกล้องสามารถที่จะโฟกัสภาพของนกเหยี่ยวดำได้ตลอดเวลา แต่คงไม่ต้องบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ระบบติดตามโฟกัสภาพอัตโนมัติจะติดตามวัตถุที่มองไม่เห็น แม้กระนั้น ผมยังคงประทับใจที่กล้องสามารถปรับโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็ว
ภาพถ่ายของนกเหยี่ยวดำบนท้องฟ้า กล้องสามารถที่จะตรวจสอบสภาวะโดยรอบและเปลี่ยนโฟกัสได้อย่างรวดเร็วจากนกเหยี่ยวดำไปเสาไฟฟ้าและกลับไปยังนกเหยี่ยวดำอีกครั้ง
สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นเมื่อผมถ่ายวิดีโอใบเมเปิ้ล ดังที่แสดงในรูปภาพด้านล่าง ขณะที่ผมบังคับให้กล้องไปทางขวาเล็กน้อย จาก 1 ไป 2 โฟกัสภาพจะเปลี่ยนใบที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ตรงกลาง การเปลี่ยนจุดโฟกัสภาพที่ดีที่สุดตามกระบวนการแพนกล้องเกิดขึ้นก่อนที่ผมซึ่งเป็นผู้ถ่ายวิดีโอจะทราบด้วยซ้ำ ราวกับว่ากล้องกำลังบอกผมว่า ภาพจะออกมาสวยกว่าหากผมตั้งโฟกัสภาพไปที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ข้างหลัง
1
2
ผมทึ่งมากที่กล้องเปลี่ยนโฟกัสไปที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ข้างหลังในขณะที่ผมกำลังทำการแพนกล้องอยู่ เหมือนว่ากล้องรุ่น EOS 7D Mark II สามารถอ่านความคิดของผู้ถ่ายวิดีโอได้
เพราะว่ากล้องรุ่น EOS 7D Mark II จัดการกับสถานการณ์ที่ต่างกันได้อย่างเหมาะสมมาก ผมจึงสงสัยว่ามันอาจเป็นแค่เรื่องบังเอิญ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะจับภาพใบเมเปิ้ลเหมือนเดิมอีกครั้ง กล้องก็ทำการตอบสนองตามเดิมทุกประการ มันให้ความรู้สึกราวกับว่ากล้องเป็นผู้ช่วยของผมในการปรับโฟกัสภาพ
ตามที่กล่าวมา กล้องรุ่น EOS 7D Mark II ไม่สามารถระบุทุกรายละเอียดของการโฟกัสภาพอัตโนมัติ โดยเฉพาะเมื่อเราปรับความเร็วในการโฟกัสภาพ ความเร็วของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติจะเลือกได้จากหน้าจอเมนู ดังนั้นคุณสามารถที่จะเลือกความเร็วที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของคุณ
การตั้งค่าการใช้งานเต็มรูปแบบสำหรับระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติประสิทธิภาพสูง
ประสิทธิภาพอันน่าทึ่งของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II มาจากเทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ที่สามารถจับโฟกัสภาพอัตโนมัติของเฟสแสงได้อย่างรวดเร็ว และโฟกัสภาพได้กว้างครอบคลุมพื้นที่กว่า 80% ของหน้าจอมองภาพ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน อย่างไรก็ตาม มันสามารถใช้ได้เพียงกับโหมดภาพถ่ายที่ค่าเฟรมเรท 30p (เช่น โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30 เฟรมต่อวินาที)
สำหรับการถ่ายภาพที่ใช้เลนส์ประเภทหมุนรอบแกน (STM) เสียงที่เกิดจากการทำงานระหว่างการหาโฟกัสภาพอัตโนมัติสามารถลดลงได้ถึงขีดต่ำสุด ความเร็วในการโฟกัสภาพสามารถตั้งค่าได้ห้าระดับ ความเร็วในการโฟกัสภาพอัตโนมัติที่เร็วที่สุดจะถูกเลือกเป็นค่าตั้งต้น ที่จะเหมือนกับการทำงานของการหาโฟกัสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อคุณกำลังถ่ายภาพ การตั้งค่าความเร็วในการโฟกัสภาพต่ำที่สุดจะมีความเหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนโฟกัส อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าความเร็วของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติสูงสุดจะถูกเลือกเป็นค่าตั้งต้น หากคุณเลือกระบบโฟกัสอัตโนมัติอื่นที่นอกเหนือไปจาก “FlexiZone – Single” หรือใช้เลนส์ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบ Dual Pixel CMOS AF
EOS 7D Mark II
เซ็นเซอร์รับภาพ: ความละเอียดภาพขนาด APS-C (ประมาณ 22.4×15 มม.) เซ็นเซอร์ CMOS / ความละเอียดของภาพจากกล้อง: ประมาณ 20.2 เมกะพิกเซล
เลนส์เม้าท์: เมาท์ EF ของ Canon
รูปแบบ: MOV, MP4 (วิดีโอ), MPEG4 AVC/H.264 (เสียง); MOV: Linear PCM/ MP4: AAC
สื่อบันทึกเสียง: SD/ SDHC/ เมมโมรี่การ์ดแบบ SDXC (เทียบเท่ากับ UHS-I หรือ Ultra High Speed Class 1)
ระบบหาโฟกัสภาพอัตโนมัติ: ระบบหาโฟกัสภาพชนิดอ่านค่าผ่านเลนส์ (TTL secondary image-registration), หาโฟกัสภาพจากความต่างของเฟสแสงโดยใช้เซ็นเซอร์หาโฟกัสภาพอัตโนมัติ
การถ่ายแบบ Live View: เทคโนโลยี Dual Pixel CMOS AF/ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ Contrast detection
ค่าความไวแสง: หน้าจออัจฉริยะกำหนดค่าอัตโนมัติ (ตั้งค่าความไวแสงอัตโนมัติระหว่าง ISO 100 และ ISO 6400), ตั้งค่าความไสแสงกำหนดเองระหว่าง ISO 100 และ ISO 16000, อื่น ๆ
หน้าจอ: หน้าจอแอลซีดีแสดงผลแบบ TFT 3.0b (3:2) / ประมาณ 1.04 ล้านจุด
ช่องมองกล้อง: กระจกสะท้อนภาพ Quick return / ประมาณ 1.00x (-1 m-1 ด้วยเลนส์ขนาด 50 มม.ที่ระยะอนันต์)
สัญญาณเข้า/สัญญาณออก: SuperSpeed USB (USB3.0), HDMI mini, ไมโครโฟนตัวนอก, หูฟัง, รีโมทคอนโทรล
มิติภายนอก: (ก)148.6 x (ส)112.4 x (ล)78.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 820 ก. (เฉพาะตัวเครื่อง)/ ประมาณ 910 ก. (ตามมาตรฐานสมาคมผลิตภัณฑ์ภาพถ่ายและกล้อง)
ถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง เช่น นก แมลง และพืช โดยใช้เทคนิคพิเศษ เช่น เทคนิคการถ่ายแบบย่นระยะเวลา (Time Lapse), การถ่ายแบบความเร็วสูง (High Speeds) และการถ่ายภาพสามมิติ นำเสนอภาพทางโทรทัศน์, สร้างรูปภาพสำหรับงานนิทรรศการ, เขียนบทความลงนิตยสาร และทำงานในด้านต่าง ๆ เป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP) ได้รับรางวัลจากเทศกาล EARTH VISION Global Environmental Film Festival (ปี 2000) ได้รับรางวัลจากเทศกาล Japan Wildlife Film Festival (ปี 2001)
Video Salon เริ่มตีพิมพ์ในปี 1980 และเป็นนิตยสารเฉพาะทางเกี่ยวกับอุปกรณ์การบันทึกภาพวิดีโอเพียงหนึ่งเดียวในประเทศญี่ปุ่น เหมาะสำหรับผู้อ่านที่เป็นทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ Video Salon ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงในด้านข้อมูลเกี่ยวกับกล้องถ่ายวิดีโอและซอฟต์แวร์ตัดต่อ แต่ยังเป็นที่รู้จักในการทำรีวิวการบันทึกภาพวิดีโอด้วยกล้อง DSLR ใหม่ล่าสุดและเคล็ดลับต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและบทเรียนให้ความรู้
พิมพ์โดยบริษัท GENKOSHA จำกัด